|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | บทบาทของการบริโภคอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลต่อรูปแบบการบริโภคอาหาร ของชาวไทยมุสลิมกลุ่มต่าง ๆ ในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง / The Role of Industrial Halal Food Consumption on Food Consumption Pattern of Various Groups of Muslim in Southermost Provinces, Thailand | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | ????วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจ รูปแบบการบริโภคอาหาร และสารอาหารของคนกลุ่มต่างๆ บทบาทของการบริโภคอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลต่อรูปแบบการบริโภคอาหารการตลาดของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ของคนกลุ่มต่างๆ ใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เครื่องมือและวิธีการ เป็นการศึกษาแบบ Cross-sectional ครัวเรือนที่ศึกษาจำนวน 90 ครอบครัวกับสมาชิกในครอบครัวทุกคน สมาชิกในครอบครัวจะถูกถามเกี่ยวกับการบริโภคอาหารในหนึ่งวันโดยใช้แบบสอบถามการบริโภคอาหารในรอบ 24 ชั่วโมง และร้านจำหน่ายอุตสาหกรรมฮาลานจำนวน 90 ร้านค้า ซึ่เจ้าของร้านอาจเป็นสามี หรือภรรยาเป็นผู้ที่ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและความถี่ของปริมาณอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลจำนวน 76 อย่างที่จำหน่ายทุกวัน ทุกสัปดาห์ และทุกเดือน ใน 4-5 อำเภอในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส <br />
????ผลและการสรุปผลจากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากรที่ศึกษาอายุระหว่าง 2-35 ปี บริโภคอาหารจานเดียวสูงที่สุด ส่วนคนที่มีอายุมากกว่า 35 ปี บริโภคอาหารทอดสูงที่สุด ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารชนิดเดียวที่อายุระหว่าง 2-35 ปี และมากกว่า 35 ปี ได้รับเท่ากับหรือมากกว่า RDA ของประเทศไทย ส่วนการได้รับสารอาหารชนิดอื่นๆ ทุกกลุ่มอายุได้รับปริมาณที่ต่ำกว่า RDA ของประเทศไทย กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 2-17 ปี มีเปอร์เซ็นการบริโภคอาหารฮาลาลในชีวิตประจำวันในสัดส่วนที่สูงที่สุด อาหารที่มีปริมาณการขายที่สูงที่สุดและขายได้ทุกวันในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส คือข้าวเกรียบต้างๆ และเวเฟอร์ นมข้นหวาน ปลากระป๋อง ถั่วลิสงทอด ถั่วลันเตาอบกรอบ และน้ำปลาผู้บริโภคได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอาหารฮาลาลดังนี้ กระบวนการผลิตเน้นความถูกต้องตามหลักศาสนา มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารตามหลักโภชนาการ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ปรุงอาหารควรเป็นมุสลิมที่เข้าใจเกี่ยวกับหลักการอิสลาม เปิดโอกาสให้หน่วยงานท่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศตรวจสอบความถูกต้องอย่างตรงไปตรงมา<br />
????ปัจจุบันมุสลิมเป็นผู้ผลิตน้อย จึงมีตัวเลือกน้อยควรผลิตอาหารฮาลาลให้มากกว่านี้จากผลการศึกษาบ่งบอกถึง ความต้องการให้มีชนิดของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลมากขึ้นเพื่อเป็นตัวเลือกให้มากขึ้น ควรมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในอนาคต Objective of this study is to determine food consumption pattern of various age group, the role of industrial halal food intake in daily life consumption, economic of study samples and industrial halal food marketing. Design and method; A cross-sectional stady was conducted in 4-5 Amphurs in Pattani, Yala, Narathiwat provinces. Three groups were studied: 90 owner of industrial halal food shops, 90 families and family members in the villages in pattani, Yala, Narathiwat provinces. The owners of shops were asked about general information and the amount of 76 items of industial halal foods sold out daily, weekly and monthly. Representative members of the families were asked about socio-demographic information and food frequency intake using food frequency questionnaire. Family members were asked about food intake for one day using 24 dietary recall. Result and conclusion; Based on the analysis; 1)2-35 years of age is popular intake single dish while>35 years old popular eaten food. There was only iron intake of 2-25 years old and >35 years old were met Thailand RDA. The other nutrients of all age groups were lower than Thailand RdA. 2) 2-4 years of age had the highest percent consumption industrial halal food in daily life. 3) Popular food which were highest amount sold daily in Pattani, Yala and Narathiwat provinces were crisp cake and wafer, sweet condesed milk, conned fish fried peanut and bake garden pea, fish sauce. The suggestion of the consumers were halal food processing shold be strictly emphasis in Islamic rule, allow related sector both national and international chek the quality clearly, and limitation of industrial halal food producred by Muslim, should increase more choice. This indicates the need of more choices of industrial halal food marketing. Establishment of industrial halal food committee in the South is required and nutritive halal food production is important in future life. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านสุขภาพอนามัย --อาหารและการบริโภค ด้านเศรษฐกิจและสังคม --นโยบายและการพัฒนา อาหารฮาลาล |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2545 | |||||||||||||||||||||
Type: | งานวิจัย/Research Report | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 4062 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 36 | |||||||||||||||||||||