ชื่อเรื่อง/Title บทบาทของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและการใช้กฎหมาย ในพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี ศึกษากรณี : บ้านตันหยงเปาว์ หมู่ที่ 4 ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี : รายงานผลการวิจัย
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยนี้เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรและบทบาทของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านในการดำเนินนโยบาย การบังคับใช้กฏหมายเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นหาความจริงสองด้าน คือ ภายในชุมชน และภายนอกชุมชน สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ของชุมชนกับโลกภายนอกใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน ระหว่างชาวประมงพื้นบ้าน นักพัฒนาเอกชนและนักวิชาการ ในการปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและเพิ่มพูนศักยภาพของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านในการจัดการกับปัญหาด้านต่างๆในระยะยาว <br /><br /> ข้อค้นพบจากการศึกษา<br /><br /> 1.รูปเเบบการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน<br /><br /> 1.1 ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีระบบคุณค่าเเละความเชื่อที่มีพื้นฐานจากหลักการทางศาสนาอิสลามที่ว่า ทะเลซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันเป็นขององค์อัลลอฮ์(พระผู้เป็นเจ้า) เเละมีผู้ที่ปกป้องดูเเลรักษาทะเลเรียกว่า "นบีค๊อยเดห์" การใช้ประโยชน์จากทะเลจึงต้องเคารพต่อพระผู้ปกป้องทะเล ต้องเรียนรู้เเละเข้าใจธรรมชาติของท้องทะเล รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในทะเลต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน อย่างคุ้มค่า เเละไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน<br /><br /> 1.2 เครื่องมือประมงพื้นบ้านเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางสังคมที่ประกอบด้วย ตัวเครื่องมือ เครื่องล่อเเละกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างเท่าเทียมเเละไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ซึ่งเกิดจากปูมิปัญญา ความรู้เกี่ยวกับท้องทะเลเเละสัตว์น้ำ ที่เชื่อมโยง สอดคล้องกับระบบคุณค่าความเชื่อของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน <br /><br /> 1.3 อุดมการณ์อำนาจของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน ปรากฏในรูปของจารีตท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรที่สำคัญคือ การเคารพสิทธิของผู้อื่นโดยห้ามใช้เครื่องมือประมงที่ทำลายเพราะทำให้คนอื่นเดือดร้อนการทำ "ซั้ง" หรือปะการังเทียมเเบบพื้นบ้านในการฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ เเละเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจ เเสวงหาความร่วมมือจากส่วนราชการเเละสังคมภายนอก เเละพิธีกรรมต่างๆเกี่ยวกับเรือและการประมงที่เเสดงถึงการเคารพธรรมชาติ การตระหนักถึงศักดิ์ศรีเเละอำนาจของชุมชน<br /><br /> ระบบคุณค่า ภูมิปัญญา อุดมการณ์อำนาจเเละความสัมพันธ์ทางสังคมในการจัดการทรัพยากรของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด เเละทำให้การทำประมงในแบบของชาวประชชมงพื้นบ้านเป็นการรักษาความสมดุลของธรรมชาติ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำเเละเเหล่งทำการประมง ควบคู่ไปกับการนำสัตว์น้ำเเต่ละชนิด เเต่ละประเภท มาใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม<br /><br /> 2. ภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน<br /><br /> ผลจากการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญเเละวิธีการที่ใช้จัดการกับปัญหาของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน พบว่าภัยคุกคามจากภายนอกที่เกิดจากการทำประมงอวนรุนที่ผิดกฎหมาย ซึ่งได้ทำลายเครื่องมือประมงพื้นบ้านทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำเเละระบบนิเวศในทะเล เป็นภัยคุกคามจากภายนอกที่ส่งผลกระทบอย่างรุนเเรงต่อความอยู่รอดของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน เปรียบเสมือนกับได้เกิดเหตุไฟไหม้บ้านของชาวบ้านเเละถูกปล่อยปละละเลย ไฟจึงไหม้ลุกลามมากขึ้นจนเกินกำลังของชุมชนที่จะเเก้ไข นอกจากนี้ก็คือภัยคุกคามที่เกิดจากโครงการพัฒนาของรัฐโดยการสร้างเขื่อนชลประทานปิดกั้นลำคลอง ทำให้ลำคลองเเละปากอ่าวตื้นเขิน ป่าชายเลนเเละทรัพยากรสัตว์น้ำในคลองเสื่อมโทรม<br /><br /> 