|
บทคัดย่อ/Abstract |
<dd>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเข้าใจถึงลักษณะการจัดการทางประมงชุมชนประมงพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี สภาวะการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรประมงและกำลังลงแรงประมง ศึกษาโครงสร้างต้นทุน รายได้ และความสามารถในการทำกำไรของกิจกรรมการประมง ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บตัวอย่างจากครัวเรือนประมงทั้งสิ้น 392 ตัวอย่างจาก 19 ตำบล ในจังหวัดปัตตานี <br /><br />
<dd>พบว่า ลักษณะของชาวประมงส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีการศึกษาต่ำ อายุอยู่ในวัยกลางคน นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ และไม่มีอาชีพอื่นนอกเหนือจากอาชีพการทำประมงเป็นอาชีพรอง ในบางครัวเรือนจะมีสมาชิกไปทำงานยังประเทศมาเลเซีย เมื่อศุกษาลักษณะเรือประมงที่ใช้ พบว่าส่วนใหญ่จะใช้เรือหางยาวขนาดใหญ่ความยาว 6-12 เมตร เครื่องยนต์เรือมีขนาด 6-10 กำลังเเรง ทั้งนี้ราคาของเรือจะมีความเเตกต่างกันในเเต่ละพื้นที่ เรือบางลำมีเครื่องมือช่วยในการเดินเรือเช่น เข็มทิศ เเละ วิทยุสื่อสาร เป็นต้น เรือบางลำจะใช้เครื่องมือประมงเพียงชนิดเดียว เเต่บางลำจะใช้หลายๆชนิดร่วมกัน โดยที่อวนจมปูจะมีการใช้มากที่สุด จำนวนวัน-งาน ในการทำงานของชาวประมงมีความเเตกต่างกันในเเต่ละลำเภอ โดยพบว่าชาวประมงที่อำเภอสายบุรีมีจำนวนวันขงานสูงที่สุด โดยทั่วไปเเล้วชาวประมงจะใช้บริเวณอ่าวปัตตานีเเละบริเวณใกล้เคียงเป็นเเหล่งทำประมง โดยเฉพาะชาวประมงในเขตอำเภอยะหริ่ง อำเภอเมือง เเละอำเภอหนองจิก ชาวประมงเกือทั้งหมดจะมีคุณลักษณะที่เเสดงถึงความเป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เเม้ว่าส่วนใหญ่ไม่เคยได้การอบรมทางด้านนี้ก็ตาม<br />
ทางด้านสภาวะทางเศรษฐกิจ ครัวเรือนประมงมีรายได้ที่ต่ำมาก ดดยเฉลี่ย 65,264 บาทต่อปี โดยที่ครัวเรือนในอำเภอไม้เเก่น มีรายได้ต่ำที่สุด คือ 38,836 บาทต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่า ดัชนี Engel มีค่าสูงมาก (97%) เเละครัวเรือนประมง 75.6% มีสภาวะเป็นหนี้สินที่ยืทมาจากเเหล่งต่างๆ จากการคำนวณรายได้ต่อหัวของชาวประมงโดยเฉลี่ย 11,368 บาทต่อปี โดยที่ชาวประมงในเขตอำเภอเมืองจะมีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดใน ขณะที่ในอำเภอไม้เเก่นมีรายได้ต่อหัวต่ำที่สุด ผลจากการศึกษาทางด้านกำไรจากการดำเนินงานเเสดงให้เห็นว่ากำไรจากการดำเนินงานมีค่าเท่ากับ 10.935 บาทต่อปี เเละรายได้ครัวเรือนสุทธิเท่ากับ 37.159 บาทต่อปี
The study is aimed to understand fishery management of the traditional fishermen community, understand the current situation of fishery resources and fishing effort, examine cost structure, toyal income and profitability in fishery activities of traditional fishermen. Three hundred and ninety two fishing households from 19 subdistricts throughout Pattani Province were selected as study samples to cover all objectives. The study found that traditional fisshermen characterized by low educational work. Some household members have been to Malaysia to work as fishermen there.<br /><br />
mst of the fishermen have used big long-tail powered bost and small long-tail powered boat with the length of 6-12 m and attached by 6-10 HP engine. Cost of the boat is slightly different in each districts. Some boats have been attached electrical equipment especially wireless radio communication. Whith regard to fishing gear used, some boats employed single fishing gear and multi fishing operation. Crab met is the most popular fishing gear among others.<br /><br />
Man-day operation of finishermen in each district is different by in Saiburi found to be the highest among others. In general most of traditional fishermen are using Pattani bay and adjacent area as their fishing ground especially fishermen in Yaring, Muang and Nongcik districts. Other fish nearby their sillage.<br /><br />
Almost all of fishermen have conservative habits although most of them never attained any conservative seminar or meeting.<br /><br />
In term of economic condition, traditional fishermen in Pattani have very low incom (65,264 bath), especially in Maikaen District (38,836 bath). Engel Coefficient for the community is very high (97%) and 75.6% of them are having loan from several sources. Income per capita is 11,368 bath for overall Pattani Province by fishermen in Muang District has the highest income per capital and the lowest is in Maikaen District.<br /><br />
Result of profit capibility shows that arerage gross economic profit for the whole Province is 10,935 bath/year while of net family income is 37,159 bath/year. |