ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนาทักษะวิชาชีพในสถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาเพื่องานอาชีพในห้าจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (IMT-GT) / Careers Skill Development on Vocational Education in Five Southern Border Provinces for Serving IMT-GT Development
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะวิชาชีพด้านอาชีวศึกษาเพื่องานอาชีพในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (IMT-GT) เกี่ยวกับศักยภาพของบุคลากร หลักสูตรต่างๆที่เปิดสอน การจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาทักษะ คุณภาพของผู้เรียนและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับอาชีพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งปัญหาและแนวทางการพัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 220 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที
ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพของบุคคลากรส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี หลักสูตรที่เปิดสอนส่วนใหญ่เป็นช่างอุตสาหกรรม ส่วนกิจกรรมที่จัดเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพ ได้แก่ กิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมส่งเสริมทักษะประสบการณ์ กิจกรรมยกระดับแข่งขันทักษะและกิจกรรมส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียนทั้งภาพรวมและรายกิจกรรมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และกิจกรรมทางวิชาการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาจากความคิดเห็นของเจ้าของสถานประกอบการเห็นว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก คุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับทักษะอาชีพ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความมีวินัยฯลฯ ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การจัดหาแหล่งฝึกประสบการณ์ และปัญหาทางสังคม การเมืองและวัฒนธรรม สำหรับแนวทางการพัฒนาควรปรับปรุงให้มีกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การสอนภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร การผลิตผู้สำเร็จทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการในภูมิภาคนี้ เช่น เทคโนโลยียาง การประมง บริหารธุรกิจ เป็นต้น

This research was intended to study the Career's Skill Development on Vocational Education in Five Southern Border Provinces for Serving IMT-GT Development, which related to the potential of the personnel, the various curriculums, all activities for skill development, the quality of graduates and the suitable qualifications in this southern region of Thailand. It was included to the collecting of problems and guidelines for improving the career?s skill for serving the economic-area development. The 220 samples were the students, the teachers, the administrators, the experts and the proprietors who concerned to the career?s skill development. The data collection was the survey from some document, the interview, the questionnaires and seminar from the experts. The data analyses were mean, standard deviation, and t-test.
The results were found that the potential of personnel was mostly in bachelor degree. The curriculum was mostly in mechanics, electric, electronic, accountancy, marketing, foods, clothes, agriculture and fishery. These curriculums should be served in this region, For the activities; there were four main groups; academic activities, skill experience activities, skill competitive activation, and the activities for supporting student incomes. It was found that the overall and each activity were at moderate levels, however the academic activities was the lowest mean. For the quality of graduates, the proprietors and the employee agreed that the quality of graduates were at high level. For the satisfactory qualifications on the career skills, there should be the honesty, responsibility, discipline, human relationship, unaddictive person and destruction, creative thinking, self-confidence, learning interest, unity and patience. The problems were found that there were on the policy for economic development, personnel development, curriculum and instruction development, sources for training, and the problems on social, culture and politic. For the guideline in improving, there should be managed the academic activities as in supporting the innovation and technology, teaching the foreign languages for communication, these skills could be employed in this region as in rubber technology, fishery, business and marketing, and tourism.
There were the suggestions for research implementation; the government policy should be emphasized on the regional economic development and support the budget to those vocational institutions. There should be cooperated among the institutions for academic exchange. The students should be improved themselves in vocational skill, managerial skill, technological skill, and communicative skill.
     ผู้ทำ/Author
Nameชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
Nameสมเกียรติ พ่วงรอด
Organization
Nameเสริมศักดิ์ นิลวิลัย
Organization
Nameเสาวนิตย์ ทวีสันทนีนุกูล
Organization
Nameศักดิ์จิต มาศจิตต์
Organization
Nameอ้อมใจ วงษ์มณฑา
Organization
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 10-29)
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 30-52)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก ก
ภาคผนวก ข
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2547
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3926
     Counter Mobile: 33