|
บทคัดย่อ/Abstract |
<dd>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการประถมศึกษาในทศวรรษหน้าของจังหวัดปัตตานีที่สอดคล้องกับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักบริหาร นักวิชาการ และศึกษานิเทศก์ จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม พิศัยระหว่างควอร์ไทล์ และผลต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐาน <br />
<dd>ผลการวิจัยพบว่า <br />
1.หลักสูตรประถมศึกษาในทศวรรษหน้าของจังหวัดปัตตานีที่สอดคล้องกับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย <br />
<dd>1.1 จุดหมาย มีแนวโน้มให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ดี เคารพกติกาของสังคมอย่างเคร่งครัด มีระเบียบวินัยมีคุณธรรม จริยธรรม <br />
<dd>1.2 โครงสร้าง มีแนวโน้มเป็นหลักสูตรแบบกลุ่มประสบการณ์ 6 กลุ่มประสบการณ์ <br />
<dd>1.3 เนื้อหา ควรเป็นความรู้ด้านภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ <br />
<dd>1.4 แหล่งการเรียนรู้ ควรเป็นภูมิปัญยาองถิ่น สถานประกอบการ โบราณสถานโบราณวัตถุ ฯลฯ <br />
<dd>1.5 การวัดผลและประเมินผล ควรให้ผู้บริการ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้ประกอบการร่วมมือกันประเมินผลการเรียนของนักเรียน โดยประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง และเน้นการใช้แฟ้มสะสมงาน <br />
2. การจัดการเรียนการสอน <br />
<dd>2.1 วิธีสอน ควรใช้วิธีสอนที่หลากหลาย โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติโดยอิสระ และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม เช่น คอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน <br />
<dd>2.2 บทบาทของครูประถมศึกษา ควรเป็นผู้ที่สามารถวางแผนร่วมกับนักเรียนในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน เป็นผู้ประสานงานกับองค์กรของรัฐและเอกชน สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งเป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล <br />
<dd>2.3 บทบาทของนักเรียน ควรมีนิสัยรักการอ่าน มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถคิดวิเคราะห์ หาวิธีแก้ปัญหาได้ มีความรับผิดชอบ ฯลฯ <br />
3. การบริหารและการสนับสนุน <br />
<dd>3.1 โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ มีแนวโน้มแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับกลุ่มโรงเรียน และระดับโรงเรียนโดยเน้นการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง <br />
<dd>3.2 การนิเทศการศึกษาระดับประถมศึกษา มีแนวโน้มให้เน้นการนิเทศภายในโรงเรียน นิเทศโดยการแนะนำ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ และนิเทศอย่างเป็นระบบ <br />
<dd>3.3 บทบาทของผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองควรให้ความรัก ความอบอุ่น เอาใจใส่ดูแลบุตรหลานในการเรียน ตรวจสอบการเรียน ส่งเสริมให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และกล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน
This research intends to vestigate the trends of elementary education in the next decade of Changwat Patani in relation to the Indonisia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) Development Project. The investigation is manipulated by Delphi technique. Twenty samples selected are administrators, academics and educational supervisors. Whith the questionnaires constructed by the reseracher, the data are collected three times : first by the open-ended questionnaire and second and third by rating-scale questionnaires. Then they are analzed for median, mode, into-quartile range, and the difference between mode and median. The findings are as follows:<br />
1. The Elementary Education Curriculum in the Next Decade of Changwat Pattani in Relation to the Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) Development Project :<br />
1.1 Objectives : There is a trend towards instigating among the students basic skills in mathematics and ability to communicate in Thai and foreign languages (English, Malay, and Chinese), and fostering in them eagerness to learn and work, good human relationship, respect for social order, and retention of disclipline, morality, ethics, and gratitude.<br />
1.2 Structure : The trend is that the curriculum consists of 6 areas of experiences: basic skills, life-experience, habit-formation, work-oriented experience, and special experience areas, as well as science and technology areas.<br />
1.3 Content : The knowledge should be about Thai language, foreign language (English, Malay, and Chiness), science and technology, naturai resource and environment conservation and development, mathematics, morality, ehtics, as well as physical fitness and prevention of diseases. <br />
1.4 Learning resources : They should be local wisdom, enterprises, archeological sites, antiquities, libraries, mass media, religious institions, as well as materials, equipment, and printed materials.<br />
1.5 Measurement and evaluation : The administrators, teachers, students, parents, and enterpreneurs should cooperate with each to evaluate the students' learning achievment by authentic assessment, with emphasis on portfolios.<br />
2. Instructional Procedures :<br />
2.1 Teaching methodlogy : A variety of student-centereds should be implemented to enable independent practice among the students. Appropriate modern technology like computers should be introduced to class.<br />
2.2 Role of elementary school teachers : The elementary school teachers should be capable to plan cooperatively with the students how to organize learning experiences. They should be adopt innovative technology, and to possess wider vision. <br />
2.3 Role of students : The students should have reading habit, eagerness to learn, and and self-confidance. They should have analytical mind and problem-solving ability, as well as responsibility, discipline, hard-working, honesty, economy, patience, and punctuality. They should be able to plan for their jobs as well.<br />
3. Administration and Supports :<br />
3.1 Administrative structure and functions : The trend is divided into 5 level -- national, provincial, dietrict, school region, and individual school levels, with emphasis on real decentralization.<br />
3.2 Supervision at elemantary education level : The emphasis is on internal supervision through recommendations, assistance, encouragement, and systematic suppervision.<br />
3.3 Role of parents : Besides love and affection, parents should take care of their children's study and encourage them to seek further knowledge. They should also express their opinions beneficial to the improvement of the schools. |