|
บทคัดย่อ/Abstract |
????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ <br />
1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และกรมสามัญศึกษา <br />
2. เพื่อนำเสนอรูปแบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดปัตตานี <br />
????กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี ได้มาโดยวิธีแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานทางศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักการศึกษาและกรรมการสถานศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงอนาคต เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกเนื้อหาจากการศึกษาเอกสาร และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ตามแนว อี เอฟ อาร์ <br />
????ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ <br />
1. ผลจากการศึกษาเอกสาร <br />
????1.1 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และกรมสามัญศึกษา ได้ดำเนินงานโดยมีแนวทางการกำหนดมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้สถานศึกษานำไปเป็นกรอบการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาแตกต่างกันที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติกระจายอำนาจการดำเนินงานให้สำนักงานประถมศึกษาจังหวัด สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนดให้สถานศึกษาดำเนินงานตามแนวทางของกรมต้นสังกัด ส่วนกรมสามัญศึกษาจะกระจายอำนาจการดำเนินงานให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา <br />
????1.2 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จะได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากกรมต้นสังกัด ส่วนสถานศึกษากรมสามัญศึกษา จะได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากองค์กรภายนอก <br />
2. แนวโน้มรูปแบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดปัตตานี ประกอบด้วยแนวทางในการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน คือการควบคุมคุณภาพการศึกษา การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังต่อไปนี้ <br />
????2.1 สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยกลุ่มบุคคลที่สถานศึกษาแต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้แทนจากชุมชน/ท้องถิ่น มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดขึ้นต้องมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ มาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาและความต้องการของชุมชน/ท้องถิ่น และสามารถนำมาเป็นกรอบในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือธรรมนูญโรงเรียน <br />
????2.2 สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีการตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2 รูปแบบ คือ 1. การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยบุคลากรภายในสถานศึกษา 2. การตรวจสอบโดยบุคลากรจากเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา <br />
????2.3 สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะได้รับการประเมินคุณภาพภายในปีละ 1 ครั้ง สถานศึกษาจะต้องนำมาผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อหาจุดเด่น จุดด้อย และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
The objectives of this research were 1) to ivestigate and analyze the quality assurance model of the primary and secondary schools under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission, Office of the Private Education Commission, and the Department of General Education; and 2) to present the internet quality assurance model of basic education institutions in Pattani education service area.<br />
The quality assurance operators in primary and secondary school in Pattani were purposively sampled. They were educational office administrators, school administrators, teachers, educators and school boards. The research methodology was the ethnographic future research (EFR) developed an anthropological research methodology called ethnographic research. Thus, the non-directive, open-ended interview was used. The research instruments consisted of record files of documentary content and the EFR interview schedule.<br />
The findings were summarized as follows:<br />
1. The results from the documentary study. <br />
1.1 The Office of the National Primary Education Commission, Office of the Private Education Commission, and Department of General Education had implemented quality assurance by determining an educational standard for schools to use as a framework of their educational development plan. The difference was that the Office of the National Primary Education Commission decentralized its operation to the Provincial of Primary Education Offices, the District Primary Education Office and schools. the Office of the Private Education Commission specified that the schools operated by guidelines of their affiliated departments, whereas the Department of General Education decentralized its operation to the educational service areas and schools.<br />
1.2 The schools under the Office of the National Primary Education Commission and the Office of the Private Education Commission received accreditation from their affiliated departments, while those under the Department of General Education received it from unspecified external organizations.<br />
2. The trend of internal quality assurance model of the basic education institutions in Pattani.<br />
There were three stages of implementation : quality control, quality audit, and quality assessment. The guidelines for implementation were as follows:<br />
2.1 The basic education institution should set its educational atandard. It should appoint a committee consisting of school administrators, representatives of teachers, school board and representatives from the community/local area. This standard should be in line with the national and educational service areas standards, and meet the need of the community/local area. It should be possible to be a framework of the plan for quality development as well as school charter. <br />
There were two models of adminitrative / management system of the educational institutions to put the state standard into practice : 1) the management by the standard, 2) the management by the school'ls tasks.<br />
2.2 The basic education institution performed two models of internal quality audit : 1) the quality audit by the institution's personnel, or self-audit, 2) the quality audit by the personnel from the educational service area and achool board. <br />
The educational institutions reported their outcomes to the public and related offices once a semester.<br />
2.3 The quality of the basic education institutions was internally assesses once a year. The evaluators were school administrators, representatives from the educational service area , school board and community. The institutions should analyze the results of the assessment outcomes in order to determine strength and weakness and to constantly improve their quality. |