ชื่อเรื่อง/Title Relation of Water Comsumption Characteristics and Larval Distribution of Dengue Vectors to Transmission of Dengue Haemorrhagic Fever in Villages in Pattani Province / ความสัมพันธ์ของลักษณะการใช้น้ำของประชาชนกับความชุกของลูกน้ำยุงลายที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี
     บทคัดย่อ/Abstract
The objectives of this study are to investigate the water comsumption churacteristics and larval distribution of dengue vectors between the DHF transmission and non-DHF transmission villages, between Buddhist and Muslim villages, and the relation of water consumption characteristics and the larval distribution of dengue vector on the transmission of haemorrhagic fever (DHF), in Pattani province. A stratified cross-sectional survey was used for this study.
The data were collected during October and November 1998 in Pattani Province. The target villages were straifined by seaside and mountainside areas, Buddist and Muslim villages, transmission and non-transmission areas. Eight villages and 160 households were surveyed. Odds ratios and logistic regression analysis were used for statistical analysis.
It was found that the water consumption characteristics with respect to drinking water source, washing water source, container type, containers with/without, and containers with larvae, inthe DHF trasmission and non-DHF transmission villages were statistically singnificant differences. In DHF trasmission villages, the larvae indices of dengue vectors were found to be higher than in the non-DHF transmission villages. When compared the water consumption characteristics between Buddhist and Muslim villages, drinking water source, renewal of drinking water, renewal of wasshing water, contrainer type, contrainer material, location, and size of container turned to be statistically significant differences. While the lavae indices of the dengue vector were not different in both Buddhist and Muslim villages, except Stegomyia Index for Buddhist villages which was higher than that for Muslim villages.
In addition, the water consumption characteristics such as container type and location, material and having a lid, transmission area, and district were all associated with the distribution of dengue of vector larvae in the cintainers.

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาลักษณะการใช้น้ำของประชาชนและความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านที่มีการแพร่ระบาดกับหมู่บ้านที่ไม่มีการแพร่ระบาดชองโรคไข้เลือดออก 2)ศึกษาลักษณะการใช้น้ำของประชาชนและความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านไทยพุทธกับไทยมุสลิม 3)ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะการใช้น้ำของประชาชนกับความชุกของลูกน้ำยุงลาย ที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในจังหวัดปัตตานี โดยใช้การศึกษาแบบการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง (Stratified cross-sectional survey) ทำการสำรวจเก็บข้อมูลระหว่าง เดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน 2541 ในหมู่บ้านซึ่งแบ่งตามลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดปัตตานี เป็น 2 ลักษณะ คือ หมู่บ้านที่อยู่ใกล้ชายทะเล และหมู่บ้านที่อยู่ติดกับภูเขา โดยการคัดเลือกพื้นที่ตัวแทนที่มีและไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามลักษณะหมู่บ้านไทยพุทธและไทยมุสลิม จำนวนทั้งสิน 8 หมู่บ้าน 160 หลังคาเรือน โดยใช้สถิติ Obbs ratio และ Logistic regression ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการใช้น้ำของประชาชน ได้แก่ แหล่งน้ำดื่ม แหล่งน้ำใช้ ประเภทชองภาชนะ ภาชนะที่มีและไม่มีฝาปิด และการพบลูกน้ำในภาชนะ ในหมู่บ้านที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและในหมู่บ้านที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนใหญ่หมู่บ้านที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกหมีค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายสูงกว่าหมู่บ้านที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหมู่บ้านไทยพุทธกับไทยมุสลิม มีลักษณะการใช้น้ำของประชาชนได้แก่ แหล่งน้ำดื่ม การเปลี่ยนน้ำในภาชนะน้ำดื่มและน้ำใช้ ประเภทของภาชนะ วัสดุที่ทำภาชนะบริเวณที่ตั้ง และขนาดของภาชนะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าดัชนีมีความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่แตกต่างกัน ยกเว้นค่าดัชนีจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อประขากรในพื้นที่ (Stegomyia Index) ในหมู่บ้านไทยพุทธมีค่าสูงกว่าหมู่บ้านไทยมุสลิม นอกจากนี้แล้ว ลักษณะการใช้น้าของประชาชน ได้แก่ ประเภทของภาชนะ บริเวณที่ตั้งของภาชนะ วัสดุที่ทำภาชนะ การมีฝาปิดของภาชนะ และพื้นที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ มรความสัมพันธ์กับความชุกของลูกน้ำยุงลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
     ผู้ทำ/Author
NameArwae Luemoh
Organization Princ of Songkla University,Graduate School
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgments
Contents
Chapter 1 Introduction
Chapter 2 Methodology
Chapter 3 Preliminary...
Chapter 4 Graphicial analysis...
Chapter 5 Conclusions...
Bibliography
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
     Contributor:
Name: Don McNeil
Roles: Advisory
     Publisher:
Name:Prince of Songkla University, Pattani Campus
Address:Pattani
     Year: 1999
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2040
     Counter Mobile: 32