3. ข้อเสนอการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรในทะเลของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน<br /><br /> 3.1 สร้างโอกาสเเละศักยภาพของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านในการจัดการทรัพยากร โดยการผลักดันองค์ความรู้ของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรในทะเล ให้สังคม ให้สาธารณชนได้รับรู้เเละมีความเข้าใจอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับระบบความรู้ สร้างความชอบธรรม สร้างอำนาจในการต่อรองเเละเพิ่มบทบาทของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน ในการจัดการทรัพยากรในทะเลอย่างยั่งยืน<br /><br /> 3.2 สร้างระบบการจัดการทรัพยากรในทะเลที่หลากหลายโดยชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งถูกกำหนดเเละควบคุมด้วยระบบคุณค่า ภูมิปัญญาเเละความสัมพันธ์ทางสังคม ที่ผ่านการสั่งสม ถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคนกฎเกณฑ์เเละจารีตท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรที่สำคัญ คือ การเคารพสิทธิของผู้อื่นโดยห้ามใช้เครื่องมือประมงที่ทำลาย "สิทธิชุมชน" ของชาวประมงพื้นบ้านเป็น "สิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกันเเละไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน" ไม่ใช่สิทธิในเขตทะเลชุมชนหรือการจัดการดดยท้องถิ่น ที่ให้ผู้หนึ่ง ผู้ใดมีอำนาจจัดการเหนือท้องทะเล เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทรัพยากรของส่วรวมถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของคนส่วนน้อย ในขณะที่คนส่วนใหญ่กลับถูกปิดกั้นสิทธิที่จะเข้าถึงทรัพยากรส่วนรวมมากขึ้น<br /><br /> 3.3 เพิ่มบทบาทของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านในกิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรในทะเล เช่น<br /><br /> 3.3.1 การอนุรักษ์เเละฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง เช่น การทำ "ซั้ง" หรือปะการังเทียมเเบบพื้นบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเเละเเสดงถึงศักยภาพของชุมชนในการจัดการทรัพยากร<br /><br /> 3.3.2 สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น การติดตาม เร่งรัดการดำเนินงาน การขอทราบข้อมูลข่าวสาร การขอทราบผลคดี การตรวจสอบการทำงาน การร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่รัฐในด้านต่างๆ การเป็นราษฎรอาสาสมัครร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่รัฐ<br /><br /> 4. ข้อเสนอเเนะด้านนโยบายเเละกฎหมาย<br /><br /> 4.1 ปรับเปลี่ยนนโยบายเเทะทิศทางการพัฒนา โดย "ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง" จากการศึกษาพบว่ามีความขัดเเย้งของนโยบายด้านการประมงเกี่ยวกับการอนุรักษณ์เเละการเร่งนำทรัพยากรสัตว์น้ำมาใช้ประโยชน์ในการเศรษฐกิจมาโดยตลอด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรมลงจนอยู่ในภาวะวิกฤติ รวมทั้งทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีปีะสิทธิภาพ การยึดหลัก "เศรษฐกิจพอเพียง" จะทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตวืน้ำในทะเลอย่างยั่งยืน ทำให้ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านซึ่งมีจำนวนปะมาณร้อยละ 90 ของชาวประมงทั้งประเทศ ที่ต้องประสบกับปัญหาความยากจนอย่างรุนเเรง ได้ใช้ระบบคุณค่า ความเชือ ภูมิปัญญา กฎเกณฑ์เเละจารีตของชุมชนจัดการ ใช้ประโยชน์เเละพิทักษ์ระบบชีวิตนิเวศในทะเล<br /><br /> 4.2 สร้างระบบกฎหมายที่รับรอง ระบบคุณค่า ภูมิปัญญา จารีตท้องถิ่น เเละสิทธิของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู การจัดการ การบำรุงรักษา เเละการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในทะเล<br /><br /> 4.3 เเก้ไข ปรับปรุงบัญญัติของกฎหมายประมง เพื่อให้มีการการบังคับใช้ การป้องกันเเละปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การห้ามมีไว้ในครอบครองเเละห้ามใช้เครื่องมือประมงที่ทำลายล้าง ได้เเก่ เครื่องมือประมงอวนรุน อวนลาก เเละเครื่องมือประมงที่ใช้เเสงไฟประกอบอวนตาถี่ เพื่อจับสัตว์น้ำเวลากลางคืนทุกชนิด<br /><br /> 4.4 บัญญัติกฎหมายให้มีองค์กรหรือสถาบันจัดการทรัพยากรในทะเลที่เป็นอิสระ มีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายทั้งในระดับประเทศเเละในระดับท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่ควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายเเละนโยบายในการจัดการทรัพยากรในทะเล.

