ชื่อเรื่อง/Title การบริการหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้านของวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Administration of Community-Technology Curriculum of Technical Colleges in the Southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้านของวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดชายแดนภาคใต้ <br /> ????กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและอาจารย์วิทยาลัยเทคนิค 5 แห่ง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 103 คน ได้มาจากการสุ่มแบบระดับชั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ และเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการของทูกี <br /> ????ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ <br /> 1.ระดับปฏิบัติการบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้านของวิทยาลัยเทคนิค ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การอำนวยการ การประสานงาน การงบประมาณ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการจัดบุคลากร และด้านการรายงาน อยู่ในระดับน้อย <br /> 2.ระดับปฏิบัติการบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้าน ระหว่างวิทยาลัยเทคนิคทั้ง 5 แห่ง ในด้านการวางแผน การจัดบุคลากร การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านการงบประมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการจัดองค์การไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 <br /> 3. ผู้บริหารและอาจารย์วิทยาลัยเทคนิค เห็นว่าระดับปฏิบัติการบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้าน ด้านการวางแผน การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน การงบประมาณ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านการจัดองค์การ ด้านการจัดบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 <br /> 4.ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิค ที่มีประสบการณ์ในการบริหารต่างกัน เห็นว่าระดับการปฏิบัติการบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้านในแต่ละด้านและโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 <br /> 5.อาจารย์วิทยาลัยเทคนิค ที่มีประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน เห็นว่าระดับการปฏิบัติการบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้าน ในแต่ละด้านและโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัญหาที่สำคัญ คือ วัสดุครุภัณฑ์ที่มีไม่เพียงพอ ปัญหาด้านการจัดบุคลากร และปัญหาด้านการรายงานที่ควรจัดให้มีความเหมาะสมมากขึ้น

This research was intended to investigate the administration of community-technology curriculum of technical colleges in the southern border provinces. The subjects consisting of 103 administrators and instructors from 5 technical colleges in the southern border provinces, selected through proportional stratified random sampling method, were asked to answer the questionnaire developed by the researcher. The questionnaire was divided into 3 parts : part one was a checklist on the respondents' background information; part two comprised a rating-scale questionnaire on 7 aspects of the administration of community-technology curriculum, namely : planning, organizing, staffing, directing, coordinating, reporting and budgeting; part three asked an open-ende question on administrative problems of community-technology curriculum including suggestions for improvement as well as other related suggestions. <br /> Data were analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test and multiple comparison test of Tukey's method.<br /> Research result indicated that : <br /> 1. The administration of community-technology curriculum on planning, organizing, directing, coordinating, budgeting and overall aspects of technical colleges in the southern border provinces were performed at a moderate level of appropriateness, while staffing and reporting at a rather low level.<br /> 2. The administration of community-technology curriculum on planning, staffing, directing, coordinating, reporting and overall aspects between five different technical colleges situated in the southern border provinces was significantly different at .01 level and on budgeting at .05 level, while the organizing aspect showed no difference. That is, the administration of community technology curriculum on overall aspects in Narathiwat Technical College, Yala Technical College, and Satun Technical College, was more appropriate than that in Pattani Technical College.<br /> 3. The views of technical College adminitrators and that of technical College instructors in the administration of community-technology curriculum on planning, directing, coordinating, reporting, budgeting and overall aspects in the southern border provinces were significantly different at .01 level, while on organizing and staffing at .05 level. That is, the administrators' views showed a higher level of appropriateness in the administration of community-technology curriculum than that of the instructors.<br /> 4. There was no significant difference in any aspects and overall performande of the administration of community-technology curriculum as viewed by administrators with different administrative experience.<br /> 5. There was no significant difference in any aspects and overall performande of the administration of community-technology curriculum as viewed by instructors with differentinstructional experience.<br /> The results also identicated that among many administrative problems of community-technology curriculum were a lack of materials and equipment, which in turn led to the ineffective training of students. Suggestions for technical calleges in solving such a problem were the following : there should be more importantly a provision of spesific budgets in purchasing acquisition of more materials, supplies and equipment. Surveys of information and needs assessment should be carried out before the budget allocation taking place. Furthurmore, an urgent need for improvement in staffing and reporting shoula be implemented.
     ผู้ทำ/Author
Nameนวลศรี อุทัยเชฏฐ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 (หน้า13-40)
บทที่ 2 (หน้า41-64)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 บทสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
     Contributor:
Name: ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2533
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2755
     Counter Mobile: 29