ชื่อเรื่อง/Title ลักษณะอนุภาคตะกอนชายฝั่ง อ่าวไทย / Coastal Sediment Characteristics of Pattani Bay
     บทคัดย่อ/Abstract ????การศึกษาครั้งนี้เก็บตัวอย่างตะกอนผิวท้องน้ำ 10 ครั้ง รวม 130 ตำแหน่ง ในเดือนมีนาคมถึงตุลาคม 2538 และปลายสิงหาคม -ต้นกันยายน 25839 โดยกำหนดจุดเก็บตัวอย่างด้วยเครื่องมือหาตำแหน่งระบบดาวเทียม บริเวณอ่าวปัตตานีและชายฝั่งบริเวณบ้านรูสะมิแลถึงหาดแฆแฆ ศึกษาสัดส่วนโดยน้ำหนักขององค์ประกอบตะกอนคือ อนุภาคดินเหนียวและซิลท์ กับอนุภาคทราย ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบของตะกอนท้องน้ำมีความแตกต่างกันในหลายบริเวณ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย อนุภาคดินเหนียวและซิลท์ มีค่าเฉลี่ยทุกตำเเหน่งเท่ากับร้อยละ 60.36+-40.32 ส่วนอนุภาคทรายเฉลี่ยร้อยละ 39.64+-40.32<br /><br /> เมื่อจัดกลุ่มตำเเหน่งตะกอนผิวท้องน้ำ ตามสัดส่วนองค์ประกอบอนุภาคที่ใกล้เคียงกันเเละ แยู่ในบริเวณข้างเคียงกัน ได้เป็น 6 ชนิด พบว่า บริเวณปากเเม่น้ำปัตตานี (8 ตำเเหน่ง) ปากเเม่น้ำยะหริ่ง (12 ตำเเหน่ง) เเละอ่าวปัตตานี (36 ตำเเหน่ง) ตะกอนท้องมีลักษณะเป็นอนุภาคดินเหนียวเเละซิลท์ มีสัดส่วนขององค์ประกอบใกล้เคียง เฉลี่ยร้อยละ 99.05+-0.63ม 95.04+-5.10 เเละ 94.87+-6.25 ตามลำดับ บริเวณปากเเม่น้ำปัตตานี พบอนุภาคทรายน้อยที่สุด ส่วนบริเวณปลายเเหลมตาชี (11 ตำเเหน่ง) ที่มีการสะสมของตะกอนทราย พบสัดส่วนอนุภาคทรายเฉลี่ยร้อยละ 86.08+-8.32 ในบริเวณชายหาดที่เก็บตะกอนระดับน้ำลึกปริมาณหนึ่งเมตร ตั้งเเต่บริเวณเเหลมตาชีถึงหาดเเฆเเฆ (12 ตำเเหน่ง ) พบเเต่อนุภาคทรายเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้พบส่วนส่วนอนุภาคของตะกอนท้องน้ำในทะเลด้านอ่าวไทย บริเวณกับเเนวชายฝั่งระหว่างเเหลมตาชีหาดเเฆเเฆ (29 ตำเเหน่ง) มีความเเตกต่างกันมากในเเต่ละชนิด โดยเฉลี่ยเป็นตะกอนดินเหนียวเเละซิลท์ปนทรายพบสัดส่วนทรายเฉลี่ยร้อยละ 49.08+-37.79<br /><br /> การศึกษาขนาดของอนุภาคทราย เเบ่งเป็น 10 ขนาด ระหว่าง 75-5000 ไมโครเมตร พบว่าขนาดของอนุภาคบริเวณอ่าวปัตตานีส่วนใหญ่มีขนาเล็ก ประกอบด้วยทรายหลายขนาด บริเวณปากเเม่น้ำ พบทรายละเอียดมีขนาดใกล้เคียงกันเเละเป็นขนาดเล็กที่สุด บริเวณปากเเม่น้ำยะหริ่ง ปากเเม่น้ำปัตตานี อ่าวปัตตานี เเละเเนวชายฝั่งด้านอ่าวไทย พบทรายขนาดเล็ก คือ ช่วงขนาดต่ำกว่า 150 ไมโครเมตร เป็นส่วนใหญ่ (มากกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำหนักทรายทั้งหมด) เเต่บริเวณชายหาดที่มีคลื่นกระทบฝั่งพบทรายขนาดใหญ่กว่า เเละพบทรายขนาดใหญ่ที่สุดบริเวณเเหลมตาชี ขนาดอนุภาคทรายเฉลี่ย [ Mean grain size,(phi unit)] เรียงลำดับจากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่เป็นดังนี้ บริเวณปากเเม่น้ำปัตตานี เเละเเม่น้ำยะหริ่ง<อ่าวปัตตานี<เเนวชายฝั่ง<ชายหาด เเละ<เเหลมตาชี มีค่า phi units เท่ากับ 3.24ม, 3.24, 3.14, 2.97, 2.24 เเละ 1.48 phi unit ตามลำดับ การคำนวณขนาดอนุภาคทรายมีเดียนหรือขนาดที่มีน้ำหนักทรายที่เปอร์เซนไทล์ที่ 50 [ Median particle size (phi unit)] ได้ผลสอดคล้องกับ phi unit บริเวณปากเเม่น้ำปัตตานีเเละเเม่น้ำยะหริ่งมี Md (phi unit) เท่ากัน คือ 3.33 เเละเป็นทรายขนาดเล็กกว่าบริเวณอื่นๆ บริเวณอ่าวปัตตานีเเละเเนวชายฝั่ง มีค่า Md = 3.28 เเละ 3.21 ส่วนบริเวณชายหาด พบทรายขนาดใหญ่กว่ามี่ค่า Md = 2.63 เเละพบทรายขนาดใหญ่ที่สุดบริเวณเเหลมตาชี คือ Md = 1.17 phi unit <br /><br /> เมื่อคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ [phi quatile deviation, QD(phi unit)] หรือ ประสิทธิภาพของการคัดขนาดอนุภาด (sorting efficiency) พบว่าบริเวณปากเเม่น้ำทั้งสองมีการคัดอนุภาคทรายสูงหรือพบทรายขนาดใกล้เคียงกัน คือ บริเวณปากเเม่น้ำปัตตานีเเละปากเเม่น้ำยะหริ่ง อ่าวปัตตานี มีค่า QD เท่ากับ 0.20, 0.01 เเละ 0.32 ตามลำดับ ในขณะที่บริเวณชายฝั่งเเละบริเวณเเหลมตาชีด้านอ่าวไทยมีการคัดทรายขนาดอนุภาคทรายต่ำกว่า คือ QD เท่ากับ 0.49 เเละ 0.83 ส่วนบริเวณชายหาด ที่มีคลื่นเเรงที่สุดพบประสิทธิภาพการคัดขนาดอนุภาคทรายต่ำที่สุดคือเท่ากับ 0.89

