ชื่อเรื่อง/Title พฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมที่มารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐในเขตจังหวัดภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเชิงสำรวจชิ้นนี้ เป็นการศึกษาเชิงเปรีบยบเทียบความรู้ เจตคติ เเละวิธีการปฏิบัติในการใช้ยาของผู้ป่วยชาวไทยพุทธเเละชาวไทยมุสลิม ที่มารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐในเขตจังหวัดภาคใต้ รวมทั้งหาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านประชากร สังคมเศรษฐกิจเเละแหล่งความรู้ในเรื่องยากับพฤติกรรมการใช้ยาของผูป่วยเหล่านี้ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่มารับบริการในเเผนผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลของรัฐในเขตจังหวัดภาคใต้ โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างเเบบเเบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างชาวพุทธเเละชาวไทยมุสลิมกลุ่มละเท่า ๆ กัน (315 คน) รวม 630 คน ใช้เเบบสัมภาษณ์ที่ผ่านตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยหาความตรงตามเนื้อหา (content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ผลการขวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /> ข้อมูลทั่วไปพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นชาวไทยพุทธมีที่อาศัยในเขตเทศบาลเป็นย่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.4) เเต่กลุ่มตัวอย่างชาวไทยมุสลิม พบว่ามีที่อาศัยนอกเขตเทศบาลเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.7) ทั้งกลุ่มชาวไทยพุทธเเละชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่เพศหญิงมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 59.4 และร้อยละ 50.8) ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 30.5 เเละร้อยละ 37.5) มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 25.7 เเละ ร้อยละ26.3) ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 3,000 บาท (ร้อยละ 32.1 และ ร้อยละ31.7) มีการศึกษาในชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 45.8 เเละ ร้อยละ37.1)เเต่ในเรื่องการศึกษาพบว่า กลุ่มชาวไทยมุสลิมไม่ค่อยเรียนหนังสือ มีจำนวนมากกว่ากลุ่มตัวอย่างชาวไทยพุทธ<br /> เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ยาของกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง พบว่าเเหล่งความรู้เรื่องยาอันดับเเรก ของทั้งกลุ่มชาวไทยพุทธเเละกลุ่มชาวไทยมุสลิมคือเเพทย์ (ร้อยละ 37.8 เเละ ร้อยละ33.0) แหล่งความรู้เรื่องยาจากเภสัชกรในกลุ่มชาวไทยพุทธมีเพียง ร้อยละ 16.5 ในคณะที่กลุ่มชาวไทยมุสลิมมีเพียงร้อยละ 5.4 เนื่องจากชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่พักอาศัยนอกเขตเทศบาล จึงทำให้ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่พึ่งเเหล่งความรู้ในเรื่องยาจากฉลากยา (ร้อยละ 15.9) เเละจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ (ร้อยละ 15.2) ชาวไทยมุสลิมถือเอาความสะดวกเเละใกล้บ้านเป็นเกณฑ์ในการเลือกเเหล่งบริการสุขภาพ ในขณะที่กลุ่มชาวไทยพุทธดูจากความน่าเชื่อถือเเละความรู้ของผู้ให้บริการเป็นเกณฑ์<br /> เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะเเนนความรู้เเละวิธีปฏิบัติในการใช้ยาที่ถูกต้อง ของทั้งสองกลุ่ม ไม่เเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เเต่ค่าเฉลี่ยของคะเเนนเจตคติเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องของชาวไทยพุทธ จะมากกว่าของกลุ่มชาวไทยมุสลิมอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติ การวิจัยนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจและแหล่งให้ความรู้ในเรื่องยา ยังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาทั้งของกลุ่มชาวไทยพุทธเเละกลุ่มชาวไทยมุสลิมในเขตภาตใต้ กล่าวคือ ปัจจัยด้านอาชพ รายได้ การศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเหมือนกันทั้งสองกลุ่มตัวอย่าง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาที่เเตกต่างกันในกลุ่มชาวไทยพุทธเเละชาวไทยมุสลิมคือปัจจัยเรื่องอายุ กล่าวคคือ ปัจจัยด้านอายุในกลุ่มชาวไทยพุทธมีความสัมพันธ์กับวิธีใช้ยา โดยพบว่า ผู้ที่มีอายุน้อยจะใช้ยาได้ถูกต้อง มากกว่าผู้ที่มีอายุมาก เเต่ในกลุ่มชาวไทยมุสลิมพบว่า อายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ เเม้อายุจะแตกต่างกัน เเต่วิธีการใช้ยาที่ถูกต้องไม่เเตกต่างกัน<br /> เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยาในเเง่ความรู้ เจตคติเเละธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยา พบว่าในกลุ่มชาวไทยพุทธ คะเเนนความรู้เกี่ยวกับการใช้ยากับเจตคติเรื่องยามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนชาวไทยมุสลิมนั้น คะเเนนความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาเบเจตคติเรื่องยามีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับน้อยกว่ากลุ่มชาวไทยพุทธ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยา เเละระหว่างเจตคติกับการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยา พบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ<br /> ผลการศึกษาวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ศาสนามีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในเขตจังหวัดภาคใต้ของไทยให้ใความเเตกต่างกันได้ ผลการวิจัยนี้ จึงเป็นขั้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชในการกำหนดนโยบายเเละกลยุทธในการให้บริการสาธารณสุขในเรื่องการใช้ยาที่เหมาะสม ตลอดจนนโดยบายในการจัดการศึกษาเภสัชศาสตร์เเละบทบาทของเภสัชในการให้บริบาลเภสัชกรรม ในชุมชนที่มีความเเตกต่างทางวัฒนธรรม เช่นจังหวัดภาคใต้ของไทย

