|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
รายงานการวิจัยเรื่อง ระบบส่งเสริมการเกษตร จังหวัดยะลา |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยเรื่อง ระบบส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิต ชุมชนเข้มแข็ง และมีทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่ดี การวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปฎิบัติการ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ข้าราชการและลูกจ้าง ในสำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ การรายงานผลใช้วิธีร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล และเรียบเรียงเป็นคำบรรยาย การดำเนินการวิจัย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2542-มีนาคม 2545
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบระบบส่งเสริมการเกษตรประกอบด้วย การวางแผน การปฎิบัติงานในพื้นที่ การควบคุมงา และการประเมินระบบการทำงา สรุปได้ดังนี้
1. การวางแผน สำนักงานเกษตรจังหวัดจะต้องนำนโยบายการพัฒนาการเกษตรของรัฐบาล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนนโยบายการพัมนาการเกษตรของจังหวัด มากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายการทำงานโดยยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ การจัดตั้งและพัฒนาองค์กรเกษตรกร สำหรับการนำยุทธศาสตร์สู่การปฎิบัติด้วยวิธีให้เจ้าพนักงานส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล จัดทำแผนปฎิบัติงานส่งเสริมการเกษตรประจำปีให้สอดคล้องกับแผนปฎิบัติงานประจำปีขององค์กรเกษตรภายในตำบลที่รับผิดชอบ รวมทั้งการวางเป้าหมายการจัดตั้งและพัฒนาองค์กรทั้งระดับอำเภอและจังหวัด
2. การปฎิบัติงานในพื้นที่ เจ้าพนักงานส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลจะต้องถอดแผนปฎิบัติงานส่งเสริมการเกษตรประจำปีเป็นแผนปฎิบัติงานส่งเสริมการเกษตรประจำเดือน สำหรับวิธีการปฎิบัติงานกับองค์กรเกษตรกรที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาชุมชน การสร้างจิตสำนึกแกนนำ การกระตุ้นแกนนำให้รวบรวมสมาชิก การส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมทรัพย์หรือลงหุ้น การส่งเสริมให้กลุ่มจัดทำกิจกรรมรวมกันซื้อ-ขาย หรือแปรรูป และการประเมินผลกิจกรรมเพื่อจัดทำแผนปฎิบัติงานปีต่อไป ส่วนการสร้างองค์กรเครื่องข่ายชุมชนระดับตำบล และคณะอนุกรรมการบริหารศูนย์บริการ ได้จากการเลือกตั้งตัวแทนกลุ่มต่างๆ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม ตัวแทนหมู่บ้าน หลังจากนั้นสนับสนุนให้คณะกรรมการองค์กรเครือข่ายมีกิจกรรมสนับสนุน กลุ่มเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นการปฎิบัติงานในพื้นที่ยังรวมถึงการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ข้าราชการ การประชาสัมพันธ์ ตลอดจนจัดทำเกณฑ์การวัดผลให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์งานส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งวิธีการนิเทศ ติดตามงาน
3. การควบคุมงาน ได้แก่ การวัดผลปฎิบัติงาน โดยวัดผลผู้ปฎิบัติงานในพื้นที่ตามเกณฑ์การวัดผล ร้อยละ 70 และผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น (เกษตรอำเภอ) ให้คะแนนคุณลักษณะของข้าราชการร้อยละ 30 สำหรับผู้ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น แต่ต้องมีคะแนนจากการปฎิบัติงาน และคุณลักษณะของข้าราชการรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
4. การประเมินระบบการทำงาน ได้แก่ การเปรียบเทียบผลสำเร็จของงานกับเป้าหมาย ซึ่งแม้ยังไม่ชัดเจนในเชิงปริมาณและคุณภาพมาก แต่มีกรณีตัวอย่างที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีแก่เกษตรกรเป้าหมายหลายตัวอย่างด้วยกัน
นอกจากนั้นยังมีการประเมินระบบการทำงานด้วยการออกแบบสอบถาม และระดมสมอง นำไปสู่การปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรเป็นประจำทุกปี เช่น ปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลงานในพื้นที่ และวิธีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นต้น
ข้อเสนอแนะในการวิจัยสำนักงานเกษตรจังหวัด ควรจัดตั้งคณะกรรมการปรับปรุงระบบงานส่งเสริมการเกษตร ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระดับต่างๆ เพื่อนพิจารณาปรับปรุงระบบงานเป็นประจำทุกปี โดยมีการนำผลการปรับปรุงชี้แจงเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกคน ก่อนประกาศใช้เป็นระบบการทำงานของปีนั้นๆ
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | วสันต์ กู้เกียรติกูล | Organization | สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ | Address | : | สงขลา (Songkhla) |
|
|
Year: |
2545 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
8193 |
|
Counter Mobile: |
30 |
|