|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา<br />
การใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) เพื่อ<br />
ประเมินการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551<br />
3) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน<br />
พุทธศักราช 2551 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ให้<br />
มีประสิทธิภาพ โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebram) ประเมินองค์ประกอบ<br />
ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตที่เกี่ยวกับหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่<br />
ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง<br />
โดยพิจารณาคุณสมบัติด้านคุณวุฒิ ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านหลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตร<br />
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และครูผู้สอนที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตาม<br />
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่<br />
การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย<br />
ประกอบด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Google forms) และสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษา<br />
พบว่า<br />
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตร<br />
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา<br />
ประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 พบว่า 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า หลักสูตรที่มีการสอน<br />
รายวิชาสามัญควบคู่ศาสนา มีรายวิชาที่มากเกินไป ทำให้เวลาเรียนไม่เพียงพอ 2) ด้านครูผู้สอน<br />
พบว่า ครูผู้สอนไม่ได้จบตรงสาขา ทำให้มีอุปสรรคในการใช้หลักสูตร ไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้<br />
ได้อย่างถ่องแท้ ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ถูกต้องได้ และ 3) ด้านการ<br />
จัดสรรงบประมาณ พบว่า โรงเรียนไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน เช่น ขาดแคลนหนังสือเรียน สื่อการ<br />
สอนต่าง ๆ<br />
2. ความคิดเห็นของครูต่อการประเมินการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตร<br />
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใน 4 ด้าน ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้าน<br />
กระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก<br />
3. ผลการวิเคราะห์แนวทางการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลาง<br />
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา<br />
ประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพ ควรมีแนวทาง ดังนี้ 1) การจัดการเรียนการสอนแบบ<br />
บูรณาการรายวิชา 2) การเลือกเครื่องมือการเรียนรู้ สื่อทำมือ และสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เหมาะสม<br />
สำหรับการเรียนรู้อิสลามศึกษา 3) การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะด้านงบประมาณ<br />
ในการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ เช่น หนังสือเรียน บุคลากรหรือวิทยากรอิสลามศึกษา การอบรมและ<br />
สัมมนา 4) การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้อิสลามศึกษาโดยการออกแบบกิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้<br />
และทักษะต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จริงและสามารถปฏิบัติได้ (5) การวัดและ<br />
ประเมินผลด้วยวิธีที่หลายหลาย เช่น การใช้แบบทดสอบเพื่อวัดความความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่<br />
เรียนและแบบสังเกตเพื่อประเมินการปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม 6) การติดตามการใช้หลักสูตร<br />
อิสลามศึกษาโดยการนิเทศติดตามและประเมินความคืบหน้าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และ 7) การ<br />
ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาผ่านการทบทวนหลักสูตรและจัดกิจกรรมปรับปรุงการ<br />
เรียนรู้ตามผลการประเมิน
This study is survey research and aims to 1) examine the problems<br />
relating to the implementation of Islamic education curriculum based on the basic<br />
education core curriculum of B.E. 2551, 2) assess the utilization of Islamic education<br />
curriculum based on the basic education core curriculum of B.E. 2551, and 3) study<br />
the guidelines for effective implementation of Islamic education curriculum based on<br />
the basic education core curriculum of B.E. 2551 in schools under Pattani Primary<br />
Educational Service Area Office 2, using Stufflebeam?s model CIPP (Context, Input,<br />
Process, and Product). The sample includes six qualified individuals who were<br />
purposively selected based on their qualifications and expertise related to the<br />
curriculum. 100 teachers who teach Islamic education curriculum based on the basic<br />
education core curriculum of the B.E. 2551 in schools under Pattani Primary<br />
Educational Service Area Office 2 were randomly selected. The research tools consist<br />
of an online questionnaire (Google Forms) and semi-structured interviews. The study<br />
findings revealed the following:<br />
1. Results of analysis of the problems relating to the implementation of<br />
Islamic education curriculum based on the basic education core curriculum of B.E.<br />
2551 in Pattani Primary Educational Service Area Office 2 as follows: (1) the curriculum<br />
has an overwhelming amount of subjects, including general and religious subjects,<br />
which results in inadequate teaching time, (2) some teachers lack specialized<br />
qualifications, causing them to ineffectively transmit knowledge and develop appropriate learning plans, (3) budget allocation for Islamic education is insufficient,<br />
resulting in a lack of textbooks and teaching materials.<br />
2. The overall and each item score levels of teachers? opinion on the<br />
assessment of the use of Islamic education curriculum based on the basic education<br />
core curriculum of the B.E. 2551 in four aspects: context, input, processes, and<br />
outcomes were high.<br />
3. The results of the analysis of guidelines for effective implementing<br />
Islamic education curriculum based on the basic education core curriculum of the B.E.<br />
2551 in schools under Pattani Primary Educational Service Area Office 2 as follows: 1)<br />
the method of instruction and learning used was subject-integrated; 2) choosing<br />
appropriate learning tools, such as hands-on or interactive materials and digital media,<br />
for Islamic instruction; 3) securing funding for textbooks, staff, Islamic education<br />
instructors, training sessions, and seminars, among other things, from pertinent<br />
organizations; 4) creating educational activities that help students learn and grow in a<br />
variety of areas so they can acquire real-world experience and useful skills; 5) utilizing<br />
a variety of asseesment and measurement techniques, such as tests to measure<br />
students? knowledge and comprehension of the contents learned and observation<br />
assessment form to assess their application of Islamic principles; 6) following up Islamic<br />
education curriculum implementation and monitoring teaching and learning and<br />
evaluate their progress according to the established goals; and 7) Islamic education<br />
curriculum was revised and activities were arranged in accordance with assessement<br />
findings. |