|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | การใช้สถิติชี้ประเด็นหญิงชายในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) / The Use of Gender Statistics for Local Development Planning by Subdistrict Administration Organization | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | <dd>วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเด็นปัญหาหญิงชายในระดับตำบล 2) ข้อมูลระดับย่อยที่มีอยู่แล้วและที่ควรมีในฐานข้อมูลสำหรับการวางแผนของ อบต. 3) สถานภาพการใช้ข้อมูลสถิติชี้ประเด็นหญิงชาย ของ อบต. <br />
<dd>ผลการศึกษาพบว่า <br />
1) ประเด็นปัญหาหญิงชายในระดับตำบล มีปัญหา 9 ประเด็น คือ ภาระที่หญิงหรือชายต้องเลี้ยงดูลูกตามลำพัง การไม่นำความรู้จากการอบรมมาใช้ประโยชน์ การที่หญิงต้องทำงานทั้งภายในและภายนอกบ้าน ทำให้ขาดโอกาสพัฒนาตนเอง ภาวะที่สามีจำยอมอนุญาตให้ภรรยาไปทำงานนอกบ้านเพราะภาวะเศรษฐกิจ การที่ทั้งพ่อและแม่ต้องทำงานนอกบ้าน ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงดูลูก การที่ลูกจ้างในธุรกิจขนาดเล็กไม่ได้รับการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ ปัญหาการว่างงานของคนในชุมชน การไม่ยอมรับความเป็นผู้นำของหญิง และการที่หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย<br />
2) ข้อมูลระดับหมู่บ้าน จปฐ. กชช.2 ค. และการสำรวจข้อมูลระดับหมู่บ้าน จะคลอบคลุมทุกด้าน แต่นำมาชี้ประเด็นหญิงชายไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลจำแนกตามเพศ ส่วนข้อมูลจากแหล่งอื่นที่จัดเก็บอยู่แล้วตามปกติ นำมาจำแนกเพศและชี้ให้เห็นประเด็นความแตกต่างของหญิงชายได้ แต่ไม่สามารถรายงานผลในระดับหมู่บ้านได้ เพราะใช้ขนาดตัวอย่างไม่มากพอ<br />
3) มีการใช้ข้อมูลสถิติชี้ประเด็นหญิงชายในการวางแผนพัฒนาของ อบต. น้อยมากเพราะไม่มีข้อมูลจำแนกเพศ รวมทั้งผู้ใช้และผู้ผลิตข้อมูลขาดความตระหนักถึงบทบาทหญิงชาย The objectives were to stady 1) gender issues at the subdistrict level, 2) existing data and those which should be included in the database for planning in Subdistrict Administration Organization (SAO), 3) the use of statiscal data in reflecting gender issues by the SAO. It was found that 1) nine gender issues at the subdistrict level were : burden of a single parent raising his/her child/children, utilizing knowledge gained from the trainning ; a situation where women had to do both house chores and a job outside their home to earn income which deprived them of a chance for self-development; the situation where husbands had to allow their wives to go out to work because of the economic condition; a situation where both parents had to go out to work which caused problems in bringing up their children; the situation where employees in small businesses did not receive labour and welfare protection; the problem of unemployment in the community; the situation where female took part in politics. 2) the data at the village level from the household Basic Minimum Needs data and KCC.2 Kh (Basic data at village level), and those obtained from the surveys covered all aspect but couid not be used to identify gender issues because they were not segregated by sex while the existing data collected regularly from other sources were classified by sex and could be used to reflect gender issues but could not be cross tabulated at the village level due to inadequate sample size, and 3) gender statistic were rarely used by SAO planners because of the lack of gender statistic and gender awareness. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content | ||||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --นโยบายและการพัฒนา ด้านการเมืองการปกครอง --องค์กรส่วนท้องถิ่น |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2542 | |||||||||||||||||||||
Type: | งานวิจัย/Research Report | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 2678 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 33 | |||||||||||||||||||||