ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสถานีอนามัย ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
1) ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณืที่ดีและสามารถนำมาใช้ในการสร้างสมการพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสถานีอนามัยในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส
2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยการปฏิบัติงาน และปัจจัยสนับสนุนงานกับผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสถานีอนามัยในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส
3) เพื่อศึกษาระดับของผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสถานีอนามัยในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส ตัวแปรอิสระที่ศึกษาได้แก่อายุ รายได้ ประสบการณ์ การฝึกอบรมเพิ่มเติม ความรู้ในการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สัดส่วนเจ้าหน้าที่ต่อประชากร จำนวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบ การมีส่วนร่วมของชุมชน และระยะทางจากหมู่บ้านถึงสถานีอนามัย ส่วนตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่รับผิดชอบหน้าที่งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสถานีอนามัยในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบทดสอบความรู้ สถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ของสถานีอนามัยในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส อยู่ในระดับดี
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พบว่า อายุ รายได้ ประสบการณ์การทำงาน ความรู้ในกาปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการมีส่วนร่วมของชุมชนมีความสัมพันธ์เชิมนิมานกับผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ส่วนการฝึกอบรมเพิ่มเติมมีความสัมพันธ์เชิงนิมานกับการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสถานีนามัย
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสถานีอนามัยในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส ได้แก่ การมีส่วนร่วมกับชุมชน รายไดก้ การฝึกอบรมเพิ่มเติม และความรู้ในกาปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ข้อเสนอแนะ: สถานีอนามัยควรสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกาปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยเน้นการประสานงานกับองค์กรชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และอาสาสมัครสาธารณสุข

The objectives of this research were1) to determine the best predictors to be used in the regression equation of the immunization performance of health centers in Changwat yala, Pattani and Narathiwas, 2) to identify the relationships between personal characteristics, performance factor, as well as support factor and the immunization performance of health centers in these three provinces, and 3) to investigate the level of immunization performance of health centers in Changwat Yala, pattani and Narathiwas. The independent variables included age, income, work experience, training, knowledge about immunization, worker-people ratio, number of villages responsible, community cooperation, and distance from village to health center, while the dependent variable was the immunization performnace.
The subjects of this study were 184 community health workers taking care of immunization, who were stratified and randomly selected from 310 health centers in Changwat Yala, Pattani and Narathiwat. The research instruments were a questionnaire and a test. Data was analyzed with the SPSS/PC+ computer program to gat descriptive statistics: frequencies, percentages, arithmetic means, standard deviations; as well as Pearson?s correlation coefficients, and stepwise multiple regression.
The findings were as follows:
1. The performance on immunization for infants aged under one of the health centers in Changwat Yala, Pattani and Narathiwat was overall high.
2. As for the factors related to the immunization performance, it was found that age, income, work experience, Knowledge about immunization and community cooperation were related positively to the performance at the .01 level of significance.But training was related positively to the performance at.05
3. The factors affecting the immunization performance of these health centers were community cooperation, income, training, and Knowledge about immunization. The multiple correlation(R) was .440 at the .01 level of significance and the regression coefficient(R2) was .194 from which regression equations were obtained:
Raw score regression equation:
(Y) = 58.710 + 4.605(Par) + .0008189(Inc) + 1.734(Tra) + .359(K)
Z = .230(Par) + .204(Inc) + .171(Tra) + .166(K)
Suggestions:
Health centers should promote community cooperation in immunization activities, with emphasis upon cooperation with community organizations, activities, with emphasis upon the cooperation with community organizations, community leaders, religious, and village health volunteers. The provincial health offices should work with other related offices in organizing continuous training to develop the health workers? knowledge about immunization, and provide income support for the personal in this area by arranging adequarte remuneration for their work in order to increase efficiency in their performance for people?s benefits


     ผู้ทำ/Author
Nameจรงฤทธิ์ สังข์ประสิทธิ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ (หน้า1-30)
บทที่ 1 บทนำ (หน้า31-50)
บทที่ 2 วิธีการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 การอภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--หน่วยงานบริการสาธารณสุข
     Contributor:
Name: มารุต ดำชะอม
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2542
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3319
     Counter Mobile: 28