|
บทคัดย่อ/Abstract |
The objective of this research is to study modeling the distribution of monthly rainfull in Pattani Province. The rainfull data were collected at 14 metrorological measurement stations: (1) Pattani station (2) Sai Buri station (3) Yarang station (4) Khok Pho station (5) Panare station (6) Mayo station (7) Nong Chik station (8) Yaring station (9) Kapho station (10) Mai Kaen station (11) Khok Pho station (12) Thung Yang Dang station (13) Mae Lan station (14) Pattani Airport station. The data were collected between January 1, 1982 and December 31, 2001. Graphical displays and statistical models were used <br />
to investigate the distribution of rainfull in time and space. These methods include one-way and two-way analysis of variance, time series and geographical information systems (GIS).<br />
It was found that the quantity of the rain in each station in Pattani is different, depening upon location and season. The maximum five-day period average rainfull of 35.46 mm was at Mae Lan, while the minimum period average rainfull of 18.91 mm was at Khok Pho. But the pattern of the distribution of the rainfull was similar: the highest quantity was in period 61-73 (October 28-December 31), medium quantity was in period 26-60 (May 6-<br />
October 27) and lowest quantity in period 1-25 (January 1-May 5).<br />
Base on two-way analysis of variance, we have clarified it in to 3 types: (1) highest rainfull location (Sai Buri, Mae Lan and Pattani airport), (2) mediu, rainfall location (Pattani, Yarang, Panare, Mayo, Nong Chik, Yaring, Kapho, Khok Pho (SHS), Thung Yang Dang) and (3) lowest rainfall location (Khok Pho).
จุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบการกระจายปริมาณน้ำฝนรายเดือนของจังหวัดปัตตานี ซึ่งข้อมูลปริมาณน้ำฝนได้มาจากกรมอุตุนิยมวิทยาจำนวน 14 สถานี 1.สถานีปัตานี (580001) 2.สถานีสายบุรี (580002) 3.สถานียะรัง (580003) 4.สถานีโคกโพธิ์ (580004) 5.สถานีปานาเระ (580005) 6.สถานีมายอ (580006) 7.สถานีหนองจิก (580007) 8.สถานียะหริ่ง (580008) 9.สถานีกะพ้อ(580009) 10.สถานีไม้แก่น (580010) 11.สถานีโคกโพธิ์ (580011) 12.สถานีทุ่งยางแดง(580012) 13.สถานีแม่ลาน (580013) 14.สถานีสนามบิน (580014) ซึ่งบันทึกไว้ตั้งแต่ 1 ม.ค.2554 กราฟการกระจายและรูปแบบทางสถิติได้นำมาศึกษาการกระจายของปริมาณน้ำฝนในช่วงเวลาต่างๆ วิธีการดังกล่าว ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว,แบบสองทาง,อนุกรมเวลา และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)<br />
จากผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำฝนของแต่ละสถานีในจังหวัดปัตตานีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับที่ตั้งและลักษณะทางภูมิประเทศ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยแต่ละสถานีแตกต่างกัน ซึ่งสถานีโคกโพธิ์มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยที่สุด (18.91 ม.ม.ต่อคาบ) และสถานีแม่ลานมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมากที่สุด (35.46 ม.ม.ต่อคาบ) แต่โดยภาพรวมรูปแบบการกระจายของปริมาณน้ำฝนทั้ง 14 สถานีมีรูปแบบการกระจายที่ใกล้เคียงกัน คือ ฝนตกมากในคาบที่ 61-73(28 ต.ค.-31 ธ.ค.), ฝนตกปานกลางในคาบที่ 26-60 (6 พ.ค.-27 ต.ค.)และฝนตกน้อยในคาบที่ 1-25 (1 ม.ค.-5 พ.ค.)<br />
จากการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง พบว่า สามารถแบ่งความแตกต่างของปริมาณน้ำฝนได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) สถานีที่มีน้ำฝนปริมาณมาก (สถานีสายบุรี, สถานีไม้แก่น, สถานีแม่ลาน และสถานีสนามบิน),(2) สถานีที่มีน้ำฝนปริมาณปานกลาง (สถานีปัตตานี,สถานียะรัง,สถานีปานาเระ,สถานีมายอ,สถานีหนองจิก,สถานียะหริ่ง,สถานีกะพ้อ,สถานีโคกโพธิ์(SHS)และสถานีทุ่งยางแดง) และ (3)สถานีที่มีน้ำฝนปริมาณน้อย(สถานีโคกโพธิ์)<br />
|