ชื่อเรื่อง/Title แนวโน้มคุณภาพชีวิตของประชากรจังหวัดปัตตานี ใน 10 ปีข้างหน้า ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ 6 กระทรวงหลัก / Future Trends in the Quality of Life of the Pattani Population in the Next 10 Years : Opinion of the Officials from the six Principal Ministries
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวโน้มคุณภาพชีวิตของประชากรจังหวัดปัตตานีในอีก 10 ปีข้างหน้า <br /> ????กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจาก 6 กระทรวงหลัก จำนวน 29 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เทคนิคเดลฟาย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอร์ไทล์<br /> ????ผลการวิจัย มีดังนี้<br /> 1. เป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรไทย ใน10 ปีข้างหน้าจะเน้นในด้านการพัฒนาคนเพื่อรองรับการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมาก และรวมถึงการพัฒนาทางด้านสังคม การศึกษาและการเมืองการปกครองตามลำดับ ในด้านเศรษฐกิจ จะเน้นการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การกระจายการสร้างงานและความเป็นเมืองไปสู่ชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาการเกษตรแบบพึ่งตนเอง การส่งเสริมการออมทรัพย์ และการพัฒนาเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ในด้านสังคมจะเน้นการจัดระบบสาธารณสุขมูลฐานให้กระจายถึงประชากรทุกกลุ่ม การจัดระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสังคม การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอลคล้องกับสภาพสังคม ในด้านการศึกษา จะเน้นให้ประชากรไทยร้อยละ 80 จบการศึกษาชั้นม.3 การขยายการศึกษาภาคบังคับ และการลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้น้อยกว่าร้อยละ 1 ต่อปี ในด้านการเมืองการปกครอง เน้นการกระจายงบประมาณและอนำาจการปกครองลงสู่ส่วนภูมิภาค การส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย และการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของประชากร<br /> 2. นโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรจังหวัดปัตตานี จะเน้นการพัฒนาสาธารณสุขในเชิงรุกโดยเน้นระบบการป้องกันมากกว่าการรักษาเป็นอันดับแรก ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการรักษาสภาวะแวดล้อมรอบอ่าวปัตตานี รวมถึงการจัดระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ควบคู่กับการพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมอื่นๆ และควรพัฒนาทางด้านระบบการบริการด้านการสื่อสารและระบบข้อมูลข่าวสารที่ดี การกระจายการศึกษา การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ สภาพดิน และอาชีพการประมงอีกด้วย<br /> 3. การใช้ตัวชี้วัด จปฐ. ควรมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต<br /> 4. หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้ จปฐ. ประเมินคุณภาพชีวิตของประชากร ควรมีการศึกาาข้อมูลทางวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของแต่ละชุมชน ประกอบการใช้ จปฐ. จะทำให้การใช้จปฐ. ประเมินคุณภาพชีวิตประชากรมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น<br /> 5. แนวโน้มข้อมูล จปฐ. ของจังหวัดปัตตานี มีแนวโน้มบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น ตัวชี้วัด จปฐ. ที่จะบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ได้มาก คือ เด็ก 1 ปี ได้รับวัคซีนครบ ครัวเรือนมีและใช้ส้วม ครัวเรือนมีน้ำสะอาดดื่มพอ เด็กได้ศึกษาภาคบังคับ เด็ก 0.5 ปีไม่ขาดสารอาหาร ครัวเรือนได้รับข่าวสาร เด็กได้ฝึกอบรมด้านอาชีพ และครัวเรือนเป็นสมาชิกกลุ่ม<br /> 6. ปัญหาความยากจนของประชากรจังหวัดปัตตานี จะมีผลสืบเนื่องมาจากการมีบุตรมากเนื่องจากขาดการวางแผนครอบครัว และสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพ การวางแผนจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงการขยายตัวของอาชีพอุตสาหกรรม การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาระบบการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นนโยบายสำคัญของจังหวัดปัตตานีที่จะช่วยแก้ปัญหาความยากจนของประชากรในอนาคต<br /> 7. ในด้านสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและการเมืองการปกครองของประชากรจังหวัดปัตตานี จะเน้นความสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครองมากกว่าด้านอื่นๆ โดยเน้นลักษณะทางการเมืองการปกครอง ที่ยึดตัวบุคคลและกลุ่มผลประโยชน์เป็นหลัก ในด้านเศรษฐกิจ จะให้ความสำคัญต่อปัญหารการทำลายสภาพแวดล้อมจากระบบอุตสาหกรรมและการทำนากุ้ง ในด้านสังคม เน้นบทบาทของผู้นำทางศาสนา และด้านการศึกษา เยาวชนไทยมุสลิมจะเข้ารับการศึกษามากขึ้น โดยเรียนทางศาสนาและการฝึกอาชีพควบคู่กันไป<br /> 8. บุคลากรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่จาก 6 กระทรวงหลัก ควรมีการเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่จากสำนักนายกรัฐมนตรี โดยคณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รวมถึงฝ่ายทบวงวิทยาลัย กระทรวงกลาโหม และกระทรวงยุติธรรมตามลำดับ<br /> 9. วิธีการดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร ควรเน้นการติดตามผลการปฎิบัติงาน การปฎิบัติงานควรเป็นไปในเชิงรุก โดยให้ภาคเอกชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนา อีกทั้งควรให้การบำรุงขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่ให้มาก รวมถึงเจ้าหน้าที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาด้วย<br /> 10. สภาพปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร จะสืบเนื่องมาจากการที่โครงการพัฒนาต่างๆจะมีลักษณะเป็นนามธรรมในเชิงปฎิบัติ รวมถึงยังมีความซ้ำซ้อนในการปฎิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการมาก

