ชื่อเรื่อง/Title แนวโน้มการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2540-2549) / Trends in Personnel Administration of Primary Schools in Five Southern Border Provinces in the Next Decade (B.E. 2540-2549)
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ <br /><br /> 1.เพื่อศึกษาและรวบรวมความคิดเห็นของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับแนวโน้มการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในระยะ 10 ปีข้างหน้าในด้านการสรรหาข้าราชการครู และด้านการพ้นจากงานของข้าราชการครู ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และด้านการพ้นจากงานของข้าราชการครู <br /><br /> 2.เพื่อบูรณาการความคิดเห็นของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการกำหนดวิสัยทัศน์ การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า <br /><br /> 3.เพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมของการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกรอบที่กำหนด 5 ด้าน <br /><br /> ????กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ค่อกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามตามกระบวนวิจัยแบบเดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทบ์ ค่าฐานนิยมและค่าผลต่างระหว่างมัธยฐานกับฐานนิยม <br /><br /> ????ผลการวิจัยสรุป คือ <br /><br /> 1. การสรรหาข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า การสรรหาต้องมีความยุติธรรม เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน <br /><br /> 2. การพัฒนาข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา ครูต้องเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และเพิ่มพูนความรู้โดยการเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ และมีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้ดี <br /><br /> 3.การธำรงรักษาข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา ครูควรได้รับค่าตอบแทนและได้รับเงินค่าล่วงเวลาในการปฏิบัติงาน ส่วนบรรยากาศในโรงเรียนและสวัสดิการครู ผู้บริหารต้องออกเยี่ยมบำรุงขวัญครู จัดสวัสดิการให้ครูมีที่อยู่อาศัย มีการประกันชีวิต การกู้เงินดอกเบี้ยต่ำ มีเบี้ยเลี้ยง เบี้ยกันดาร และให้อายุราชการทวีคูณ รวมทั้งจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวในการดูแลความปลอดภัยของโรงเรียน <br /><br /> 4. การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา เป็นการประพฤติการทำงานของครู เพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบงาน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานของครู และในการประเมินผลให้มีหน่วยงานกลางสร้างเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งคู่มือการประเมิน และแบบประเมินที่มีมาตรฐาน <br /><br /> 5.ด้านการพ้นจากงานของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา เน้นการกระจายอำนาจการย้ายและการโอนมายังจังหวัด โดยผ่านความเห็นชอบขององค์คณะบุคคล ซึ่งต้องเป็นไปตามระเบียบ และมีความเป็นธรรมปราศจากการใช้เงิน ส่วนการเกษียณอายุมีการเชิดชูเกียรติครูที่เกษียณอายุทุกคน โดยไม่ต้องร้องขอ <br /><br /> 6.รูปแบบของการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษา การสรรหาข้าราชการครู ส่วนกลางมีบทบาท และหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย งบประมาณและกระจายอำนาจให้แก่จังหวัด จัดตั้งองค์กรพิเศษด้านการสรรหาครู การพัฒนาข้าราชการครู ให้สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูสามัญประจำจังหวัดร่วมมือกับสถาบันการผลิตครูในการพัฒนาข้าราชการครู การธำรงรักษาข้าราชการครู ให้ สปจ. อ.กค.จังหวัด ประสานงานกับ ศอ.บต. ในการให้สวัสดิการผลประโยชน์เกื้อกูล ความปลอดภัย และพิจารณาความดีความชอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ในระดับจังหวัดจัดตั้งสภาคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลหารปฏิบัติงานของครู ส่วนในระดับโรงเรียนจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของครูจากโรงเรียนไปยังจังหวัด และการพ้นจากงานของข้าราชการครูในระดับโรงเรียน ให้มีการจัดตั้งสภาคณะกรรมการไตรภาคีในการพิจารณา

This research is intended 1) to investigates selected panelists' perceptions of the personnel administration trends of primary schools in <br /><br /> <br /><br /> five southern border provinces in the next decade (B.E. 2540-2549), in five areas : teacher recuitment, teacher development, teacher <br /><br /> <br /><br /> maintenance, teacher apprasal, and teacher discharge, 2) to identify visions and progressive ideas that may enhance the personnel <br /><br /> <br /><br /> administration in primary schools in five southern border provinces in the next decade (B.E. 2540-2549),and 3) to propose an <br /><br /> <br /><br /> appropriate personnel administrative model of the primary schools in five southern border provinces in the next decade (B.E. 2540-<br /><br /> <br /><br /> 2549).<br /><br /> The study, which was conducted by the purposive sampling method, consisted of twenty panelists from five southern border provinces <br /><br /> <br /><br /> : Yala, Pattani, Songkhla, Narathiwat and Satun. A delphi technique is utilized to achieve consensus among the panelists regarding <br /><br /> <br /><br /> the probeble future of personnel administration. In collecting data following the delphi technique, the instruments designed by the <br /><br /> <br /><br /> researcher are three-round questionnaires ; the first round is an open-ended questionnaire, the seond and the third round are 5-rating <br /><br /> <br /><br /> scale questionnaires. Median, Interquaitile range, and Mode are used in data analysis.<br /><br /> The research findings are as follows :<br /><br /> 1. As perceived by the panelists, the primary school teacher recruitment in five southern border provinces in the next decade are of fair <br /><br /> <br /><br /> quality and the areas has authority to recruit regional persons to become teachers.<br /><br /> 2. As perceived by the panelists, the primary school teacher development in five southern border provinces in the next decade should <br /><br /> <br /><br /> develop teachers' skill using new technology, method of teaching, Thai language, support them for advanced studying, and research <br /><br /> <br /><br /> knowledge from various sources. Moreover, the scholl principles should be good morals.<br /><br /> 3. As perceived by the panelists, the primary school teacher maintenance in five southern border provinces in the next decade should <br /><br /> <br /><br /> pay prevailing money for teachers teaching more than 18 hours per week or working on weekend, prepare physical facilities, supplies <br /><br /> <br /><br /> and equipment, and also teacher servinces especially in sensitive areas : life insurance, housing prepare services for psychological <br /><br /> <br /><br /> counselling.<br /><br /> 5. As perceived by the panelists, the primary school teacher discharge in five southern border provinces in the next decade should be <br /><br /> <br /><br /> fair and conducted by the transfer authorities to the provinces, and retired teachers should be exalted.<br /><br /> 6. A model of the personnel administration of primary schools in five southern border provinces in the next decade, as perceived by the panelists, is as follows : teacher recruitment, the central responsible organizations should have authority in making policies, budget and decentralization. The provincial education authority shold from the special organization for provincial teacher recruitment, and school committee shold have chances to recruit teachers, teacher development, the provincial education authoririty should co-ordinate the teacher institute for developing teachers, teacher maintenance, the provincial education authority should co-odinate the administrative Center of the southern border provinces to consider services, fringe benefits, safety, and payment, especially the teachers worked in sensitive areas, teacher performance appraisal, the provincial education authority should form the tripal teacher performance appraisal committee consisting of official teachers, elected teachers, and educational experts, and also schools should form the tripal teacher performance appraisal committee consisting of principal, academic teachers and school committees, teacher discharge, schools should form the tripal teacher discharge committee consisting of principal, academic teachers and school committees.
     ผู้ทำ/Author
Nameจตุพงศ์ แก้วใส
Organization บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบาญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก (หน้า 108-155)
ภาคผนวก (หน้า 156-199)
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2540
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3212
     Counter Mobile: 44