ชื่อเรื่อง/Title ลักษณะ / รูปแบบของการประชาสัมพันธ์ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และการใช้ภาษาไทยของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยลักษณะ/รูปแบบของการประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการใช้ภาษาไทยของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปและสภาพการรับข่าวสารจากสื่อมวลชน ตลอดจนทัศนคติและความต้องการที่มีต่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 จังหวัด จำนวน 1041 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ชาวบ้านโดยตรงเป็นรายบุคคล
ผลการวิจัย ดังนี้
1. สภาพทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1041 คน เป็นผู้ชาย 644 คน ผู้หญิง 377 คน จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งกลุ่มอายุเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มเยาวชน อายุต่ำกว่า 20 ปี มีจำนวน 176 คน กลุ่มวัยทำงาน อายุระหว่าง 20-50 ปี จำนวน 717 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่ 50ปีขึ้นไป จำนวน 139 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ระดับประถมศึกษาตอนต้น และไม่ได้เรียนเลย ส่วนความรู้ด้านศาสนา ส่วนใหญ่จบระดับอิบติดาอีหรือขั้นต่ำ อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร
2. การใช้ภาษาไทยและสภาพการรับข่าวสารของประชาชน
2.1 การใช้ภาษาไทยในการติอต่อราชการ พบว่า สถานที่ราชการที่ประชาชนไปติดต่อบ่อยที่สุด ได้แก่ สถานีอนามัย ที่ทำการอำเภอ และโรงพยาบาล และประชาชนใช้ภาษาไทยในการติดต่อราชการกับที่ว่าการอำเภอมากที่สุด รองลงมาคือ โรงพยาบาล ทั้งนี้เยาวชนจะใช้ภาษาไทยในการติดต่อราชการ มากกว่าประชาชนกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มสูงอายุ
2.2 การใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน พบว่า ประชาชนจะใช้ภาษาไทยกลางติดต่อกับราชการมากที่สุด การพูดกับเพื่อนบ้านและญาตพี่น้องจะใช้ภาษามลายูถิ่นเกือบทั้งหมด
2.3 หน่วยงานหรือสื่อที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย พบว่าประชาชนมีความคิดเห็นว่า หน่วยงานหรือสื่อที่ช่วยส่งเสริมการใช้ภาษาไทยมากที่สุดได้แก่ โทรทัศน์ และสถาบันการศึกษา แต่สำหรับผู้สูงอายุมีความเห็นว่าโครงการเผยแพร่ภาษาไทยและสถาบันการศึกษามีส่วนช่วยในการเรียนรู้และใช้ภาษาไทยมากที่สุด
2.4 บทบาทของสื่อประเภทต่างๆ ในการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย พบว่า ประชาชนรับข่าวสารโดยการชมโทรทัศน์มากกว่าสื่อประเภทอื่นๆ เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุมีอัตราคนฟังวิทยุสูงสุด
3. ทัศนคติและความต้องการที่มีต่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์
3.1 ทัศนคติและความต้องการที่มีต่อโทรทัศน์ กลุ่มคนส่วนใหญ่ประเมินว่า รายการโทรทัศน์เกือบทุกรายการดี ยกเว้นเรื่องศาสนาอิสลามและต้องการให้ใช้ภาษาไทยในการออกรายการต่างๆ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการรายการศาสนาอิสลาม กีฬา การประกอบอาชีพ สุขภาพอนามัย ข่าว ในระดับมาก และไม่ต้องการรายการดนตรี ภาพยนตร์ทุกประเภท และรายการการ์ตูนเลย สำหรับสถานีโทรทัศน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่ชอบมากที่สุดคือ ช่อง 7 เวลาที่ประชาชนชมรายการโทรทัศน์ในช่วงวันจันทร์ถึงศุกร์ เป็นช่วงเวลา 10.88-22.00 น.
3.2 ทัศนคติและความต้องการที่มีต่อวิทยุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความต้องการฟังรายการวิทยุประเภทต่างๆอยู่ในระดับมาก ได้แก่ เพลงไทย เพลงสากล ละครวิทยุ ข่าว หลังตะลุง ลิเก รายการข่าวภาษามลายูถิ่น มีรายการที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ต้องการเลย ได้แก่ รายการศาสนาอิสลาม ลิเกฮูลู การสนทนาข่าวสลับเพลง สำหรับภาษาที่ต้องการให้ออกรายการวิทยุ พบว่า อยากให้ออกเป็นภาษามลายู แต่เฉพาะกลุ่มเยาวชนต้องการให้ออกรายการเป็นภาษาไทย
3.3 ทัศนคตดแะลความต้องการที่มีต่อหนังสือ/หนังสือพิมพ์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ไทย และอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน และหนังสือเกี่ยวกับศาสนาอิสลามอยู่ในระดับมาก และรายการที่ต้องการอ่านจากหนังสือพิมพ์อยู่ในระดับมาก 5 รายการคือ รายการศาสนาอิสลาม ข่าวการเมืองในประเทศ ข่าวการเมืองต่างประเทศ ข่าวการศึกษา และข่าวกีฬา สภาพที่เป็นอยู่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ที่บ้าน รองลงมาคืออ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน

The purposes of this research were threefold; (1) to investigate the job performance of the district superintendents; (2) to compare the levels of job performance of the district superintendents with a varying work experience, size of district education offices, and education regions; and (3) to gather the problem solutions in job performance of district superintendents on behalf of the Ministry and as the central agent of education, religion and culture in southern provinces of Thailand.
Under the survey the target population consisted of 141 district superintendents in southern provinces of Thailand. The instrument for the data collection was a questionnaire comprising three parts: part one was a checklist on the respondents? background information; part two consisted of a 5-point , 57-item Linker scale questionnaire on eight aspects of the job performance, namely management information system (MIS) , making of educational schema, budgeting , education quality controlling, job evaluating and special affaire operation; and support, coordinating and special affaire operation; and part three was open-ended questionnaire on problems of and superintendents? job performanance . In the data analysis, the statistical procedures ware employed using percentages, arithmetic mean, and standard deviation.
The results indicated that ;
1. The overall job performance of district superintends in southern provinces of Thailand was at a moderate level.
2. Job performance of the district superintendents with ten years and over of work experience was higher than that of those with less than years of work experience.
3. Job performance of the distrience superintendents working in the district education office of a big size was higher than of those working in the district education office of a small Size.
4. Job performance of the district superintendents working in Education Region 2 was higher than that of working in Education Region 3 and 4, whereas an equal level of job performance was Found among those working in Education Region 3 and 4
Major problem concerning job performance of district in descending order wear as follows: there was a lack education personal and staff, of materials and equipment, and job roles and authorities were not clearly prescribed.
     ผู้ทำ/Author
Nameอนันต์ ทิพยรัตน์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameชิดชนก เชิงเชาว์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameจรูญ ตันสูงเนิน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameรอฮีม นิยมเดชา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameเพ็ญพรรณ ทิพย์คง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
คำนำ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วรรณคดีที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 14-45)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 46-97)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 80-111)
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
--การสื่อสารมวลชน
     Contributor:
Name: สภาความมั่นคงแห่งชาติ
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2536
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3421
     Counter Mobile: 35