The purpose of this study was to study future trends in The Quality of life of the Pattani Population in the next 10 years. The sample consisted of 29 official experts from the Six Principal Ministraties. The data were collected by using Delphi technique to enquire the experts' opinions. The experts responded the questionnaire 3 rounds. At the first round, the open-ended questionnaire was used to collect the data of future trends in the quality of life of the Pattani Population in the next 10 years. At the second and the third round, the five-point-scale Likert type questionnaires were used. Both sets of questionnaires have the same statements but the third-round questionnaire included the median and interguartile range. The collected data were analysed by the median, mode and interquartile range.<br /> The results of the study were as follows:<br /> 1. The ultimate goal in developing the quality of life of the Thai population in the next 10 years should be emphasized on human resource development in order to be the base of development of all kind. The importance is given on the aim of economic development including social development, education and politics respectively.<br /> In economics, there should be an emphasis on carrers in the field of agriculture and industry, the expansion of work, urbanization, development of the water resource, developmental projects on self-dependent agriculture, promotion of saving and development of the use of technology to increase agricultural products.<br /> In society, there should be an emphasis on basic pulic health to all groups of population, the menegement of welfare facilities, the developmental projects for the basic Structure of the society and the plan for the use of natural resource and the environmental management to be suitable for the society. <br /> In education, it is expected that 80% of the Thai population must finish the lower secondary level, that the expansion of the compulsory education will be enhanced and that the number of the population will decreases 1% a yaer.<br /> In politices, there should be that decentralization of the budget and authority to the local, the encouragement of the Democracy and the improvement of the moral and ethic the population.<br /> 2. Policies in developing the quality of life of the Pattani Population in Public Health should be focused on the concept of prevention rather than treatment. The industrail development and the natural conservation around Gulf of Pattani should be encouraged. The public facilities, the development of the residence and environment should also be included. Moreover, the communication and information system, the expansion of the educational opportunity, the water resource development, the study of the soil and the fishery are also required to be developped. <br /> 3. The factors that indicate the necessary basic need of the population should be varied according to the economic situation and the society in the future. <br /> 4. To evaluate the quality of life of the population based on their basic needs, the information concerning customs, cultures and beliefs in each community should be taken into consideration so that the evaluation can become more flexible and versatile.<br /> 5. It's likely that the aim at improving the quality of life of Pattani population will be highly achieved. This is indicated in the fact that every one-year child has received vaecination, toilets and clean water are available in every household, toilets and clean water available in every household, children are provided with compulsory education and vocational training, mulnutrition no longer exists among born to five-year old children, each household receive the public information and each household belongs to group membership.<br /> 6. The poverty problem of people in Pattani is due to the lack of family planning which results in the greater number of children in each household as well as the lack of suitable land for making a living. The plan to set up special economic area, the expansion of career in industrial field, including the development of the water resource, fishery and marine cultivation should be the major policy of the Pattani Province to sole the problem on the poverty of the population for the future. <br /> 7. There is a tendency that political and governmental issues will be highly recognized and will become more individual-based and group-interest-based. In economics, a great concern will also be placed on the issue of the destruction of environment resulting from the industrial system and the shrimp farming. The role of the religious leader will be enhanced and both religious and vocational education will be available for Thai-Muslim youth.<br /> 8. The personel responsible for the improvement of the guality of life of the population, apart from those from the six major ministries, should include the officials from Secretarial Bureau, Natural Conservation Committee, Ministratry of Science and Technology and Environment, Ministry of University Affairs, Ministry of Defense and ministry of Justice.<br /> 9. The process of work in developing the quality of life of the population should be focused on the following-up plans. The Government should allow the private sectors to get more involved in development. Besides, special attention and reconsidered. Moreover, the government officers must serve as good models in development.<br /> 10. The problems in improving the quality of life of the population are resulted from the developmental projects which were planned by the government officers but not from the people's need. Besides, the overlapped work among related goverment agencies demand high budget in working out all these projects.
     ผู้ทำ/Author
Nameพรเพ็ญ สุวรรณเดชา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์ (หน้า 53-80)
บทที่ 4 ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์ (หน้า 81-105)
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก (หน้า 124-154)
ภาคผนวก (หน้า155-185)
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
     Contributor:
Name: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2536
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 5075
     Counter Mobile: 33