ชื่อเรื่อง/Title รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน : ศึกษากรณีโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตระเวนชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>มีวัตถุประสงค์เพื่อ <br /><br /><br /> 1. ศึกษาข้อมูลการจัดการศึกษาในพื้นที่ทุรกันดารที่ตำรวจตะเวณชายแดนดำเนินการอยู่ซึ่งแตกต่างไปจากการจัดการศึกษาของหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง <br /><br /><br /> 2. ศึกษาชุมชนที่ตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดารไกลคมนาคม <br /><br /><br /> 3. ศึกษาความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการจัดการศึกษา โดยพิจารณาความและความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 โดยใช้โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนและชุมชนในภาคใต้ 6 แห่งเป็นกรณีศึกษา <br /><br /><br /> <dd>วิธีการศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเชิงสำรวจโดย 1. ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. ใช้การสังเกต 3. สำรวจความเห็นของบุคคลสำคัญโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 4. จัดประชุมสัมมนาและจัดเวทีเสวนาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค <br /><br /><br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า <br /><br /><br /> 1. ประวัติศาสตร์และบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่งมีอัตลักษณ์ความเป็นมา ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นนโยบายและแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาให้เหมาะสมกับสถาพจริงได้ <br /><br /><br /> 2. ได้กระบวนการความร่วมมือ กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การแก้ปัญหา การช่วยเหลือเกื้อกูลและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน <br /><br /><br /> 3. กิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการวิจัยได้มีการวิเคาะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการดำเนินงานส่งเสริมคุณภาพการศึกษา และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน <br /><br /><br /> 4. การจัดการเรียนการสอนของครู กิจกรรมและโครงการต่างๆที่ปฏิบัติมาตลอด 44 ปี เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542<br /> ผลการวิเคราะห์จดเเข็ง จุดอ่อน โอกาส เเละอุปสรรคในการพัฒนาร่วมกันพบว่า จุดเเข็งในการดำเนินงานเสริมสร้างคาวามเข้มเเข็งต่อกันระหว่างโรงเรียนตระเวนชายเเดนเเละชุม คือ ความสามารถในการใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางกิจกกรมของชุมชน ความสามารถในการระดมสรรพกำลังของครูตำรวจตระเวนชายเเดนความมีระเบียบวินัย เเละความสามารถทำให้โรงเรียนเเละชุมชนปลอดจากยาเสพติด ความรู้สึกเป็นเจ้าของของประชาชนในพื้นที่ตั้งของโรงเรียน จุดอ่อนมักจะเป็นเรื่องของคุณภาพของการเรียนการสอนเเละปัจจัยพื้นฐานของโรงเรียนในฐานะเป็นสถานศึกษาอุปสรรคที่ผู้ให้ข้อมูล เเละผู้เกี่ยวข้องเห็นตรงกันคือ ความทุรกันดารห่างไกลของพื้นที่ การขาดการดูเเลจากภาครัฐ เเละความยากจนของประชาชนเนื่องด้วยประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนดอกาสในการพัฒนาที่จะเป็นไปได้มากที่สุด คือ การพัฒนาการศึกษาเเละการพัฒนาตามเเนวโครงการพระราชดำริ<br /> ข้อเสนอเเนะ คือ ควรสนับสนุนให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายเเดนมีศักยภาพมากขึ้นทั้งในสถานะที่เป็นสถานศึกษาที่ให้ความรู้เเก่เด็กเเละเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดารไกลคมนาคม เป็นตัวเเทนของหน่วยงานราชการในการนำการพัฒนาชุมชน เป็นศูนย์รวมใจเเละเป็นที่พึ่งของปะชาชนในพื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์เเบบ

The project of A development of participation school and community : In the case of educational quality improvement in the Border Patrol police School in southern. The operating has 3 phase : 1) To study the fundamental condition of school and community 2) To develop the participation between school and community 3) To study for developing and expanding. The purpose for : 1) To study the data from educational management in the rugged area where operating by Border Patrol Police School which differ from the direct responsible office. 2) To study the location of community where Border Patrol Police School estabilshes in the remote area and poor transportation. 3) To study the participation between school and community in educational management. It considers the feasibility and consistency with the educational law 1999. The 6 Border Patrol Police School and communities in southern are the data source. The essential issue is to study the participation between school and community in educational management for children and youth in their area and respond to the following research question. 1. How does the difference in historical context and social between Border Patrol Police School and community effect on educational management? 2. What are the factors that cause the participation between Border Patrol Police School and community, including the obstacle factors ? 