ชื่อเรื่อง/Title ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลเมืองปัตตานี / Public Satisfaction of Pattani Municipality Services
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลเมืองปัตตานี 7 ด้าน คือ ด้านทะเบียนราษฎร์ ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านสาธารณูปโภค ด้านสวนสาธารณะ ด้านความสะอาด ด้านการศึกษา และด้านการประปา 2)เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลเมืองปัตตานีตามตัวแปร เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา และตำบลที่อยุ่อาศัย 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการบริการของเทศบาลเมืองปัตตานี ทั้ง 7ด้าน<br /> ????กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี จำนวน 390 คน <br /> ????ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลเมืองปัตตานีทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง<br /> 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลเมืองปัตตานีทั้ง 7 ด้าน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ รายได้ และเขตตำบลที่อาศัยแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริการของเทศบาลโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อด้านสวนสาธารณะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และประชาชนที่มีอายุแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อด้านความสะอาด และด้านการประปาแตกต่งกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และประชาชนที่มีรายได้แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อด้านการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประชาชนที่อาศัยอยู่ตำบลสะบารัง ตำบลอาเนาะรู ตำบลจะบังติกอ มีความพึงพอใจต่อด้านทะเบียนราษฎร์และด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการบริการของเทศบาลโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความพึงพอใจต่อด้านสวนสาธารณะ และด้านการประปาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br /> 3. ปัญหาและความคิดเห็นทั่วไปของประชาชน ในการปรับปรุงการบริการของเทศบาลเมืองปัตตานีทั้ง 7ด้าน คือด้านทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ พนักงานขาดความีมนุษยสัมพันธื ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ ขาดการตรวจตราดุแลความปลอดภัยในเวลากลางคืน ด้านสาธารณูปโภค ได้แก่ ท่อระบายน้ำอุดตัน ด้านสวนสาธารณะ ได้แก่ ความไม่ปลอดภัย เนื่อจากมีกลุ่มคนติดยาเสพติดเข้ามาใช้บริการ ด้านความสะอาด คือพนักงานเก็บขยะไม่สม่ำเสมอ ด้านการศึกษา คือ เด็กในเขตเทศบาลยากจนและขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน และด้านการประปา ได้แก่น้ำไม่สะอาด มีกลิ่นและตกตะกอน<br /> ????ข้อเสนอแนะ<br /> ????จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะแก่ผู้บริหารของเทศบาลเมืองปัตตานีคือ ควรพัฒนาบุคลากรให้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้ให้บริการที่ดีในงานบริการของเทศบาลทุกงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์และสร้างสัมพันธภาพอันดีกับประชาชนในการขอความร่วมมือให้ช่วยกันรักษาสาธารณสมบัติส่วนรวม ปรับปรุงสวนสาธารณะขนาดเล็กให้ชุมชนใช้เป็นที่พักผ่อนของคนในชุมชน เพื่อขจัดความไม่เพียงพอของสวนสาธารณะ และควรมีการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้มาใช้บริการ มีมาตรการในการกำจัดสัตว์เลี้ยงที่ทำลายภาพพจน์ความไม่เป็นระเบียบของชุมชนเมือง ส่วนด้านการศึกษาควรจัดหาทุน อุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียนที่ยากจนในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน และด้านการประปาควรพัฒนาคุณภาพของน้ำประปา

This research was intended to attain 3 objectives : 1) to study the public satisfaction of 7 services provided by Pattani Municipality : <br /> <br /> census record, public safety control, public utility, public park, sanitation, education, and water supply; 2) to compare the satisfaction of <br /> <br /> people who differed in sex, age, income, education attainment, and residential sub-district; 3) to study the problems and suggestions to <br /> <br /> improve those 7 services of Pattani Nunicipality.<br /> The subjects of the study were 390 people selected by a cluster sampling from the population of 11,145 resident in Pattani <br /> <br /> municipal area. The independent variables were sex, age, income, educational attainment, and residential sub-district, and the dependent <br /> <br /> variable was public satisfaction of 7 services of Pattani Municipality. The instrument for data collection was a questionnaire constructed by the <br /> <br /> researcher consisting 3 psrts : Part 1 was about the respondents' background information, Part 2 was five-point rating-scale about public <br /> <br /> satisfaction of 7 services of Pattani Municipality, of which the reliability was 0.90, Part 3 was an open-ended questionnaire for the <br /> <br /> respondents to state their opinions about problems and suggestions to improve the services of the Municipality.<br /> The statistical analysis was performed by SPSS/PC+ (statistical Package for the Social Scinces/Personal Computer Plus) to <br /> <br /> caculate percentages, arithmetic mean, standard deviations, t-test, T-test, and multiple comparisons with Scheffe method.<br /> The research findings were as follows : <br /> 1. The public satisfaction of 7 services of Pattani Municipality was moderate.<br /> 2. Comparing public satisfaction of 7 services provided by Pattani Municipality, it was found that people who differed in sex, age, <br /> <br /> income, and residential sub-district were overall not different in their satisfaction of the services. People of different sexes were significantly <br /> <br /> different at 0.05 for their satisfaction of public park service, while those of different ages were different at 0.01 and 0.05 consecutively for <br /> <br /> their satisfaction of sanitation and water supply services. The people with various levels of income differed in their satisfaction of educational service at 0.05. Those living in Sabarang, Anohroo, and Jabangtiga sub-districts were different in their satisfaction of census record and public safety control services at 0.01. the people whose educational attainment was varied were satisfied at 0.05 with overall services, and at 0.01 vand 0.05 with public park and water supply services, respectively.<br /> 3. The respondents stated their opinions on how to improve each service of Pattani Municipality. As for census record service, the personnel lacked good human relationships. In public safety control, there was no night patrol. As for public utility service, the sewer pipes were clogged. Then the public parks were not safe because the drug addicts were usually there. As for sanitation, the garbage collectors failed to work regularly. For education, children in the municipal area were poor and in need of educational matarials. As for water supply, the the water was unclean, smelled, and and contained sediment.<br /> The researcher made some suggestions to the adminitrators of Pattani Municipality that there should be a staff development to acquaint the personnel with the role and duty of good service providers in every municipal services. More efficient public relations and good relationship with the people should be built in order to get better cooperation in keeping the public property. The small community public parks should be improved to serve the people in the community adequately. They should be safe and free of domesticated animals that destroyed the good image of an urban community. As for education, the scholarships and educational materials should be provided for poor students since the first week of the semester. Additionally, the quality of tap-water should be developed.
     ผู้ทำ/Author
Nameจินตนา คงเหมือนเพชร
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 การอภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการเมืองการปกครอง
--องค์กรส่วนท้องถิ่น
--นโยบายการปกครอง
     Contributor:
Name: มานพ จิตต์ภูษา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2541
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 19865
     Counter Mobile: 44