ชื่อเรื่อง/Title การค้าชายแดนไทย - มาเลเซีย / Border trades between Thailand and Malaysia
     บทคัดย่อ/Abstract ????วิจัยเรื่องการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย วัตถุประสงค์ ศึกษาลักษณะสภาพการค้า การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนไทย-มาเลเซีย การเตรียมความพร้อมรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ทัศนคติของผู้ประกอบธุรกิจการค้าประเภทต่างๆ และหน่ยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย<br /> ????การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยประยุกต์ ประชากรในที่นี้เป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าประเภทต่างๆ และเจ้าหน้าที่ของรัฐบริเวณชายแดนไทย -มาเลเซีย ได้แก่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ประกอบด้วย จังหวัด สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส 5 รัฐตอนเหนือของมาเลเซีย ประกอบด้วย รัฐเคดาห์ เปรัค เปอร์ลิส กลันตัน และปีนัง <br /> ????กลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์ข้อมูลเก็บด้วยวิธีการปะบังเอิญ และเฉพาะเจาะจงพื้นที่ จำนวน 146 ตัวอย่าง เป็นตัวแทนศึกษาครั้งนี้ ข้อมูลที่ใช้เป็นทั้งข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิ จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เก็บไว้แล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย<br /> ????ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันสภาพการค้า และการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนไทย-มาเลเซีย อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.81 โดยภาครัฐบาลและผู้ประกอบธุรกิจการค้าบริเวณชายแดนไท-มาเลเซียมีการเตรียมความพร้อมรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจดังกล่าวที่ผ่านมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.11 โดยปัจจุบันภาครัฐทำการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจการค้าชายแดนไทย-มาเลเซียอยุ่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 41.10 ช่วงเวลาปิดเปิดด่านมีผลกระทบบ้างต่อการพัฒนาธุรกิจการค้าชายแดน ธุรกิจการค้าที่ดำเนินการส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทร้านค้า ท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก โดยสินค้าที่ทการซื้อขายเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ผัก ผลไม้ และขนบขบเคี้ยว ลักษณะสถานที่ทำการค้าส่วนใหญ่เป็นตึกแถว บ้านเรือน แผงลอย รวมถึงการเปิดท้ายรถขายของ รูปแบบการค้ามีลักษณะซื้อขายโดยมีสถานที่ตั้งแน่นอน และนัดพบตามตลาดนัดบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ทำการซื้อขายโดยตรงไม่ผ่านนายหน้าบุคคลที่ซื้อสินค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มาจากชาวพื้นเมืองในท้องถิ่น นักท่องเที่ยวภายในประเทศ ราคาสินค้าที่ซื้อขายบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย มีราคาขึ้นลงไม่แน่นอนขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ สินค้าที่วางขายมีการติดป้ายบอกราคาบ้าง ไม่ติดป้ายบอกราคาบ้า ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าบริเวณชายแดนมีแนวโน้มซื้อขายมากขึ้น ร้อยละ 34.25 สินค้าที่ทำการซื้อขายมีลักษณะเหมือนกับสินค้าทั่วไปในท้องตลาด สินค้าที่แตกต่างจากประเทศของผู้ซื้อและเป็นสินค้าหนีภาษี โดยทำการค้าขายตลอดเวลามีความสม่ำเสมอ สินค้าที่นำมาขายเป็นสินค้าที่ทำการผลิตเองและขายเอง คุณภาพของสินค้าที่ซื้อขายบริเวณชายแดนส่วนใหญ่สะอาด ปลอดภัยได้มาตรฐาน ร้อยละ 46.58 แหล่งที่มาของสินค้าที่ซื้อขายมาจากประเทศไทย ร้อยละ 40.27 จากประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 32.01 ขนส่งสินค้าโดยใช้รถยนต์บรรทุก รถจักรยานยนต์ รถไฟ แพขนานยนต์ รถสามล้อพ่วง และกองทัพมด อัตราค่าขนส่งสินค้าบริเวณชายแดนมีอัตราขึ้นลงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับระยะทางและราคาน้ำมัน การชำระค่าสินค้านิยมใช้เงินบาทและเงินริงกิต ร้อยละ 76.71 วิธีการชำระค่าสินค้าบริเวณชายแดนชำระด้วยเงินสดโดยตรงผ่านระบบสถาบันการเงินเล็กน้อย และชำระโดยวิธีอื่น เช่น การแลกสินค้ากับสินค้า การใช้บัตรเครดิต เงินทุนที่ใช้ทำธุรกิจส่วนใหญ่เป็นเงินทุนของตนเอง จากสถาบันการเงินและหุ้นส่วน สภาพการหมุนเวียนเงินตราบริเวณชายแดนดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.81 รัฐบาลและผู้ประกอบธุรกิจการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย มีการเตรียมความพร้อมในอนาคตรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจการค้าชายแดน ประกอบด้วย การเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกแก่การค้าชายแดน การร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซีย ลดภาษีการค้าระหว่างกัน การขยายฐานการผลิตเพิ่มขึ้น การเร่งเจรจาเปิดด่านถาวร 24 ชั่วโมง การขยายพื้นที่ค้าขายเพิ่มขึ้น การเร่งสร้างเส้นทางเพิ่มขึ้นเพื่อเชื่อมการขนส่งสินค้าให้สะดวก รวดเร็ว การลดขั้นตอน พิธีการทางศุลกากรให้น้อยละ การเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย ร่วมมือระหว่างไทย-มาเลเซีย ปราบปรามการก่อการร้ายให้น้อยลง การขยายแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ การเจรจาอนุญาตนำเข้าผักสด ข้าว เนื้อสัตว์ ผลไม้ เครื่องใช้อุปโภคบริโภคเข้าออกโดยไม่จำกัดโควต้า การเจรจาอนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าของไทยสามารถเข้าไปขนถ่ายสินค้าในประเทศมาเลเซียโดยไม่จำกัดโควต้า การขยายด่านศุลกากรเพิ่ม<br /> ????ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการค้าบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ประกอบด้วย สินค้าไทยบางชนิดยังไม่ได้มาตรฐานฮาลาล การค้าขายยังมีลักษณะเป็นสินค้าหนีภาษา ไทยยังคงเสียเปรียบการค้ากับประเทศมาเลเซีย ไม่ว่าจะในด้านกฎระเบียบข้อบังคับ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ความรักชาติของมาเลเซีย ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำพิธีกรรมทางศุลกากร เทคโลโลยีที่ใช้ในการผลิต ราคาสินค้าที่มีราคาถูกกว่าประเทศไทย การขนส่งสินค้ายังถูกตรวจสอบใบอนุญาตส่งของ ใบเบิกทางทำให้เสียเวลาอย่างมาก การผิดสัญญาซื้อขายสินค้าของผู้ซื้อชาวมาเลเซีย การฉ้อโกงซึ่งไม่สามารถเอาความผิดทางกฎหมายได้กับผู้ซื้อสินค้าชาวมาเลเซีย การจัดระเบียบที่พักอาศัย ที่ทำการค้า อาคารพาณิชย์ สถานบันเทิงไม่มีการจัดเป็นระบบที่ดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วนยังคงทุจริตต่อหน้าที่รับเงินใต้โต๊ะ

