|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
พฤติกรรมการกินของประชาชนภาคใต้ของประเทศไทย / FOOD HABITS OF POPULATION IN SOUTHERN THAILAND |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพฤติกรรมการกินของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ทารก และเด็กวัยก่อนเรียน ทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดอน และที่ริมทะเลในจังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี พร้อมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินเหล่านั้น <br />
????โดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง พื้นที่ที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง อำเภอหนองจิก และอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยตั้งสมมติฐานว่า ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมที่อาศัยอยู่ในที่ดอนและที่ริมทะเลมีพฤติกรรมการกินที่แตกต่างกัน ทั้งพฤติกรรมการกินที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินของประชาชนกลุ่มดังกล่าวแตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งสัมภาษณ์และไปสังเกตพฤติกรรมการกินรวมทั้งสิ้น 273 ครอบครัว<br />
????นอกจากแบบสอบถามแล้วใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการวิจัย โดยมีนักวิจัยผู้ช่วยเป็นผู้ดำเนินการในหมู่บ้าน หลังจากรวบรวมข้อมูลภาคสนามแล้ว ใช้สถิติในการวิเคราะห์เพื่อทดสอบข้อมูลและพฤติกรรมการกิน <br />
????ผลการวิจัยพบว่าชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดอน และที่ริมทะเลมีพฤติกรรมการกินส่วนใหญ่แตกต่างกันแต่มีส่วนคล้ายคลึงกันบ้าง คือ การกินอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัว การกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะการกินผักและผลไม้น้อย ส่วนที่แตกต่างกัน คือ ชาวไทยพุทธกินผักมากกว่าชาวไทยมุสลิม
The purpose of the research is to investegate the food habits and the factors influencing them of : pregments and lactating women, infants and pre-school children. Both Thai-Buddhist and Mulim from coastal and inland villages of Songkhla and Pattani Provinces were includes in the study <br />
Hypothesis are as follows : 1) Thai-Buddhist and muslim from inland ans coastal villages have different food habits 2) Different factors influence food habits.<br />
The purposive sampling techique was used. Questionnaires and Participatory Action Research (PAR) methods were used for gathering information from 273 target families. Stepwise Multiple Regression Analysis was used in analysing the data. <br />
The result of the study showed that the Thai-Buddhist and Muslim from both inland and coastal villages have different food habits. There are some similarities in that family members eat together but the diets are not balances. Their diets are especially low in vegestables and fruits. The differences are that the Thai-Muslim's diet is lower in physicians and mid-wife for the Thai-Buddhists. Radio, television and teachers have only a very small influence on the Thai-Buddhists and almost none on the Thai-Muslims'food habits.<br />
In summary the study indicates that there are some differences in the food habits among the Thai-Buddhists, the Thai-Muslim, the coastal and the inlanders but not to the extent that they should be treated differently. The major treatment for both groups should be the increasing of their food and nutrition knowledge through various channels so that the people will know not only how to consume but also how to grow and prepare low-cost but highly nutritious foods. Attention Should also be given to the production and marketing of these foods in the villages. The study also implies that radio, television and teachers should be employed more often to help speed up this campaign better food habits.<br />
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | วัฒนา ประทุมสินธุ์ | Organization | | Name | ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ | Organization | | Name | สุมาลิกา เปี่ยมมงคล | Organization | | Name | มานพ จิตต์ภูษา | Organization | | Name | เพ็ญพักตร์ ทองแท้ | Organization | |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านสุขภาพอนามัย
--อาหารและการบริโภค
|
|
Contributor: |
Name: |
โครงการพฤติกรรมการกินแห่งอาเซี่ยน |
Roles: |
|
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2529 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
5930 |
|
Counter Mobile: |
33 |
|