3. What are the approach and activity to develop the participation between Border Patrol Police School and community ? <br /><br /><br /> The method is survey research : 1. Study the related documents 2. Observe the participation between Border Patrol Police School and community by doing the educational development activity in the area as well as using the survey instrument and field note. 3. Survey the opinion of the important person by indepth interview, focus group in the area. 4) Seminar and discuss stage, SWOT analysis for developing the participation Border Patrol Police School and community.<br /><br /><br /> The concept is derived from the passed economics and soail development plan up to now and the result in educational development according to the educational development plan (1-8). The impact which influences on the country empowerment for facing with the crisis problem. It consistents with the policy and Border Patrol Police School and community operating in wich try to solve the iliteracy people in the rural area. The research results are : 1) Historical and context of Border Patrol Police School and community are difference in each studying area where has identical history, living condition difference and the identity consistents with each other in some area. It can be taken to analysis and assign the policy and strategy for suitable development. 2) Receiving the participated process, co-learning, solving the problem, helping and make relationship between Border Patrol Police School and community to support the more value and expand these results to other school and community obviously. 3) The occuring of participating research make us get the valuable concept and SWOT analysis for supporting the quality of education and community empowerment being operated. It can help to developing the community in grounded level. 4) Learning-Tearching management of Border Patrol Police School teacher, activity and the various project which has been still operating in Border Patrol Police School and community for 44 years. Since the Border Patrol Police School established, the operating is consistent with the educational management beneath the educational law 1999.<br /><br /><br /> The result of SWOT analysis founded that the strong point in the community empowerment is the participating between Border Patrol Police School and community which is able to use the school as a activity ceter of community, the ability to emcompasse the Border Patrol Police teacher, having disclipline and ability to campaign the school and community being without drug, the feeling of ownership in their school. The week point is the quality of teaching-learning and fundamental factors of school. The consistency responds are the rugged and remote area, the lack of governmental awareness and poverty of people despite of their agricultural profession. The most feasible opportunity and development is the educational Her Royal Highness development.<br /><br /><br /> The recommend is the supporting more ability of Border Patrol Police School as the educational unit to give knowledge for children and youths in the rugged area, being the representation of civil unit in community, heart community center and complete dependent unit for people in the area.
     ผู้ทำ/Author
Nameณรงค์ อุ้ยนอง
Organization สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
Nameอาคม เดชทองคำ
Organization สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
Nameสำนึก เกื้อมา
Organization กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 42
Nameบำรงค์ สามล
Organization โรงเรียน ตชด. บ้านไร่ยาว
Nameเดชา ครุธเผือก
Organization โรงเรียน ตชด. ท่าลานทอง
Nameสมคิด เจริญฤทธิ์
Organization โรงเรียน ตชด. บ้านควนมีชัย
Nameโชคชัย สมัครแก้ว
Organization โรงเรียน ตชด. บ้านเขาวัง
Nameประยุทธ สุขรัตน์
Organization
Nameวิรัตน์ ทองเทพ
Organization โรงเรียน ตชด. ท่าลานทอง
Nameจเร อุ้ยนอง
Organization สำนักงานการประถมศึกษา อำเภอท่าแซะ
Nameณรงค์ ระพิพรรณ
Organization โรงเรียนหารเทา อำเภอปากพะยูน
Nameกูมัจดิ ยามิรูเด็ง
Organization สถาบันราชภัฏยะลา
Nameสุพัตรา เต็มรัตน์
Organization สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
คำนำ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิดที่ใช้ในการศึกษา
บทที่ 3 บริบทของโรงเรียนตำรวจ...และชุมชนภาคใต้
บทที่ 4 วิเคราะห์บริบทของโรงเรียนและชุมชน
บทที่ 5 สรุป อภิปราย ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--โรงเรียนกับชุมชน
     Contributor:
Name: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2544
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 4762
     Counter Mobile: 57