ชื่อเรื่อง/Title สถานภาพประวัติศาสตร์อิสลามในหนังสือแบบเรียนระดับมัธยมศึกษา : ศึกษากรณีประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย / The Status of Islamic History in the Textbook at the Secondary Level : A Comparative Study of Thailand and Malaysia
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้<br /><br /> 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิสลามโดยวิเคราะห์จากหนังสือแบบเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่ใช้ในการเรียนการสอนในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย<br /><br /> 2) เพื่อศึกษาสาเหตุสำคัญที่เป็นที่มาในความแตกต่างของเนื้อหาสาระทางประวัติศาสตร์อิสลามจากหนังสือแบบเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่ใช้ในการเรียนการสอนในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย<br /><br /> 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสถานภาพประวัติศาสตร์อิสลามในแง่มุมต่างๆที่สามารถนำมาเปรียบกันได้<br /><br /> 4) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบถึงทัศนะของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ต่อการศึกษาและสถานภาพประวัติศาสตร์อิสลามในหนังสือแบบเรียนในระดับมัธยมศึกษา<br /><br /> <dd>ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์อิสลามจากหนังสือแบบเรียนในระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย<br /><br /> <dd>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /><br /> 1. ประวัติศาสตร์อิสลามมีความสำคัญและจำเป็นต่อเยาวชนมุสลิม ทั้งนี้การศึกษาประวัติศาสตร์อิสลามก็หมายถึงการศึกษาพัฒนาการเผยแพร่อิสลามยังดินแดนต่างๆทุกภูมิภาคของโลก การเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปในอดีตสามารถเขัาใจเรื่องราวในปัจจุบันได้ดีอีกด้วย ดังนั้นจึงพบว่า การเรียนวิชาประวัตศาสตร์อิสลามมีอยู่ในทั้งสองประเทศ เนื่องจากทั้งสองประเทศก็มีเยาวชนมุสลิมเช่นเดียวกัน<br /><br /> 2. การศึกษาประวัติศาสตร์อิสลามของทั้งสองประเทศในระดับมัธยมศึกษามีพัฒนาการมาเป็นระยะๆแม้ว่าหลักสูตรของประเทศมาเลเซียจะใหม่กว่าหลักสูตรไทย แต่ในแง่ของวิชาประวัติศาสตร์อิสลาม และเนื้อหาวิชานี้มีพัฒนาการที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ประวัติศาสตร์อิสลามของประเทศมาเลเซียถูกกำหนดมาเมื่อมีการประกาศหลักสูตรมัธยมศึกษาครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) ส่วนประเทศไทยกำหนดเป็นวิชาเลือกเสรี ตามหลักสูตรพ.ศ.2521 อย่างไรก็ดีประวัติศาสตร์อิสลามในประเทศมาเลเซียมีพัฒนาการที่ก้าวหน้ามากกว่าเนื่องจากมีความพร้อมหลายๆอย่างทั้งในแง่บุคลากรและงบประมาณ<br /><br /> 3. ประวัติศาสตร์อิสลามของประเทศมาเลเซียมีขอบเขตเนื้อหาที่แน่นอน เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้หน่วยงานเดียวเท่านั้น คือสภาภาษาและหนังสือ ตั้งแต่ระดับการสรรหาผู้แต่งจนถึงการตีพิมพ์ออกมา ในขณะประวัติศาสตร์อิสลามของประเทศไทยมีโรงพิมพ์คุรุสภาพเป็นผู้พิมพ์และจำหน่วย โดยผู้แต่งจะเป็นในนามของคณะกรรมการเรียบเรียงหนังสือ อย่างไรก็ดีสำหรับเนื้อหาประวัติศาสตร์ของประเทศมุสลิมในภูมิภาคต่างๆ ในหนังสือแบบเรียนสังคมศึกษา มีสำนักพิมพ์หลายสำนักพิมพ์ตีพิมพ์จำหน่ายซึ่งอาจมีเนื้อหาในรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง<br /><br /> 4. ความเหมือนกันของประวัติศาสตร์อิสลามในประเทศมาเลเซียและประเทศไทยมีทั้งในแง่พัฒนาการ หลักสูตร และการเรียนการสอนในปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างก็เช่นเดียวกัน มีทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าวด้วย โดยสรุปแล้วความเหมือนกันอยู่ที่ทั้งสองประเทศมีการเรียนการสอนประวัติศาสตร์อิสลามและได้กำหนดในหลักสูตรเช่นเดียวกัน ส่วนความแตกต่างกันอยู่ที่ความละเอียดของเนื้อหาและโครงสร้างหลักสูตร

