ชื่อเรื่อง/Title อะชาอิเราะฮฺ: ประวัติ แนวคิด และอิทธิพลต่อหลักศรัทธาของมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้ / Asia irah: History, Ideas and Influences upon Muslim
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยมีวัตถุประสงค์<br /> 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิดและหลักการศรัทธาของอะชาอิเราะฮฺ <br /> 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลหลักการศรัทธาของอะชาอิเราะฮฺที่มีต่ออะกีตะฮฺมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้<br /> 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับหลักการศรัทธาของอะซาอิเราะฮฺของมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้<br /> <dd>โดยเก็บข้อมูลจากกล่มตัวอย่างจำนวน 409 ราย ประกอบด้วยอิหม่าม คอเต็บและบิลลาล 36 ราย สัปบุรุษ 383 ราย ดะโต๊ะยุติธรรมประจำศาล 3 ราย ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 3 ราย และรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 3 ราย<br /> <dd>ผลการศึกษาพบว่า<br /> 1. อะชาอิเราะฮฺเป็นสำนักคิดหนึ่งทางด้านอะกีดะฮฺในอิสลามเกิดขึ้นในสมัยอิมามอบุลหะสันอัลอัชอะรีย์ก่อนกลับตัวของท่านสู่แนวคิดสลัฟ หลักการของอะชาอิเราะฮฺคือใช้หลักฐานเหตุผลทางปัญญาก่อนหลักฐานจากตัวบลอัลกุรอานและอัลหะดีษ โดยเฉพาะในกรณีคุณลักษณะของอัลลอฮฺ จึงทำให้ปราชญ์หลายท่านในกลุ่มนี้มีความกระวนกระวายใจและกลับตัวในบั้นปลายของชีวิต อะชาอิเราะฮฺมีหลักการเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺว่า คุณลักษณะของอัลลอฮฺมีมากมายแต่จำเป็นสำหรับมุสลิมต้องรู้คือ 20 ประการและได้แบ่งคุณลักษณะดังกล่าวออกเป็น 4 ประเภทคือ ศิฟาตนัฟสียะฮฺ ศิฟาตสัสบียะฮฺ ศิฟาตมะนาวียะฮฺและศิฟาตมะอานีย์ ส่วนในอายาตที่พูดถึงศิฟาต อะชาอิเราะฮฺเห็นว่าจำเป็นต้องตีความหมายให้เป็นความหมายอื่นหรือมอบความหมายแด่พระองค์อัลลอฮฺเท่านั้นเพื่อจะหลีกเลี่ยงความเหมือนระหว่างพระเจ้ากับสิ่งถูกสร้งและเพื่อจะให้ความบริสุทธิ์ต่อพระองค์<br /> 2. การแพร่หลายและการมีอิทธิพลของอะชาอิเราะฮฺในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสาเหตุดังนี้ <br /> <dd>2.1 การแพร่หลายของปราชญ์ที่มีแนวคิดอะชาอิเราะฮฺ<br /> <dd>2.2 การแพร่หลายของสถาบันการศึกษา (ปอเนาะ)<br /> <dd>2.3 การแพร่หลายของหนังสืออะกีดะฮฺแนวอะชาอิเราะฮฺ<br /> 3. มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติและแนวคิดเรื่องอะชาอิเราะฮฺในเรื่อง อะชาอิเราะฮฺมีหลักการว่าเริ่มศาสนาต้องรู้จักใคร มากที่สุด และมีความรู้เกี่ยวกับอะบุลหะสันอัลอัชอารีย์คือใครน้อยที่สุด<br /> 4. ผู้นำศาสนาส่วนใหญ่มีแนวคิดแบบอะชาอิเราะฮฺ<br /> 5. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับประวัติและแนวคิดอะชาอิเราะฮฺกับอิทธิพลที่มีต่อทัศนะและความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดอะชาอิเราฮฺ ส่วนใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่มีเพียงบางเรื่องเท่านั้นที่สัมพันธ์กัน

The objectives of the study were 1) to study historical background, ideas and principles of belief of Asha irah 2) to study influencens of principles of belief of Asha irah upon Muslims in southern border provinces of Thailand 3) to study relationship between knowledge and principles of belief of Asha irah of Muslims in Southern Thailand <br /> Sample of the study were from southern border provinces (Pattani,Yala and Narathiwat) by collecting data from 409 samples consisting of 36 Iman, Khatib Billa, and383 Ma?mun.Moreover, the rescarcher conducted 9 in dept interviews covering 3 Dato , Qadhi,3 Chanirmen of provincial Islamic councils and 3 Dcputy Chairmen of provincial Islamic councils<br /> The finding of the study were as follows<br /> 1. Asha,irah was a school of thought in islarn emerged duting the time of lmam abulhasan al-ash?ari?. The main principle of Asha,irah was the use of intellectual reasoning (Aqli) prior to Qur,anic and hadith evidences (Naqli) especially issues pertaining the Attributes of Allah.This made some of the Ash,ari scholars uncomfortable and changed their position at the end of their lives. As regard to the Attributes of Allah, The Ash,ari believe that there are 20 Attributes of Allah which are necessay for muslims to know out of many Attributes. They divided them into 4 categorirs, namolr Nafsiyah, Ma nawiyah ,and Ma ani As for the verse of the Qur an regarding al-Khabariyat Attributa Asha,irah viewed that was a need to interprct into different meaning or leave it to Allah in order to free Him from similarities with ereaturcs.<br /> 2. The spread and influenees of Asha,irah in southern border provincees are due to the following:<br /> 2.1 The spread of of Asha,irah scholars.<br /> 2.2 The spread of educational institution (Pondok)<br /> 2.3 The spread of of Asha,irah writing on Creed.<br /> 3. Muslim in southern border provinces knew the history and thought of The Asha,irah regarding their teching that Whom to be known first when one learn lslam the most while knowing who was Abul-Hasan al- Asha,irah the least<br /> 4. Most of religious scholars were Asha,irah orinented scholars<br /> 5. There wes no significsnt relationship between knowledge of history and thought of Asha,irah with influencen upon opinions and of Asha,irah. However, there were some cascs still shown that there were relationship them.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameอีสมาแอ กาเต๊ะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2 อัลกุรอาน เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 51-84)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 85-118)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 199-151)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า152-185)
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ประวัติศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อับดุลเลาะ หนุ่มสุข
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2547
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 11400
     Counter Mobile: 38