|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | ปัจจัยที่มีผลต่อการรับบริการคุมกำเนิดของสตรีไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา / Factors Affecting Birth Control Services of Thai-Muslim Women in Changwat Yala | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการรับบริการคุมกำเนิด และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวจำแนกการรับบริการคุมกำเนิดของสตรีไทยมุสลิม<br /><br />
<dd>กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย สตรีไทยมุสลิมที่สมรสแล้ว มีอายุ 15-44 ปี และกำลังอยู่กินกับสามีในจังหวัดยะลา จำนวน 395 คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากประชากร 29,728 คน เป้นสตรีไทยมุสลิมที่รับบริการคุมกำเนิด จำนวน 144 คน และไม่รับบริการคุมกำเนิด จำนวน 251 คน โดยมีตัวแปรที่ศึกษาคือ อายุ อายุแรกสมรส ระยะเวลาการสมรส จำนวนบุตรที่มีชีวิต จำนวนบุตรที่ต้องการ อาชีพ รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษา การสนับสนุนของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ค่านิยมเกี่ยวกับเพศบุตร ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด ลักษณะการให้บริการ การมุ่งอนาคต แรงจูงใจใฝ่สัฤทธิ์ และเจตคติต่อการคุมกำเนิด ตัวแปรตามคือ การรับบริการคุมกำเนิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ร้อยละ การทดสอบไค-สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยต์ไบซีเรียล และการวิเคราะห์จำแนกประเภท<br /><br />
<dd>ผลการวิจัยพบว่า<br /><br />
1. การสนับสนุนของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับการรับบริการคุมกำเนิดของสตรีไทยมุสลิม<br /><br />
2. ปัจจัยที่มีผลในการจำแนกการรับบริการคุมกำเนิดของสตรีไทยมุสลิมใจจังหวัดยะลา คือ จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ อายุ ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด ลักษณะการให้บริการคุมกำเนิด และจำนวนบุตรที่ต้องการ<br /><br />
<dd>ข้อเสนอแนะ<br /><br />
ผู้วิจัยได้เสนอแนะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการคุมกำเนิดในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ควรดำเนินงานสุขศึกษา และประชาสัมพันธ์เรื่องการคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง โดยสื่อมวลชนที่ใช้ในการเผยแพร่ และการประชาสัมพันธ์ควรใช้ทั้งภาษาไทย และภาษามาลายูท้องถิ่น นอกจากนี้ควรจัดการอบรมการคุมกำเนิดให้แก่สามี ภรรยา ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชน เพื่อได้มีความรู้ ความเข้าใจ ยอมรับ และสนับสนุนการคุมกำเนิดมากขึ้น This research is intended (1) to ivestigate the relationship between certain factors and Thai-Muslim women birth control services, and (2) to identify the factors that can discriminate Thai-Muslim women birth control services.<br /> Through a Multi-Stage sampling, 395 subjects are drawn from 29,728 marraied Thai-Muslim women in Changwat Yala who spouses. Out of 395 women, 144 have access to the services. The independent variables in this study include age, age at the time of marrige, duration of marriage, number of living children, number of children expected, occupation, household income, level of education, encouragement from relatives, value placed on children's sex, knowledge in birth control, type of services given, future-orientation, need of achievement as well as attitude toward birth control. The dependent variable is Thai-Muslim women birth control services. The instrument used is an interview schedule. The data are the analyzed using percentage, Chi-square, Point Biserial Correlation Coefficient and a discriminant analysis.<br /> The resaerch findings are as follows:<br /> 1. An encouragement from the relative and an engagement in occupations are found to significantly correlate with the subjects' access to birth control services at the levels of .01 and .05, respectively. Other remaining factors are found to have no correlation with the subjects' access to the services.<br /> 2. The factors that can discriminate the subjects' access to the services include number of living children, age, knowledge in birth control, type of services given, and number of children expect. The prediction equation for unstandardized scores is formulated as :<br /> f = -4.218-0.313 (no.of surviving children) -0.606 (age) -0.0113 (knowledge in birth control) + 0.963 (type of services given) + 0.644 (no. of children expected)<br /> This equation can correctly predict 64.05% of group membership.<br /> Based on the above findings, the researcher would suggest that health education programs as well as advertising campaigns on birth control be continuously carried out by in-service health authorities in the Tambon, Amphor and changwat Dissemination and advertisement should be done both in Thai and Pattani Malay so that the information can reach the Thai-Muslim target group. In addition, to gain acceptance and supports from Muslim communities, the training on birth control should be organized to equip the spouses, religious leaders and community leaders with better knowledge and understanding of birth control. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านสุขภาพอนามัย --สุขอนามัยชุมชน ด้านเศรษฐกิจและสังคม --สตรีเด็กและเยาวชน อิสลามศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2535 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 4230 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 46 | |||||||||||||||||||||