ชื่อเรื่อง/Title การศึกษากระบวนการวางแผนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี / Study of the Planning Process in the Primary Schools under Pattani Provincial Primary Education Office
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ <br /> 1. เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนตามกระบวนการวางแผนในขั้นการเตรียมการก่อนวางแผน ขั้นการวางแผน ขั้นปฏิบัติตามแผน ขั้นติดตามและประเมินผลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี <br /> 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ขนาดโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน ต่อการปฏิบัติงานตามกระบวนการวางแผนของผู้บริหารโรงเรียน ทั้ง 4 ขั้นตอนว่าแตกต่างกันหรือไม่ <br /> 3. เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางปรับปรุงกระบวนการวางแผนตามทัศนะผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี <br /> <dd>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างประชากร จำแนกเป็นผู้บริการ 134 คน ครูอาจารย์ 352 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ <br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1. สภาพการปฏิบัติงานตามกระบวนการวางแผนของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะผู้บริหารและครูอาจารย์ โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขั้นตอนปรากฎว่าผู้บริหารโรงเรียนมีทัศนะต่อกระบวนการวางแผนในขั้นตอนเตรียมการก่อนวางแผน ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติตามแผนอยู่ในระดับมาก ส่วนขั้นตอนการติดตามและประเมินผลอยู่ระดับปานกลาง สำหรับครูอาจารย์มีทัศนะต่อกระบวนการวางแผนในขั้นเตรียมการก่อนวางแผน ขั้นปฏิบัติตามแผน ขั้นการติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนขั้นการวางแผนอยู่ในระดับมาก <br /> 2. ผลการเปรียบเทียบทัศนะผู้บริหารโรงเรียนและครูอาจารย์ต่อการปฏิบัติงานตามกระบวนการวางแผนในโรงเรียนทั้ง 4 ขั้นตอนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 <br /> 3. ผลการเปรียบเทียบทัศนะผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการบริหารและปฏิบัติงานในขนาดโรงเรียนต่างกัน ต่อกระบวนการวางแผนในโรงเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 <br /> 4. ผลการเปรียบเทียบทัศนะครูอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และปฏิบัติงานในขนาดโรงเรียนต่างกัน มีทัศนะต่อกระบวนการวางแผนในโรงเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 <br /> <dd>นอกจากนี้ยังพบอุปสรรคที่สำคัญ คือ ผู้บริหารโรงเรียนไม่ให้ความสำคัญของการวางแผน ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวางแผน ขาดสถิติข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวางแผน ขาดงบประมาณสนับสนุน และขาดความร่วมมือจากโรงเรียนภายในกลุ่ม ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้มีการเสนอแนะเห็นควรให้มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผน ทางโรงเรียนควรจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติต่างๆ ให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง และควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนและโครงการของโรงเรียน

The research was intended (1) to investigate the nature of the task performance according to the planning process constituting preplanning, planning, plan implementation, and follow-up and evaluation of planning as perceived by school administrators and teachers in primary schools under the Office of Provincial Primary Education in Changwat Pattani, (2) to compare the perceptions of the task performance according to all four phases of the planning process as perceived by school administrators and teachers with different work experiences and school sizes under which the subjects had worked, and (3) to gather existing issues and problems on planning process as well as suggestions for the future improvement of planning process. The samples under study were 134 administrators and 352 school teachers in primary schools under the Office of Provincial Primary Education, Changwat Pattani. The instrument for the data collection was a questionnaire comprising three parts: part one was a questionnaire on the respondents background information; part two consisted of a rating-scale check-list on various phases of the planning process in primary school, and part three dealt with an open ended questionnaire on issues, problems of and suggestions for planning process in primary schools. In the data analysis, some basic statistical procedures were employed for the value of percentage, arithmetic mean, standard deviation, a t-test and an F-test.<br /> Findings were as follows : <br /> 1. The nature of the task performance according to the planning process in primary schools of the school administrators as perceived by school administrators and teachers was overall at a medium level. Upon considering individual phases of the planning process, phases of preplanning, planning, and plan implementation were viewed by school administrators as being at a high level whereas those phases of follow-up and evaluation were viewed as being at a medium level. For school teachers views of the task performance of the planning process, phases of pre-planning, plan implementation, follow-up and evaluation were perceived as being at a medium level where as the planning phase was perceived as being at a high level. <br /> 2. A statistical difference between perceptions of the task performance according to all four phases of the planning process in primary schools by school administrators and teachers was found at the .01 level of significance. <br /> 3. There was no statistical difference (p>.05) between perceptions of the task performance according to the planning process in primary schools as viewed by administrators with different work experiences and sizes of schools under which they worked. <br /> 4. There was no statistical difference (p>.05) between perceptions of the task performance according to the planning process in primary school as viewed by teachers with different work experiences and size of schools under which they worked. <br /> Furthermore, comments made as being issues and problems of the administrators task performance according to the planning process in primary schools were the following: primary school administrators did not take the school planning as being important; there was a lack of understanding in the school planning among school administrators as well as teachers; no concrete statistics on the matter was readily available for such planning; there was a severe lack of funding to support such a planning process, and there was a lack of cooperations in the planning process among primary schools of the same academic clusters. In order to solve these problems, it was suggested by the school administrators and teachers that there should be seminars and workshops on planning processes; there should be a continuous gathering of the relevant data and information concerning the schools; and periodical eveluation of the task performance according to the school plans and programs.
     ผู้ทำ/Author
Nameควง มุกสง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบาญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 64-99)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 100-125)
บทที่ 5 บทสรุป การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
     Contributor:
Name: อำภา บุญช่วย
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2534
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4260
     Counter Mobile: 31