ชื่อเรื่อง/Title ปรับปรุงพฤติกรรมการกินของประชากรเป้าหมายในภาคใต้ของประเทศไทย / Improvement of Food Habits of the Target Population in Southern Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract ????โครงการปรับปรุงพฤติกรรมการกินของประชากรเป้าหมายในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นงานต่อเนื่องจากงานวิจัยพฤติกรรมการกินของประชาชนในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งดำเนินการระหว่างปี 2528 ถึง 2529 และพบปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของพฤติกรรมการกินที่ไม่พึงประสงค์ เช่นการกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หญิงตั้งครรภ์ไม่กินอาหารบำรุงร่างกาย เพราะกลัวคลอดยาก หญิงระหว่างอยู่ไฟกินแต่ข้าวกับปลาแห้ง เพราะกลัวจะเกิดอันตรายแก่ตนเองและลูก เป็นต้น โครงการปรับปรุงพฤติกรรมการกินของประชากรเป้าหมายในภาคใต้ของประเทศไทยจึงได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการกินที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ โดยวิธีการ 5 วิธี คือ<br /> 1. การให้โภชนศึกษาแบบผสมผสาน คือ ให้ความรู้ด้านโภชนาการ การเกษตร ครัวเรือน การประกอบและการแปรรูปอาหาร และสุขอนามัย ั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ<br /> 2. การเพิ่มผลผลิตทางอาหารในหมู่บ้าน เป็นการพยายามที่แก้ปัญหาการกินผักน้อยและไม่กินผักของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพราะพบว่าการขาดอาหารที่ใกล้มือ และขาดความรู้ทำให้แม่บ้านไม่สนใจใช้ผักประกอบอาหาร<br /> 3. การส่งเสริมการทำอุตสาหกรรมอาหารในหมู่บ้าน ช่วยปรับปรุงพฤติกรรมการกินของประชากรเป้าหมายโดยเฉพาะเด็ก 1-5 ปีได้มาก โดยการผลิตอาหารเสริมเพื่อนำไปใส่ในอาหารให้แก่เด็ก<br /> 4. การส่งเสริมสุขอนามัยในหมู่บ้าน โดยการประกวดสุขภาพเด็ก ประกวดบ้านตัวอย่าง และประกอบอาหารคุณค่าสูงแต่ราคาประหยัด เพื่อส่งเสริมให้แม่ตื่นตัวในการบำรุงสุขภาพเด็ก มีการปรับปรุงอาหารครอบครัว สภาพแวดล้อมของบ้านและครัว เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะแม่และเด็ก<br /> 5. การเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของเด็กเป็นระยะเพื่อให้แม่ทราบสภาวะทางโภชนาการของลูก และช่วยให้แม่ฝ่ายโครงการและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ร่วมกันแก้ปัญหาที่พบ

The improvement of food habits of target population, from five villages in Southern Thailand is the continuation of work (Food Habits Project) carried out between 1985 and 1986. Many problems were found to be associated with improper food habits of the target groups studied. Pregnant women were found not to consume sufficient amounts of nourishing foods for fear of difficult delivery. During the 'yoon phai' phase,* women consume only rice and salty, dried fish to avoid perceived harm to themselves and their children.<br /> Other findings dealt with giving flour instead of colostrums to new born babies; giving sweetened condensed milk to babies instead of mother's milk; and a failure to give nutritious fruits and vegetables to babies and children for fear of causing illnesses. The selling of snacks containing dangerous additives in villages is believed to be one of the causes of improper eating habits and potentially injurious to children's health.<br /> Five approaches have been developed to help alleviate some of the problems encountered though the study. These approches are as follows;<br /> 1. Presenting Integrated Food and Nutrition Knowledge. such presentations of information included both theory and practice and were done through one-to-one and group contact, using video and audio cassettes, slides, 16 m.m. films and amplifiled sound systems. Post tests indicste that a range of 62 to 87 percent of pregnant and lactating women gained knowledge which could improve their food habits. A better attitude relative to accepting improved food habits was gained by 24 to 37 percent and 18 percent of the target group showed an actual improvement in foot habits.<br /> 2. Increasing Food Production in the Villages. Teaching gardening techniques and encouraging vegetables. A result of this approach was a shown increase of 58 persent vegetable comsumption by children 1 to 5 years old.<br /> 3. Promotion of Home Food Industry within Target Villages. This approach consisted of training and providing equipment to women groups. About two to six food stores were established in each village which began to sell nutritious snacks. Other food stores showed improvement in both food quality and level of sanitation.<br /> 4. Promotion of Proper Health and Hygiene in Villages. Practices of proper and hygiene were promoted in the villages through three contests : "Healthy child" for children 1 to 5 years old, "Demonstration House" which included cleanliness in hones, and composition and varieties of nutritious plants grown in gardens, and preparation of nutritious foods families.<br /> 5. Nutrition surveillance. Infants were weighed and measured at three-month intervals to let mothers know the nutritional status of their children. This cooperative program with local health personnel was geared to improve children's health. The results indicatted that the nutritional status of children in the target group showed a significant improvement.<br /> Conclusion in order to improve the food habits of the target population, it is necessary to use all five approaches described above. In addition, the use of these approaches benefit families in reducing expenses and converving income.
     ผู้ทำ/Author
Nameวัฒนา ประทุมสินธุ์
Organization
Nameสุมาลิกา เปี่ยมมงคล
Organization
Nameคณิตา นิจจรัลกุล
Organization
Nameมานพ จิตต์ภูษา
Organization
Nameบรรจง ไวทยเมธา
Organization
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัยและการดำเนินงาน
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุป อภิปราย และเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--อาหารและการบริโภค
--สุขอนามัยชุมชน
     Contributor:
Name: โครงการพฤติกรรมการกินแห่งอาเชี่ยน
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2531
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2779
     Counter Mobile: 34