ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยในการพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้า ของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส / Factors Predicting People in Health For All Village Program in Changwat Narathiwat
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา <br /> 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้า ของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส <br /> 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชาชน ได้แก่ อาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในชุมชน การเคยได้รับการประชุมอบรมด้านสาธารณสุข การได้รับข่าวสารด้านสาธารณสุข การได้ยินหรือการรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ ความคาดหวังเกี่ยวกับประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะได้รับ ปัจจัยด้านอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แก่ บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข และปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้แก่ เจตคติของประชาชนต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กับการมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานหมู่ยเานสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส <br /> 3) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส <br /> 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมในการดำเนิหมูบ้านสุขภาพดีถ้วนหน้า ของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส<br /> <dd>กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้า หรือตัวแทนครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนในจังหวัดนราธิวาส โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์แบถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน<br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. ประชาชนในจังหวัดนราธิวาสมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้า ในระดับปานกลาง และรายด้านคือ ด้านการวิเคราะห์ปัญหา ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการประเมิน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการวางแผนอยู่ในระดับน้อย<br /> 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้า ของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส โดยรวมได้แก่ ความคาดหวังเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับ เคยได้รับการอบรมด้านสาธารณสุข การได้ยินหรือรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข เจตคติของประชาชนต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีความสัมพันธ์เชิงนิมาน และอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ การเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในชุมชน การได้รับข่าวสารสาธารณสุขมีความสัมพันธ์กันเชิงนิมาน<br /> 3. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข การได้รับการอบรมด้านสาธารณสุข อาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจ ความคาดหวังเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงนิมาน มีอำนาจการพยากรณ์ และได้สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ<br /> 4. ปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน เนื่องจากไม่มีการประชุมชี้แจง หรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วถึง อีกทั้งการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นฝ่ายดำเนินการเอง

This research was intended to study 1) the level of participation in Health For All Village program of the in Changwat Narathiwat, 2) the relationships between factors concerning -- people : occupation, group membership, health service training, health information exposure to the Program, benefit expectation; village health volunteers: the role of the village health volunteer; community leaders: people's attitude toward community leaders; and community health works: people's attitude toward community health workers -- and participation in the Program by people in Narathiwat, 3) factors pridicting people participation in the Program, 4) problems and suggested solutions of people participation in the Program.<br /> The subjects of 277 village houshold leaders in Narathiwat or their representatives were selected by a multistage random sampling from the population of 88.069 village houshold leaders. The instrument for data collection was an interview schedule. The statisstics used for data analysis were percentages, arithmetic means, standard deviations, Pearson correlation coefficients, and stepwise multiple regression analysis. <br /> The findings were as follows:<br /> 1. In the implementation of Health For All Village Program, people in Narathiwat participated moderately in problem analysis, work performance, and evaluation; but they participated in planning at a low level.<br /> 2. Factors related positively to the people's overall participation at .001 were benefit expectation, health service taining, exposure to the Program, role of village health volunteers, people's attitude toward community health workers. Those related positively at .01 were the occupation with the Government/state enterprise, group membership, and informationexposure.<br /> 3. Factors predicting people participation in the Program were the role of village health volunteers (Role), health service training (Meet), occupation with the Government/state enterprise (Occu5), and benefit expectation (Hope). They were positive factors with 35.20% predictive power. A raw score regression equation was obtained:<br /> Y=-.0262+.1184(Meet)-.3281(Occu)+.2153(Hope)+.6233(Role)<br /> 4. The problems of people participation in the Program in Narathiwat were that people possessed inadequate knowledge in implementing the Program because of the lack of information and public relations. The community health workers performed every Program activity by themselves without participation from the people. Moreover, there was a lack of key personnel and fiscal budget for the program.<br /> According to the finding, it was suggested that the Ministratry od Public Health sould indicate the policy to implement Health For All Program focusing on people participation as a major objective, and allow the community to specify its own role. The community health workers should develop and promote people participation in each step of implementation, develop the village health volunteers' potentials to perform their role and duties effectively, and provide continuous training in health knowledge as well as Health For All Program to all people. The people should know what they benefit materialistically from implementing the program so as to promoth people participation and health for all.
     ผู้ทำ/Author
Nameวิไลวรรณ แซ่หว่า
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1บทนำ (หน้า 1-30)
บทที่ 1 บทนำ (หน้า 31-62)
บทที่ 2 วิธีการวิจัย (หน้า 63-88)
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 อภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
--การมีส่วนร่วมทางสังคม
     Contributor:
Name: ปราณี ทองคำ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2542
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3005
     Counter Mobile: 38