ชื่อเรื่อง/Title การวิจัยประเมินผลโครงการทักษิณพัฒนากับการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทราบผลปฎิบัติงานของโครงการทักษิณพัฒนาว่า สามารถส่งเสริมและก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และสร้างความไว้วางใจระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎรไทยมุสลิมได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด (2) เพื่อต้องการทราบแนวทางปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของโครงการ หรือแนวทางใหม่ของโครงการทักษิณพัฒนาในการที่จะเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและสร้างความไว้วางใจต่อกัน (3) เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปฎิบัติพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามรูปแบบโครงการทักษิณพัฒนา และ (4) เพื่อต้องการทราบประเด็นปัญหาต่างๆสำหรับเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไปในอนาคต<br /> <dd>คณะผู้วิจัยได้นำแผนปฎิบัติงานของโครงการทักษิณพัฒนาปี พ.ศ.2540 คือ 1) แผนงานสังคมจิตวิทยา 2) แผนงานช่วยเหลือประชาชน 3) แผนงานเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิตในชนบท 4) แผนงานพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร 5) แผนงานประชาสัมพันธ์ แผนงานทั้งหมดดังกล่าวซึ่งเรียกว่า "องค์ประกอบหลัก" มาวิเคราะห์หาตัวแปรต้นได้จำนวน 5 ตัวแปร ตามลำดับแผนงาน คือ 1) การให้ความรู้ 2) การให้ความช่วยเหลือ 3) การสร้างความเจริญ 4) การให้ความมั่นใจ และ 5) การสร้างทัศนคติที่ดีมาเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมความเข้าใจอันดีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะเดียวกันได้นำบริบทอื่นๆ เกี่ยวกับการพัฒนา ซึ่งเรียกว่า "องค์ประกอบรอง" มาวิเคราะห์หาตัวแปรต้นได้จำนวน10 ตัว คือการส่งเสริมวัฒนธรรม ความยุติธรรม ความคิดที่ต่างกัน ความต้องการในการยอมรับ อุดมการณ์ในการพัฒนา ความมีอิสระเสรี ความอยู่ดีมีสุข สื่อในการติดต่อ การให้บริการการศึกาา และความเข้าใจสังคมวัฒนธรรม มาเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมความเข้าใจอันดีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาตใต้เช่นเดียวกัน<br /> <dd>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ปฎิบัติการของหน่วยทักษิณพัฒนาทั้ง 10 หน่วย ในช่วงปี พ.ศ.2540 จำนวน 353 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม <br /> <dd>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /> 1. ปัจจัยเรื่องการให้ความรู้ การให้ความช่วยเหลือ และการสร้างความเจริญ มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมความเข้าใจอันดีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้<br /> 2. ปัจจัยเกี่ยวกับความยุติธรรม ความต้องการในการยอมรับ ความอยู่ดีมีสุข และสื่อในการติดต่อมีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมความเข้าใจอันดีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ <br /> <dd>กล่าวโดยสรุป ตามผลเชิงประจักษ์ที่ได้กล่าวมาแล้ว ผลปฎิบัติงานของโครงการทักษิณพัฒนาปี พ.ศ.2540 ได้ส่งเสริมความเข้าใจอันดีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ในระดับดี ซึ่งเป็นการยืนยันความเหมาะสมของโครงการที่สร้างความอบอุ่นและความมั่นใจให้แก่ชาวไทยมุสลิมและสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น แต่ก็ควรปรับปรุงในบางแผนงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ควรส่งเสริมในบางประเด็นตามข้อเสนอแนะดังนี้ ให้โครงการทักษิณพัฒนามีเวลาดำเนินการมากกว่านี้ ให้มีโครงการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรส่งเสริมอาชีพหลายๆอย่าง และพัฒนาสาธารณประโยชน์ให้มากขึ้น

This research aimed (1) to examine the operation outcome of the Southern Development Project (SDP) whether and to what the SDP could promote a better understanding among Thai Muslim residents; (2) to seek some more appropriate strategies for improvement of the SDP mission as to help promote a better understanding as well as reduce mistrust and suspicions of Thai Muslim residents; (3) to determine factors that had, or have been hindering, the development endeavors of the SDP model from working in the targeted strategic area; and (4) to identify issues and problems related to the SDP operetions for further research. <br /> Having analyzed all five areas of the SDP's principal work plans: (1) Social-Psychological Plan, (2) Assistance to People Plan, (3) Plan for Accelerating Quality of Life in the Rural Areas, (4) Plan for Protection of People and Resources, and (5) Pulic Relations Plan, the research ream came up with 5 independent variables as primary working components : (1) delivering knowledge, (2) giving assistance (3) establishing growth and modernization, (4) seecuring confidence, and (5) developing positive attitudes, related to the promotion of a better understanding of Thai Muslim residents. In addition, other independent variable contexts related to the development issues as secondary working components were also analyzed to be constituted into 10 independent variables: cultural promotion, justice, varying mentalities, recognition needs, ideology in development, freedom and independence, state of well-being, media in communication, educational services and social cultural understandings, related to the promotion of a better understanding among Thai Muslim residents in Southern border provinces.<br /> Through a purposive sampling method, 353 samples were drawn from Thai Muslim residents under the SDP operation plan during the 1997 fiscal year. The instrument for collecting data consisted of 3-part questionnaire : part one dealt with interviewee's general background information; part two was rating scale questionnaire specific to the outcomes of the SDP operations and other existing contexts related to the promotion of better understandings among Thai Muslims and their socio-psychological states of trust, unity, cohesion and suspicion; part three was open-ended questions regarding the SDP operations and affairs. Data were analyzed by SPSS/PC+ computer programme using frequency, percentage, correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis.<br /> The findings were summarized as follows:<br /> 1. Factors of passing on knowledge, giving help and assistance and building up growth and modernization (being stnthesized from Plans of Social-Psychological Strategies, Assistance to People and Accolerating Quality of Life in the Rural Area) were sound related to the promotion of a better understanding among Thai Muslim residents.<br /> 2. Factors of justice, recoginition needs, ststed of well-being, and media in communication were found related to the promotion of better uderstanding among Thai Muslim residents.<br /> It can be said in a nutshell, according to the empirical evidence aforementioned, that the outcomes of the Southern Development Project have proved its contributions at a fair high level to the to the promotion of a better understanding among Thai Muslim residents in Southern border provinces. This has been proved to confirm the effectiveness and suitability of the Southern Development project as a whole. However, some areas of the strategie plans and related issues need some drastic improvement. For more effective and beneficial outcomes of the SDP, it is highly recommended that in the coming year and onwards suggestions for improvement of the SDP operations to be carried out include the following : the time legth of the SDP mission be extended, more development plans be continuouslt increasing in the promotion of assorted vocations as wekk the development of public utilities.
     ผู้ทำ/Author
Nameสุทธิพงศ์ พรหมไพจิตร
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameเธียรนันท์ วาณิชย์ศุภวงศ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameปุณวัฒน์ อุบล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
คำนำ
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 16-45)
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 46-77)
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 78-84)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2540
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2715
     Counter Mobile: 30