ชื่อเรื่อง/Title เจตคติของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ต่อโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาใน 3 จังหวัดภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีต่อโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา และเพื่อสำรวจปัญหาที่เกิดจากโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาในด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส <br /> ????กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ที่ทำการสอนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 107 คน ผู้ปกครอง 105 คน และนักเรียน 293 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่และร้อยละ <br /> ????ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ <br /> 1. เจตคติของครู ผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียนที่เข้าเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา <br /> ????1.1 เหตุผลที่นักเรียนเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเดิม คือโรงเรียนอยู่ใกล้บ้านและเสียค่าใช้จ่ายน้อย <br /> ????1.2 เหตุผลที่นักเรียนไม่เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเดิม คือไปเรียนโรงเรียนสอนศาสนาอิเสลามและไปเรียนในโรงเรียนมัธยมของกรมสามัญศึกษา หรือโรงเรียนอื่นที่ดีกว่า <br /> ????1.3 ฐานะของนักเรียนที่เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนส่วนใหญ่ยากจน <br /> ????1.4 นักเรียนส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ในการเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยให้เหตุว่าทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น <br /> 2. เจตคติของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา <br /> ????2.1 ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความเห็นสอดคล้องกันคิดเป็นร้อยละในอัตราที่สูงในเรื่องการจัดหลักสูตรรายวิชาต่างๆ กิจกรรมการเรียนการสอน และการใช้เวลาเรียน 5 วันต่อสัปดาห์ ระบบ 2 ภาคเรียนว่าจัดได้เหมาะสม <br /> ????2.2 ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องระเบียบวินัย ความเพียงพอของอาคารสถานที่ ความเหมาะสมในการจัดอาคารสถานที่ ความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ และสื่อการเรียนการสอน ความเพียงพอของจำนวนครู และความรู้ความสามารถของครู <br /> ????2.3 ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน โดยครูเห็นว่าไม่เพียงพอ ผู้ปกครองไม่แน่ใจ ส่วนนักเรียนเห็นว่าพอเพียงแล้ว <br /> ????2.4 ในภาพรวมครู ผู้ปกครอง และนักเรียนมีควมเห็นสอดคล้องกันในเรื่องการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น <br /> 3. เจตคติของครู ผู้ปกครอง นักเรียนต่อผลผลิตในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา <br /> ????3.1 ครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันโดยคิดเป็นร้อยละในอัตราที่สูง เกี่ยวกับนักเรียนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดีกว่านักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนในเรื่องคุณลักษณะของนักเรียนจะดีขึ้น ครูเห็นด้วยเพียงร้อยละ 49.5 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 41.1 สำหรับผู้ปกครองเห็นด้วยร้อยละ 80.0 <br /> ????3.2 นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าตัวนักเรียนเองเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว พ่อแม่จะภูมิใจ หางานง่ายกว่าจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้มากขึ้น จะเรียนต่อให้สูงขึ้นและในภาพรวมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดีกว่าเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 <br /> 4. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนเสนอปัญหาในการจัดการเรียนการสอนมากน้อยมาก จึงไม่สามารถสรุปผลการวิจัยได้

This research is intended to study the attitudes of the teachers, parents, and student on the Educational Opportunity Expansion Project, and to investigate the problems arising from the Projecect which are related to instructional management in the primary schools under the Primary Education Offices of Pattani, Yala, and Narathiwat. <br /> The samples for the study are 107 teachers teaching the lower secondary level of the Educational Opportunity Expansion Schools in Pattani, Yala, and Narathiwat, as well as 105 parents and 293 students. The instruments for data are three sets of questionnaire for teachers, parents, and students. Each set consists of checklists about the respondents' general information and a rating scale indicating three levels of attitudes; agree, uncurrain, disagree. The data analysis is based on descriptive statistics shown by numbers and percentages.<br /> The research finding are as follows: <br /> 1. The teachers' and parents' attitudes toward students attending the schools under the project. <br /> 1.1 The seasons that the students continue to study in Matayomsuksa 1 at the same school are that the school is in the neighborhood and the cost is low.<br /> 1.2 The seasons that the students leave the school for Matayousuksa 1 are that they want to attend the Islamic private schools and the schools under the Department of General Education or better schools.<br /> 1.3 Most students who continue to study further in the same school are poor. <br /> 1.4 Most students can perceive the advantages of studying in Matayomsuksa 1 that it improves the quality of life.<br /> 2. The attitudes of teachers, parents, and students toward instructional management in the schools under the Project.<br /> 2.1 The large percentages of teachers, parents, and students are in agreement about the appropriateness of the curriculum designed for various subjects, instructional activities, allotment of five school days per week, and two-semester system.<br /> 2.2 The teachers, parents, and students are different in their opinions about student discipline, adequacy of physical facilities and management, adequacy of materials, equipment and instructional media, and the appropriate number and competence of teachers.<br /> 2.3 Their opinions about materials, equipment and instructional media are different. The teachers perceive that they are inadequate, while the parents are uncertain and the students view that they are adequate.<br /> 2.4 Overall, 53%, 59%, and 52% of the teachers, parents, and students sequentially are in agreement that the instruction has attained the objectives in the curriculum of the lower secondary level.<br /> 3. The attitudes of teachers, parents, and students toward the products (students) of the Project.<br /> 3.1 The latge percentages (95.3% and 81.9%) of the techers and parents are in agreemaent that the students who finish Matayomsuksa 3 are better those who finish Prathomsuksa 6. As for the students' qualifications, 49.5% of the teachers agree they are better and 41.1% of them are certain, while 80.0% of the parents also agree they are better.<br /> 3.2 Most students think that when they finish Matayomsuksa 3, their parents will be proud of them. They can get a job easier than when they finish Prathomsuksa 6 and can be more competent. They will study futher in the higher level. Overall, graduating Matayomsuksa 3 level is better than graduating Prathomsuksa 6 level.<br /> 4. Problems in instructional management in the scholls under the Projects. The teachers, parents, and students rarely state the problems for instructional management; therefore, it is impossible to determine any in the findings.
     ผู้ทำ/Author
Nameสุวิทย์ บุญช่วย
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
Nameผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
Nameอำภา บุญช่วย
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบาญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
     Contributor:
Name: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2541
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 8980
     Counter Mobile: 40