The present survey research was designed to study and compare knowledge, attitude and practice of drug use of Thai Buddhist and Thai Muslim patients in the out-pateint departments of the government hopitals in the southern provinces of Thailand. The relationships of population, socioeconomic status, sources of drug information and drug use behavior were also investigated. The sample subjects were composed of an equal number (315 per group) of Thai Buddhist and Thai Muslim patients (total of 630), selected by cluster random sampling through the use of a questionnaire which had been tested by three experts for content validity.<br /> For the general data, most of the Buddhist subjects lived in the Municipal areas (51.4%), whereas most of the Muslim subjects lived in the villages in the rural areas (72.7%). The similarities between the two groups were as follows: More famales than males were found in both groups (59.4% Buddhist and 50.8% Muslim). Most of their ages ranged from 21 to 30 years (30.5% Buddhists and 37.5 Muslims). The major careers of both groups were agriculture (25.7% Buddhists and 26.3 Muslims). Their monthly salary were lees that 3,000 Bath (32.1% Buddhists and 31.7). Their educational levels were within the primary school levels (45.8% Buddhists and 37.1% Muslims). However, numbers of non-school educated members in the Thai Mulim group was found greater that those in the Thai Buddhist group.<br /> When drug use behavior was anlyzed, the source of drug information in both groups was found to be physicians (37.8% Buddhist and 33.0% Muslim). Pharmacists were found to be sources of drug information only 16.5% in the Thai Buddhist group, and even less in the Thai Muslim group (5.4%). As most Thai Muslims lived in the rural areas, their sources of drug information were also from the medical labels (15.9%), as well as from the district public health officers. The choises of hoepitals for the Thai Muslim group were considered according to their convenience, quick service and proximal distance from their homes. In the Thai Buddhist group however, the reliability and the capability of the personnel of the hospitals were found to be their criteria. <br /> There was no statistically significant difference between the average scores for knowledge and practice of drug use in both groups. However, the average scores for attitude of drug use in the Thai Buddhist group were significantly higher than those in the Thai Muslim group (p<0.05). The present study also indicated the relationships of drug use behavior with those factors of population, economics, and sources of drug information in both groups. It was found that occupations, salaries and education ignificantly related to drug use behavior in the same manners in both groups. However, age factors showed a different relationship with drug use behavior in both sample groups. In the Buddhists, the younger members showed a more correct practice in drug use than the older members. Whereas in the Muslim group, the members with different ages did not show any significant difference in terms of correct practice in drug use. <br /> When drug use behavior was analyzed in terms of knowledge, attitude and pratice in drug use, it was found that the scores of knowledge and attitude about practice in drug use in the Thai Buddhists showed a positive intermediate level (r=0.5246) which was statistically significant (p<0.05). In the Thai Muslim group on the other hand, The scores of knowledge in grug use, and between attitude and practice in drug use were found not statistical significance.<br /> The present study indicated that religiouns could somehow influence grug use behavior of people in the southern provinces of Thailand. This information would be crucial for establishing policy and strategies in providing public health services to the community particularly those regards in rational use of drugs, as well as for pharmacy Education so as to produce pharmacists who could appropriately provide parmaceutical care to te multicultural community in the South of Thailand.
     ผู้ทำ/Author
Nameปิติ ทฤษฎิคุณ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Nameอรุณพร อิฐรัตน์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
     เนื้อหา/Content
บทความ
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2539
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2027
     Counter Mobile: 31