ชื่อเรื่อง/Title การใช้เทคโนโลยีการศึกษาของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานการประถมศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส / Educational Technology Utilization at the Lower Secondary Level of Educational Expansion Project
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส<br /><br /> <dd>ตามรายละเอียดดังนี้ <br /><br /> 1.สภาพของสื่อการสอนของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พบว่า โรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา มีสื่อการสอนประเภทต่างๆ ในระดับปานกลางและระดับน้อย และสื่อมีทั้งเก่าและใหม่ และได้นำสื่อกิจกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนอยู่ด้วย <br /><br /> 2.สภาพการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พบว่าครู อาจารย์ ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในระดับน้อยและปานกลาง แต่ครูอาจารย์ได้มีการวางแผนการใช้เทคโนโลยีการศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงอายุ ระดับความรู้ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง <br /><br /> 3.ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พบว่าครูอาจารย์มีปัญหาในการใช้สื่อการสอนค่อนข้างมากในหลายๆด้าน สื่อการสอนที่มีอยู่เก่ามีเนื้อหาไม่ตรงหลักสูตร ส่วนสื่อใหม่ครูอาจารย์ส่วนมากไม่ทราบวิธีการใช้ ส่วนนักเรียนมีความสนใจวัสดุที่มีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อจำนวนมาก แต่อุปกรณ์มีไม่เพียงพอต่อการใช้ <br /><br /> 4. จากการวิจัยได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส เช่น ควรจัดให้มีการฝึกอบรมแนะนำสื่อต่างๆ การใช้และการบำรุงสื่ออย่างจริงจังและเป็นระบบในหลักสูตรต่างๆระยะสั้นให้แก่ครู อาจารย์ และควรสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างทั่วถึง <br /><br /> 5.จากการวิจัยได้แนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ดังนี้ <br /><br /> <dd>5.1 ผู้บริหารควรเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ในการแสวงหาและสนับสนุนให้ครู อาจารย์ ได้ใช้สื่อและเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ <br /><br /> <dd>5.2 ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนครูอาจารย์ได้ช่วยกันระดมพลังสมองจัดตั้งศูนย์สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อช่วยเหลือและถ่ายเทความรู้ในการผลิตและบำรุงรักษา <br /><br /> <dd>5.3 ทุกโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาควรมีการพัฒนาความพร้อมของสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ <br /><br /> <dd>5.4 โรงเรียนจัดให้มีระบบการบริการสื่อการเรียนการสอนให้แก่ครู อาจารย์ และนักเรียนอย่างทั่วถึง เป็นต้น

This research was intended to investigate the utilization of educational techonology at the lower secondary level of the Educational Project's schools under the Provincial Primary Education Offices of Pattani, Yala and Narathiwat. The findings were as follows:<br /> 1. For instructional media, the number of each type owned by the Educational Expansion Project's schools in Pattani, Yala and Narathiwat was either moderate or low. There were both old and new media such as a map, chart, globe, picture, model, object, slide projector, overhead projector and amplifier. The schools also used instructional activities in the library and in the science, language and computer laboratories. The laboratory equipment, especially that in the computer laboratory, was too limited to serve the interest students.<br /> 2. For educational technology, the teachers in those schools utilized the media mentioned adove in 1 at low and moderate levels. But they systematically planned for the educational technology utillzation by performing at a moderate level the audience analysis concerning age, competency, social status, economic status and education.<br /> 3. The teachers in those schools feced rather high level of problems in utilizing instructional media; for example, they were unable to use a variety of equipment, the existing materials were old and were not consistent to the curriculum, the equipmrnt was unworkable and needed maintenance. As for modern media, most teachers were unable to use a computer if they did not teach with it. Although lots of students were interested in learning by computers, the equipment was inadequate. In addition, other teachers had no chance to use the languge and science laboratories if not teaching those subjects.<br /> 4. From the findings, many suggestions on how to solve the problems of educational technology utilization in those schools were given. The systematic and short-course training in educational medial and technology utilization and maintenance for teachers should be provided. Moreover, school staff and administrators should support every teacher in utilizing educational techonology for instruction.<br /> 5. The guidelines for instructional development of the schools in the Educational Expansion Project were as follows:<br /> 5.1 The administrators should have the vision to support teachers to utilize the educational media and technology for effective and systematic instruction.<br /> 5.2 The school administrators should encourage the teachers to assist in establishing an educational media and technology center at the school and shool group levels in order to help each other, as well as to share equipment and knowledge about media and technology production and maintenance. <br /> 5.3 Every school in the Educational Expansion Project should develop its instructional media readiness systematically.<br /> 5.4 The school should provide a service system of instructional media such as books, library, audiovisual materials and equipment like radio, television and computer for sll teachers and students.
     ผู้ทำ/Author
Nameเต็มดวง เศวตจินดา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 7-29)
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 30-55)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2538
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3471
     Counter Mobile: 33