ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (IMT-GT) / Semi Skilled Labor Development in Five Southern Border Provinces for Serving IMT-GT Development
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย IMT-GT ที่เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานในด้านสภาพทั่วไปและปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ รวมทั้งปัญหาและคุณวุฒิ จากบุคลากรในสถาบันและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานซึ่งได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการ ครูฝึกและวิทยากรฝึก ผู้ผ่านการฝึก และผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 320 คน นำผลการสัมภาษณ์ ข้อมูลจากแบบสอบถามและผลการสัมมนามาวิเคราะห์ทางสถิติและประมวลข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยปรากฎว่าการพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใตด้านสภาพทั่วไปและปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านกระบวนการดำเนินงานปฎิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และผลผลิตอยู่ในระดับดี ส่วนผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทำให้มีฝีมือแรงงานที่สนองตอบความต้องการของตลาดแรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้และแก้ปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ และสร้างนิสัยอุตสาหกรรมที่ดีให้กับผู้ผ่านการฝึกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนปัญหาการพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งสามด้านยังอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน โดยที่ด้านกระบวนการต้องเน้นการประชาสัมพันธ์ การประสานงานกับสถานประกอบการและภาคเอกชนให้ผู้ผ่านการฝึกมีงานทำ และไปทำงานในต่างประเทศ และการสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูฝึกหรือวิทยากรให้มากขึ้น สำหรับผลการเปรียบเทียบการพัฒนาฝีมือแรงงานตามตัวแปรต่างๆ ปรากฎว่าบุคลการในสถาบันและศูนย์กับผู้ผ่านการฝึกมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่ผู้ผ่านการฝึกมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าบุคลากรของสถาบันและศูนย์ และเมื่อเปรียบเทียบตัวแปรต่างๆ ของผู้ผ่านการฝึก ได้แก่ เพศ สถานภาพการสมรส ศาสนา วุฒิการศึกษา ที่อยู่อาศัยตามจังหวัด และหลักสูตรวิชาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อตอบสนองการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย IMT-GT ต้องการให้เพิ่มหลักสูตรด้านช่างที่หลากหลายมากขึ้นตามความต้องการของตลาดแรงงาน เตรียมภาษาเพื่อการสื่อสารที่สามารถไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านได้ รวมทั้งฝึกสร้างนิสัยอุตสาหกรรมให้กับผู้ฝ่านการฝึกให้มากขึ้น มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อยกระดับฝีมือให้มีคุณภาพ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนให้ความสำคัญต่อการเพิ่มทักษะพัฒนาอาชีพ ควรจัดตั้งกล่มอาชีพต่างๆ ในชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวนโยบายของรัฐ รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้มีการประชุมสัมมนาอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้

     ผู้ทำ/Author
Nameชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
Nameสมเกียรติ พ่วงรอด
Organization
Nameสมพร ศรีธูป
Organization
Nameปุณวัฒน์ อุบล
Organization
Nameอ้อมใจ จัตุฑะศรี
Organization
     เนื้อหา/Content
แหล่งฉบับพิมพ์
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2544
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2984
     Counter Mobile: 32