ชื่อเรื่อง/Title ปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี / Problems of the Implementation of Islamic Study Curriculum A.D.1978 (Revised Edition A.D.1990) of Islamic Primary School Teachers in Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาระดับปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา ระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ของครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี 2.เปรียบเทียบระดับปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา ระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ของครูอิสลามที่มีความแตกต่างกันทางด้านอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในตำแหน่ง 3.รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา ระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ของครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี <br /> <dd>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2539 จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ <br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1.ครูสอนศาสนาอิสลาม มีปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา โดยภาพรวม และรายด้านของการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร อยู่ในระดับมาก <br /> 2.การเปรียบเทียบปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาของครูสอนศาสนาอิสลามที่มีความแตกต่างในด้านอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในตำแหน่ง พบว่า <br /> <dd>2.1 ครูสอนศาสนาอิสลามที่มีอายุต่างกัน มีระดับปัญหาในการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ครูสอนศาสนาอิสลามที่มีอายุ 32 ปีขึ้นไป มีระดับปัญหาด้านการบริหารหลักสูตร และด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร แตกต่างจากครูสอนศาสนาอิสลามที่มีอายุ 31 ปีลงมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ทั้งครูสอนศาสนาอิสลามที่มีอายุ 31 ปีลงมา และ 32 ปีขึ้นไป มีระดับปัญหาการใช้ไม่แตกต่างกัน <br /> <dd>2.2 ครูสอนศาสนาอิสลามที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีระดับปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ครูสอนศาสนาอิสลามที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีระดับปัญหาการใช้ ด้านการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 ส่วนด้านการบริหารหลักสูตร และด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร ไม่แตกต่างกัน <br /> <dd>2.3 ครูสอนศาสนาอิสลามที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งต่างกัน มีระดับปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งตางกัน มีระดับปัญหาการใช้ด้านการบริหารหลักสูตร และด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน <br /> 3.ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการใช้หลักสูตรอิสลาม ของครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี ด้านการบริหารหลักสูตร เสนอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ จัดอบรมเพิ่มเติมเรื่องการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ให้ครูสอนศาสนาอิสลามทำความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ พฤติกรรมการสอน ต้องยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กได้ปฏิบัติจริง ด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร ให้มีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง สนับสนุนสื่อการเรียนการสอน ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรทุกระดับ

This research aimed at (1) studying the level of problems in implementing the Islamic study curriculum of the primary level ,A.D. 1978 (Revise Edition A.D. 1990) of Islamic primary school teachers in changwat Pattani ; (2) comparing the problems of the Islamic teachers with different educational status and job experience; and (3) collecting problems and suggestions on the implementation of the curriculum from the Islamic primary school teachers in changwat Pattani. The samples of the study were 170 Islamic primary school teachers in changwat Pattani during the academic year 1996.<br /> The research instrument for data collection was a five-item Likert?s scale questionnaire of which its reliability level was .9870. The data then were interpreted by absolute criteria and analyzed statically by percentage, means, standard deviation, t-test, f-test and Scheffe Method of multiple comparisons.These analyses were manipulated by an SPSS/PC+ computer programmer. <br /> The research results showed that :<br /> 1. the problems of the implementation Islamic study curriculum of Islamic teachers, either overall or in each category of curriculum administration, teaching-learning process in line with the curriculum, or support and promotion of the implementation, were in the high level.<br /> 2. Comparing the problems in implementing Islamic study curriculum A.D. 1978 (Revise Edition A.D. 1990) of the Islamic teachers who were different in age, educational status, and job experience, it was found that :<br /> 2.1 Overall, the Islamic teachers whose age differed from each other were not different in the level of problems in implementing the curriculum. But, when each category was considered, it was found that the ones whose ages were 32 and over were different from the ones whose ages 31 and under in the level problems of the curriculum administration and support and promotion of the implementation at significance, level of .01. In teaching-learning process in line with the curriculum, both age groups showed no difference in the level of problem.<br /> 2.2 the Islamic teachers with different education status were generally not different in the level of problem, With regard to each category, they were different In teaching-learning process at the significance, level of .001. No difference was found when curriculum administration or support and promotion of the curriculum were considered.<br /> 2.3 Overall, the Islamic teachers with different job experience were not different in the level of problem. In the each category, they showed different level of problem in curriculum administration at a significance level of .05, while there was no difference teaching-learning process.<br /> 3. The suggestions to improve the implementation of the Islamic study curriculum A.D. 1978 (Revise Edition A.D. 1990) of Islamic primary school teachers in changwat Pattani were that :<br /> - With regard to curriculum administration, it was suggested that the responsible organization provide training in curriculum implementation to strengthen knowledge, understanding, and recognition of curriculum administration.<br /> - With regard to teaching-learning process in line with the curriculum, the Islamic teachers should understand how to manage procedural teaching-learning activities, student-centred teaching behavior, and conceived experience.<br /> - With regard to support and promotion of the implementation of the curriculum, there should be a systematic and continuous line supervision, a support of instruction media, and a follow-up and assessment of the implementation of the curriculum at every level.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameนงลักษณ์ หะยีมะสาและ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบาญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 12-38)
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 39-66)
บทที่ 3 วิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อนันต์ ทิพยรัตน์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2540
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4476
     Counter Mobile: 42