Research on Thai-Malaysian Border Trade. Objective is to make a study on trading nature, Thai-Malaysian economic development, preparation for Thai-Malaysian business growth, attitude of businessmen and government agencies related to Thai-Malaysian border trade.<br /> This is an applied research while the population is those involved in various businesses and the government officers along Thai-Malaysian border, which is five border-town provinces of Thailand consisting of Songkla, Satun, Pattani, Yala and Narathiwat and five border-town states of Malasia consisting of Kedah, Perak, Perlis, Kalantan and Penang, Tha sample group of 146 samples is interviewed for data collection under this study through a random interview in a specific area.<br /> The data employed are both primary and secondary data from the field interview and sources from various agencies. The data are analyzed with standard statistical methods consisting of percentage and means.<br /> The study indicated that the Thai-Malaysian border trade and economic development were in an average level on 67.81% The government and those involved in Thai-Malaysian border trade were ready to prepare for the past business growth in an average level on 54.11%. At present, the government section has been promoting and supprorting Thai-Malaysia border trade at an average level on 41.10%. The opening and closing of border chekpoint have some what affected tha border trade development. Most of the businesses are stores, travelling and hotel while the merchandises purchased and sold are consumer goods, clothes, vegetables, fruits and snackes. Most of the business premises are row buildings, house, stalls, including display in the vehicle trunk. The trading transaction in made at a certain spot and the market while most of the transactions are made through a direct without any broker. Those who made the purchase are local people and local travelers while the selling prices of the products along Thai-Malaysian border have been fluctuating and subject to the exchange rate. The merchandises are displayed with price tag and some are not. The border trade business now has a tendency to grow at 34.25%. The merchandises different from those available in the other market. The merchandies different from those available in the other markets nationwide are smuggled merchandises and are sold in the market around the clock. The merchandises available in the market are manufactured and sold by the local people while the quality of most merchandises along the border is clean and safe at 46.58%. In addition, 40.27% of the merchandises are transported by trucks, train motocycles, transporting raft, tricycles with trailers and smuggling caravan which is still in existence. The transport charge at the border point has fluctuated and in subject to the distance and fuel price. The payment is mostly conducted in baht and ringgit for 76.71%. Most of the border trade transactions are directly settled with cash while some are settled through the financial institutes and other business is largely the working capital of the business and borrowed from the financial institutes and partners. The fund circulation at the border is in an average level on 67.81%. The government and the businessmen along Thai-Malaysian border are ready to facilitate the dorder trade business growth through an business facilities, Tha-Malaysian cooperation, reduction of business taxes, enlargement of production base, expedition on talk for 24 hour border checkpoint, expansion of trading area, construction of additional transporting routes to rapidly connect the transport syatem between both countries, reduction of customs formalities and procedures, increase in safety measures, cooperation between Thailand and Malasia to suppress and eliminate terrorism, increase in funding sources for vegetables, rice, meat, fruits, consumer goods without limited quota, and to allow Thai trucks to load the merchandises in Malaysia without limited quota and expansion of customs checkpoints.<br /> The problems incurred with Thai-Malaysian border trade involve with Thai merchandises. Thailand is still at disadventage for the with Malaysia whether the rules and regulations, exchange rate, malaysian nationalism, understanding about the customs formalities and procedures, production technology, cheap Malasian products, delay in inspection of delivery permit and merchandises license for merchandises transported, default of contract by Malasian buyers, fraudulent action which is not legally enforceable against the Malaysian buyers, improper arrangement of residence, commercial permises and buildings and entertainment spots and corrupted practice by some government officers.
     ผู้ทำ/Author
Nameอาธิ ครูศากยวงศ์
Organization สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี. คณะวิทยาการจัดการ
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัย...
บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก ก
ภาคผนวก ข
ภาคผนวก ค
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2545
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 28657
     Counter Mobile: 150