ชื่อเรื่อง/Title ผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ในเขตชนบท จังหวัดปัตตานี / Performance of Primary Schools under the Educational Project for Rural Development in Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท จังหวัดปัตตานีตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูหัวหน้าโครงการ และครูผู้สอน ว่าอยู่ในระดับใด และเพื่อเปรียบเทียบระดับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท ตามความคิดเห็นของผู้บริการ ครูหัวหน้าโครงการ และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทต่างกัน จำนวนชั่วโมงที่สอนต่างกัน และขนาดของโรงเรียนต่างกันว่าแตกต่างกันหรือไม่ ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้บริหาร ครูหัวหน้าโครงการ และครูผู้สอนโรงเรียนในโครงการการเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท ปีการศึกษา 2534 จำนวน 300 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นได้วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ และการทดสอบรายคู่ของค่าเฉลี่ยโดยวิธีการของเชฟเฟ่ <br /> ????ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ <br /> 1. ผู้บริหาร ครูหัวหน้าโครงการ และครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่าระดับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท จังหวัดปัตตานี โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านมีอยู่เพียงด้านเดียวที่อยู่ในระดับมาก คือ ในด้านปรับปรุงการเรียนการสอนให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตได้ ส่วนในด้านอื่นๆอยู่ในระดับปานกลาง <br /> 2. ผู้บริหาร ครูหัวหน้าโครงการ และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทต่างกัน มีความคิดเห็นว่าระดับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการการศึกษา เพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทในด้านพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจให้เกิดความตระหนัก และยอมรับความจำเป็นในการพัฒนาชุมชนโดยพึ่งตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน <br /> 3. ผู้บริหาร ครูหัวหน้าโครงการ และครูผู้สอน ที่มีจำนวนชั่วโมงที่สอนต่างกัน มีความคิดเห็นว่าระดับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบททุกด้านไม่แตกต่างกัน <br /> 4. ผู้บริหาร ครูหัวหน้าโครงการ และครูผู้สอนที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นว่าระดับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทในด้านปรับปรุงโรงเรียนประถมศึกษาให้เป็นแหล่งข่าวสารเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน ด้านการปรับปรุงโรงเรียนประถมศึกษาให้เป็นศูนย์ประสานงาน ตลอดจนบริการด้านวิชาการและอาชีพเพื่อพัฒนาชนบท และด้านการปรับปรุงโรงเรียนประถมศึกษาให้เป็นศูนย์ส่งเสริมการกีฬา นันทนาการ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีในท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนในด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน

The research was intended (1) to investigate the performance levels of Primary Schools under the Educational Project for Rural Development (EPRD) in Changwat Pattani as perceived by school administrators, project teacher-heads, and teachers; and (2) to compare the extents to the performance levels of Primary Schools under the Educational Project for Rural Development (EPRD) in Changwat Pattani as percived by school administrators, project teacher-heads, and teachers in terms of difference in work experience, weekly teaching load, and school size. The Subjects under stydy consisted of 300 school administrators, project teacher-heads, and teachers in Primary Schools under the Educational Project for Rural Development in the academic year 1991 in Changwat Pattani. The instrument for data collection was a 5-point, Likert-scale quesitonnaire. Data were analyzed through the personal computer programme on statistical Package for Social Sciences (SPSS/PC+) for percentages, arithmetic means standard deviations, t-test, F-test and post hoc multiple comparison test by Scheffes method. <br /> Research results indicated that: <br /> 1. The subjects viewed that the overall performance of Primary Schools under the Educational Project for RuraL Development in Changwat Pattani was at a moderate level. When each aspect of performance considered separately, only one aspect being at a high level was that of instructional improvement for pupils self-development and quality-of-life; the rest of the performance aspects were at a moderate level. <br /> 2. The subjects with difference in work experience viewed that the primary schools performance on developing local personnel for better understanding and keen awareness and needs for self-reliance was significantly different at .05 level. For other as Opectrs of performance, no significant difference were found. <br /> 3. The subjects with difference in teaching load viewed that all aspects of Primary Schools performance were of no significantly difference. <br /> 4. The subjects with difference in school size viewed that three aspects of parimary schools performance, namely upgrading primary schools to be information centers for qualify-oflife in the community, upgrading primary schools to be coordinating centers for technical and vocational services, and upgrading primary schools to be centers for promoting sports, recreation, and culture in the local community were significantly difference was found.
     ผู้ทำ/Author
Nameสะมะแอ ดอเลาะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ (หน้า 1-32)
บทที่ 1 บทนำ (หน้า 33-49)
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
     Contributor:
Name: ทวี ทิมขำ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2536
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2202
     Counter Mobile: 36