A total of 130 sediment samples were collected during March-October, 1995 and late August-early September 1996. Sediment collection sites were determined by GPS covering Pattani bay and its coasline from Rusamilae to Kae Kae beach. Sediment composition (percent by weight) of clay&silt sand (particles larger than 75 micrometer) at each site was determined. Results showed that sediment composition different in several areas but mostly composed of clay&silt. Average clay&silt propotion for all sites was 60.36 +- 40.32, thus, sand = 39.64+-40.32.<br /> ollection sites that were close together and had similar sediment compositions were grouped into 6 areas. The first 3 areas; Pattani river mouth (8 sites), Yaring river mouth (12 sites) and Pattani bay (36 sites), had similar similar sediment compositions. Their average clay&silt propotions were 99.05%+-0.63, 95.04+-5.10 and 94.87%+-6.25, respectively. Hence, sand was found the least at Pattani river mouth. Higher proportion of sand was found (86.08%+-8.32) at Tachi spit (11 sites). As expected. only sand was found along the shoreline (12sites) where sediments (29 sites) in the Gulf of Thailand differed but on the average, consisted of clay&silt and sand (49.08%+-37.79 sand).<br /> Sand particles were sieved into 10 sieve sizes ranging between 75-5000 micrometer and average grain size of each area was calculated. In Pattani river mouth area finest sands were found the most. In the areas near Yaring and Pattani river mouth as well as Pattani bay and the coastline more than half of the sands (by weight) were small sand particles (<150 micrometer). Along the shoreline, which is under tidal influence, larger sand particles were found and in Tachi spit area the largest sand size was found. Mean grainsize (uz in phi unit) of sands in the six areas were ranked from small to large as followed; Pattani and Yaring river mouth (both 3.24)<Pattani bay (3.14)<coastal area (2.97)<shoreline (2.24)<Tachi spit (1.48). Median particle size or Md (phi unit) were calculated and resulted in the values similar to the mean grain size. They were, in the same order, 3.33 (Pattani river mouth), 3.33 (Yaring river mouth), 3.28 (Pattani bay), 3.21 (coastal area), 2.63(shoreline) and 1.17(Tachi spte).<br /> Ilighest phi quartile deviation (QD in phi unit) or sorting efficiency was found at both river mouths. In other words, sand with mainly one size was found in the Yaring and Pattani river mouth areas with QD=0.20 and 0.21 while that of Pattani bay was 0.32. In the coastal and Tachi spit areas QD were 0.49 and 0.83. Along the wavy shoreline sorting efficiency was thus minimal with QD=0.89.
     ผู้ทำ/Author
Nameนัยนา ศรีชัย
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
บทที่ 3 ผลการศึกษา
บทที่ 4 สรุปผลการศึกษา
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
     Contributor:
Name: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2546
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3125
     Counter Mobile: 54