The objectives of this research are 1) to study the background on the Islamic History through analysis from the textbook at the secondary level of Thailand and Malaysia 2) to study the main reasons of the different sources of Islamic historical matters in the textbook at the secondary level of both countries 3) to compere the status of Islamic History in various aspects and 4) to study the different points of view of the experts, from both countries, on the status of the Islamic History.<br /> The research had focused on Islamic History in the textbook at secondary level both in Thailand and Malaysia and those textbooks are followed to the secondary school curriculum. The lower Secondary Curriculum Year 2521 (amended 2533), the Upper Secondary Curriculum yaer 2524 (amended 2533), the Islamic Studies Curriculum for Lower Secondary level 2535 and the Islamic Studies Curriculum for Upper Secondary Level 2535. Some textbooks are directly concerned on the Islamic History while the others are not. The latter are partly from related subjects (i.c. World History, the History of Religion, the History of Europe). The matter on Islamic History in the textbooks on both levels in both countries are found. <br /> The results of the research are as follows;<br /> 1. The subject of Islamic History is important and necessary to the Muslim youth as this subject itself is about the development of preachingIslam to the several lands in the world. As a result, both countries offer the Islamic History.<br /> 2. Islamic history in both countries has been developed periodiclly even if the malaysia's is more developed. This subject had been changed and amened according to the announcement and amendment of its curriculum. Islamic History subject was first announced in 1962 together with the first secondary school curriculum, while in Thailand, Islamic History is one of the selective subjects according to the Secondary School Curriculum Year 2521. Nevertheless, Islamic History in Malaysia has been more advanced because of its having better preparation in terms of academicians and budgets.<br /> 3. Islamic History in Malaysia has a certain scope as the Ministry of Education had assigned the Council of Language and Literature (DBP) to manage the Islamic History subject textbooks from the beginning of the selection of the authors to the step of pubication, while in Thailand, the khrusapha Pulisher manages to publish and distribute Islamic History textbooks. However, in case of the subject matters relating to history of Muslim countries in different regions in the textbooks of Social Sciences, it was found that they had been published by various publishers with some different detailed matters.<br /> 4. The Islamic History taught in both Thailand and Malaysia was found in terms of its development, curriculum and current teaching and learning, while the differences also were found in those three aspects. Broadly speaking, the similarity was found in that the two countries have adopted teaching of Islamic History and incorporated it in their school curriculum, while the different aspects were mostly found in the details and structure of the curriculum.
     ผู้ทำ/Author
Nameดลมนรรจน์ บากา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Nameนุมาน หะยีมะแซ
Organization
Nameมูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ
Organization
Nameกาเดร์ สะอะ
Organization
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
ตัวย่อและสัญลักษณ์
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิสลาม...(หน้า 12-45)
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิสลาม...(หน้า 46-55)
บทที่ 3 การศึกษาประวัติศาสตร์อิสลาม...
บทที่ 4 การศึกษาประวัติศาสตร์อิสลาม...
บทที่ 5 วิเคราะห์เปรียบเทียบ...
บทที่ 6 ข้อพิสูจน์สมมุติฐานการวิจัย
บทที่ 7 สรุปผล
บรรณานุกรม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ประวัติศาสนา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2548
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 4486
     Counter Mobile: 50