The research attempts to answer questions concerning the fisherfolk community's management of natural tesources and the roles of fisherfolk community in the policy implementation, law enforcement orocess. The study site is Tanyongpao village in Tagamsam subdistrict of Ampoe Nongchik's Pattani. The approach of studies is a qualitative research to obtain data from both inside and outside of the community. The participatory rural appraisal (PAR) is used to obtain reliable data in the community, while the participatory action research (PAR) helps bring about collaboration between the fisherfolk community, the non-governmental organization's field workers, and the scholars to resolve problems of law enforcement in terms of reservation and rehabilitation of the coastal resources. The process also leads to a capacity building of the people's organization in the long terms. <br /> Findings<br /> 1. Formulation of the management of natural resources by the fisherfolk's community<br /> 1.1 The fisherfolk's community, in which the mojority of population is Muslims. has an value and belief system that the sea is common property owned by the Allah. The keeper of the sea is called "Na-bi Koy-de". Using of the sea, one must pay respect to the keeper of the sea, learning and understanding the nature of the sea. This includes knowing the share and worthy use the sea, not offending the others.<br /> 1.2 The fishing gears of the small-scale fisherfolk are not just the tools. They are the social construct, comprised of applicants, fish attracting devices, and socail rules concerning the use of a particular fishing gear. The social rules involve equally use of the sea with no-offending fishing activities. They are developed from local that featutes the sustainable use of the sea resources.<br /> 1.3 Ideologyand authoritative structure of the small-scale fisherfolk community involve the local customs and rules in managing the natural resources, that is, respecting to rights of the others, and prohibiting the use of destroying gears. The fisher folks use WsungW as the local artificial coral reefs to rehabilitate the coastal resources, while making it as a tool for making common understanding and seeking cooperation with bureaucrats and the outside world. Thare are also many rituals about fishing boats and fisheries to show that the villagers respect the nature and realize in the esteem and power of their community. <br /> The value system, wisdom, idenological power, and social relationships in managing the natural resources of the community are closely interwined, leading to the community's fisheries that sustain the ecological balance, conserving the sea's animals as well as protecting location of fisheries. As a result, they can appropriately utillize each category of fish in terms of economic value.<br /> 2. The treat of survival of the fisherfolk community<br /> The treat of the survival. In the analysis of the "major events and ooping strategies" of the fisherfolk community, the study finds that external threat emerging from illegal ways of fisheries, the use of pushnet, which destroyed the fisherfolk's gear, rulned underwater resources and ecosystem of the sea, has become the most serious threat to the local fisherfolk community. To some villagers, the situation is comparable to the firing houses and the firemen just ignore the people's mishap. This results in the widespread fire beyond the capacity of community to cope bloked the canal passing trough the village down to the sea shore. The canal got shallower, the mangrove forest and coastal resources have become more deteriorated.<br /> 3. Recommendation for Participatory Management of Coastal Resources by the Community<br /> 3.1 Creating opportunity and capacty for natural resource management by the fisherfolk community through opening the "public space". This can be done through making pubic awareness, bringing about public understanding of the value system, wisdom, idiological power, and social relationhips in managing the naturak resources. The process will lead to the acceptance of knowledge system, legitimacy, bargaining power, demands for righrs, and empowerment in natural resource management of the fisherfolk community.<br /> 3.2 Establishing multifaceted syetem of natural resource management, including both public and communai system that embrace value system, social wisdom, and social relationships which have been transferred through people over generations. The local customs and rules in managing the natural resources, that is, respecting, to rights of others, and prohibiting the use of destroying gears. The concept about the community rights in fisheries is complicated. Individuals have rights to exploit resourcesbased on each person's capability, so long as he or she respects rights of others. The right to use resources is not the right to process property, while disturbing others. Moreover, the concept about "territorial use rights in fisheries" allowing a local authority to solely manage property being exploited by a small group of people with unjustified claims about the national development. The majority of people are deprived of their rights to access to the resources.<br /> 3.3 Increasing roles of the fisherfolk community in natural resource management activities by <br /> 3.3.1 Promoting coastal resource conversation and rehabilitation activities such as making the traditional artificial reefs which is the results of local, traditional wisdom, representing the capacity of the community in management of natural resources.<br /> 3.3.2 Policy advocacy and policy implementation activities should be promoted. These activities are monitoring law enforement, accelerating policy implementation, demanding for official information, asking for result of deliberation of cases in court, monitoring the government activities, cooperating with the local jurisdictions to support the implementation activities of the government officials, making volunteer groups working with the official patrol units.<br /> 4. Recommendation on Policy and Implementation of Policy<br /> 4.1 Changing directions of the existing policy by reorienting it toward the "self-sufficient economy". The study finds that, over years, there has been policy conflict on fisheries and the conservation of natural resources. The government always supports the exploitation of coastal and marine resources in terms of economic values, the major cause of severe degration of crisis of the coastal and marine resources and the ineffective law enforcement. The principle of "self-sufficient economy" will bring about rehabilitation of the natural resources as it allows the fisherfolk community, comprised of 90 percent of overall fishing households, to use their value and belief system, local wisdom, community rules and customs, to manage, utilize, and preserve the ecosystem of the sea. <br /> 4.2 Estabilishing legal system that entrusts the fisherfolk community's value and belief system, local wisdom, and community rights in conservation, rehabilition, management, maintain, and utilize marine resources.<br /> 4.3 Amending and improving fisheries law to be more effectively implemented, able to protecting and suppressing the illigal fishing activities. Fisheries low should prohibit the use of push net, trawler, and anchovy fishing trawler with electricity-generating lights to fish at nighttime.<br /> 4.4 In the fisheries law, there should be the articles identifiying an independent agency, imcluding various groups, nationally and locally, to look after the law enforcement and implementation of policy on
     ผู้ทำ/Author
Nameปิยะ กิจถาวร
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บทที่ 6
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
     Contributor:
Name: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2543
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 4290
     Counter Mobile: 93