ชื่อเรื่อง/Title ธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย - มาเลเซีย / Thai-Malaysia border tourist business
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยเรื่องธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีวัตถุประสงค์ศึกษามุมมองของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ประกอบการค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักท่องเที่ยว และประชาชนบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย เกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย และการพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ.2546-2549 โดยมุมมองจาก 4 กลุ่ม ใน 9 มิติ ประกอบด้วย มิติด้านการให้บริการ มิติด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มิติด้านสถานที่ท่องเที่ยว มิติด้านสถานที่พัก มิติด้านอาหารบริโภค มิติด้านราคาสินค้า มิติด้านสินค้าอุปโภคบริโภค มิติด้านความซื่อสัตย์ และมิติด้านความปลอดภัย ทำการศึกษาช่วงปี พ.ศ.2539-2546 <br /><br /><br /> ????กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจำนวน 457 ตัวอย่าง จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส 5 รัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย รัฐเคดาห์ รัฐเปอร์ลิส รัฐกลันตัน รัฐเปรัค และรัฐปีนัง สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าแจกแจงความถี่ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สมการถดถอยเชิงซ้อน และสมการถดถอยอย่างง่าย เก็บตัวอย่างด้วยวิธีพบปะบังเอิญ<br /><br /><br /> ????ผลการศึกษาปัจจัยภูมิหลัง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุช่วง 31-35 ปี จบการศึกาาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพธุรกิจค้าขาย ท่องเที่ยวบริการ ระยะเวลาประกอบอาชีพมากกว่า 10 ปี รายได้ต่ำกว่า 3000 บาท/เดือน มองว่าปัจจุบันสภาพธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย อยู่ในระดับปานกลาง วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซียเล็กน้อย ขณะที่การขยายเวลาเปิดปิดด่านบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซียส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนเป็นอย่างมาก<br /><br /><br /> ????ผลการศึกษามุมมองเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย จากบุคคล 4 ฝ่ายในมิติ 9 ด้าน ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ประกอบการค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักท่องเที่ยว และประชาชนบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย พบว่า มิติด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มิติด้านสถานที่ท่องเที่ยว มิติด้านสถานที่พัก มิติด้านอาหารบริโภค มิติด้านราคาสินค้า มิติด้านสินค้าอุปโภคบริโภค มิติด้านความซื่อสัตย์ และมิติด้านความปลอดภัย มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย ในระดับปานกลาง ส่วนมิติด้านการให้บริการ มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ ท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซียในระดับดี<br /><br /><br /> ????ผลศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่จับจ่ายใช้สอย และจำนวนวันพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวมีส่วนส่งเสริมพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย กรณีชายแดนภาคใต้ของไทย ในทิศทางเดียวกัน<br /><br /><br /> ผลการพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะเข้ามาท่องเที่ยวบริเวณชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในอนาคต ช่วงปี พ.ศ.2546-2549 พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ <br /><br /><br /> อนึ่งหลังเสร็จสิ้นการศึกษาได้มีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาดไข้หวัดมรณะ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว จึงควรที่ผู้สนใจจะขยายผลการศึกษาต่อไป

The research on the tourist business along the Tha-Malasian border aimed at the Study of the views of the tourist business operators, operators related to the tourist business, government authorities, tourist and the people who are living along the Thai-Malaysian border, business relate to the tourism along Thai-Malaysian border, Study the factors effecting the tourist along the Thai-Malaysian border and forecasting the number of foreign tourists travelling into the five provinces in the Southern part of Thailand during 2003-2006 for the tourism purpose. Such views from the 4 groups of people may have affected the tourist business along the Thai-Malaysian border in 9 dimensions which consisted of services, facilities, tourist attractions, lodging, food, prices of foods, consumer products. honesty and safety. The study was made during the year of 1996 to 2003, using 457 samples from 5 provinces in the southern part of Thailand and in the 5 northern States of Malaysian wich consisted of Songkhla, Yala, Patani, Narathiwat, Satun Cadah, Periz, Kelantan, Perak and Penang. The statistics used in this research were percentage, average, frequency analysis, standard deviation, Complex regressive equation and Simple regressive equation. The samples were collected by chance.<br /><br /> The study result of the background showed that majority of the responders were male with ages in between 31-35 years old, graduated the junior school education, holding to the Islamic religion, engaging in the trading business, servising on tourists. The period of the business engagement was longer than 10 years with incom lower than 3,000 bath/month. They viewed that the tourist business condition along the Thai-Malaysian border was in the intermediate level as the economic crisis had little effect againt the tourist business along the Thai-Malaysian border had very much effect against the tourist business along the Thai-Malaysian border.<br /><br /> The study result of the views with respect to the tourist business along the Thai-Malaysian border in 9 dimensions, consisting of the tourist business operators, business were living along the Thai-Malaysian border showed that the dimensions on facilities, tourist attractions, lodging and accommodations, food, prices, consumer products, honesty and Thai-Malaysian border at the promotion and development of the tourist business along the Thai-Malaysian border at the intermediate level while the service dimension could contribute to at the good level.<br /><br /> The study result of the factors effecting the tourist business along the Thai-Malaysian border showed that the number of tourists coming in, tourists' expenses with respect to the tourism and the average number of days of tourist business along the Thai-Malaysian border, in the case of Southern border of Thailand, in the same direction.<br /><br /> The result of the forecast of the number of foreign tourists travelling into the Southern border areas of Thailand in the future during 2003-2006 showed the trend of increase and in accordance with the established hypothesis.
     ผู้ทำ/Author
Nameอาธิ ครูศากยวงศ์
Organization มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. คณะวิทยาการจัดการ
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการศึกษา
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2545
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 6765
     Counter Mobile: 31