ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อบัตรประกันสุขภาพของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ / Factors Affecting Consumer Health Card Purchasing of People in the Three Southem Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อหรือไม่ซื้อบัตรประกันสุขภาพของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยจำแนกปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ อายุ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และระดับการศึกษา ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับบัตรประกันสุขภาพ ความเชื่อด้านสุขภาพ และเจตคติของการซื้อบัตรประกันสุขภาพ และปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ความพึงพอใจในราคาของบัตรประกันสุขภาพ ลักษณะการให้บริการ ระยะทางจากบ้านถึงสถานบริการ และประสบการณืการใช้บัตรประกันสุขภาพ<br /><br /> ????กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสที่ไม่อยู่ในความครอบคลุมของการประกันสุขภาพอื่นๆ นอกเหนือจากบัตรประกันสุขภาพจำนวน 400 คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำแนกเป็นซื้อบัตร 161 คน ไม่ซื้อบัตร 239 คน เครื่องมือเป็นแบบทดสอบความรู้ แบบวัดด้านความเชื่อด้านสุขภาพ แบบวัดเจตคติต่อการซื้อบัตรประกันสุขภาพ และแบบวัดลักษณะการให้บริการ สถิติที่ใชเ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์จำแนกประเภท แบบวิธีตรง<br /><br /> ????ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /><br /> 1. ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัจจัยโดยรวมทั้ง 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ รายได้ต่ำ จำนวนสมาชิกในครอบครัวมาก ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับบัตรประกันสุขภาพดี ความเชื่อด้านสุขภาพมาก เจตคติต่อการซื้อบัตรประกันสุขภาพดี และปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ได้รับข้อมูลข่าวสาร ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อราคาบัตรประกันสุขภาพ และมีประสบการณ์ในการใช้บัตรประกันสุขภาพสูง เป็นปัจจัยที่มีผลต่อประชาชนกลุ่มที่มีการซื้อบัตรประกันสุขภาพ<br /><br /> 2. ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ รยได้สูง จำนวนสมาชิกในครอบครัวมาก เป็นปัจจัยที่มีผลต่อประชาชนกลุ่มที่มีการซื้อบัตรประกันสุขภาพ <br /><br /> 3. ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัจจัยด้านจิตวิทยาสังคม ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับบัตรประกันสุขภาพดี เจตคติต่อการซื่อบัตรประกันสุขภาพดี และความเชื่อด้านสุขภาพน้อยเป็นปัจจัยที่มีผลต่อประชาชนกลุ่มที่มีการซื้อบัตรประกันสุขภาพ <br /><br /> 4. ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัจจัยด้านสนับสนุน ได้แก่ รับข้อมูลข่าวสาร ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจในราคาบัตร และมีประสบการณ์ในการใช้บัตรประกันสุขภาพสูง เป็นปัจจัยที่มีผลต่อประชาชนกลุ่มที่มีการซื้อบัตรประกันสุขภาพ <br /><br /> จากผลการวิจัยดังกล่าว สำนักงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับควรจัดระบบการให้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องทั้งก่อนเเละหลังการซื้อบัตรประกันสุขภาพด้วยข้อมูลข่าวสารที่๔กต้อง ทันสมัย โดยการประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆอีกทั้งปรับปรุงสถานีอนามัยให้มีความสามารถในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพเเละเปิดโอกาสให้มีการรวมกลุ่มเพื่อซื้อบัตรประกันสุขภาพได้เเละจัดให้มีการตรวจเช็คสุขภาพประจำปีเเก่ผู้ซื้อเเละไม่ได้ใช้บัตรประกันสุขภาพ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักว่าการซื้อบัตรประกันสุขภาพเป็นการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ให้ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการ อันจะส่งผลให้ประชาชนซื้อบัตรอีกต่อไป

The purpose of this research was to study the factors which affect purchasing and not purchasing the helth card of people in the three southern border provinces. The factors could be classified as follows the population factors such as ages, income, members in the family, and level of education, the social psychological factors such as knowledge of the health card, health belife, and attitude toward the purchasing of health card, and the supporting factors such as obtaining the information, the encouragement from the relative, the satisfaction of the payment for the health card, type of services given, the distance from the residence to the service center, and the experience of using the health card. <br /> The example group wich contributed to this research was 400 people in the three southern border provinces such as Yala, Pattani, and Narathiwas which were not under order health incurance except the health card. This example group could be obtained by multi-stage sampling which classifiled that 161 people were the group of purchasing the health card and 239 people were the group of not purchasing the health card.<br /> The instrument that used to gather the information was the testing knowledge, the measurement health belife, the measurement attitude toward the purchasing of the health card, and the measurement type of service given. The statistical analysis was performed by percentages, arithmetic means, standard deviations, and discriminant analysis by direct method. <br /> The results of the research were as follows : <br /> 1. There were 3 factors which affected people in the three southern border provinces. These were the population factors such as low income, large members in the family. The social psychological factors such as the good knowledge of the health card, the great health belife, the good attitude toward purchasing the health card. Yhe supporting factors such as obtaining the information, encouragement from relative, satisfaction of the payment for the health card, and experience of using the health card. All the mentioned factors had effect toward the group of people which purchased the health card. The discriminant equation could be estiimated to 94.00 percent definitely.<br /> 2. People in the three southern border provinces were affected by population factors such as high income, large members in the family. These factors had the effect toward the group of people which purchased the health card. The discriminat equation could be estimated to 76.00 percent definitely.<br /> 3. People in the three southern bborder provinces were affected by socail psychological factors such as the good knowledge of the health card, These factors had the effect purchasing the health card, and little health belife. These factors had the effect toward the group of people which purchased the health card. The discriminant equation could be estimated to 68.75 percent definitely.<br /> 4. People in the three southern bborder provinces were affected by supporting factors such as obtaining the information, encouragement from relative, satisfaction of the payment for the health card, and the high experience of using the healthcard. These factors had the effect toward the group of people which purchased the health card. The discriminant equation could be estimated to 93.75 definitely.<br /> From the result of this research, Office of health Insurance, Ministry of Public Health, as well every level of health workers should management the system of giving the correct and up to date information continuously before and after purchasing the health card, co-ordinate with departments, develop the Public Health Center to have the effectiveness of health services, give opportunity for grouping to purchase the health card, and provide the annual health check up for people who purchased but did not use the health card. At the same time built up thr consciuos of people to realise that the purchasing workers should make people to get the most satisfaction and good experience of service ; in order that people will purchase the health card the future.
     ผู้ทำ/Author
Nameน้ำฝน นวลสกุล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ (หน้า 1-20)
บทที่ 1 บทนำ (หน้า 21-46)
บทที่ 2 วิธีการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 การอภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
     Contributor:
Name: ปราณี ทองคำ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2542
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3027
     Counter Mobile: 26