ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการแพร่กระจายนวัตกรรมและการประชาสัมพันธ์สำหรับบัณฑิตอาสาเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Development of Innovation Diffusion and Public Relations Integration Model for Bundit Arsa to Create Awareness and Understanding in Solving Problems and Developing the Southern Most Provinces of the S
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีเป้าหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมการบูรณาการการ แพร่กระจายนวัตกรรมและการประชาสัมพันธ์สำหรับบัณฑิตอาสาเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความ เข้าใจในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดน ภาคใต้ (ศอ.บต.) ดำเนินการวิจัยโดยอาศัยการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องได้แก่ บุคลากรภาครัฐ บัณฑิตอาสา ประชาชนและผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยี เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยแบบสำรวจ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การฝึกอบรมและการทดลองปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่า PNI และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยนำไปสู่รูปแบบการบูรณาการการแพร่กระจายนวัตกรรมการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม ได้แก่ STCRIE ประกอบด้วย Setting คือ การเตรียมความพร้อมในเรื่ององค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินการการบูรณา การการแพร่กระจายนวัตกรรมและการประชาสัมพันธ์สำหรับบัณฑิตอาสา ได้แก่ การมีทีม (T-Team) การมีช่องทางสื่อสาร (C-Channel) การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริหารจัดการ (S-Support) และตัวแทนในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (R-Representative) ได้แก่ บัณฑิตอาสา Training คือ การฝึกอบรมและพัฒนาตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการในทักษะที่ จำเป็น เช่น ทักษะในการสื่อสาร การพูดในที่ชุมชน การผลิตสื่อ การผลิตคอนเทนต์ต่างๆ เป็นต้น Creating คือ การสร้างสรรค์สื่อคอนเทนต์ หรือ การเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่มีในรูปแบบ เอกสารเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบที่หลากหลาย ที่น่าสนใจ ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ ชีวิตประจำวัน สุขภาพ การศึกษา การทำงาน รวมถึงโอกาสพิเศษต่าง ๆ Relationship คือ การสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน ที่เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาและสร้าง ความก้าวหน้าให้แก่ชุมชน Integration of innovation diffusion and public relations คือ ขั้นการดำเนินกล ยุทธ์และปฏิบัติการในการการแพร่กระจายนวัตกรรมและการประชาสัมพันธ์ Evaluation คือ การประเมินระหว่างดำเนินการแต่ละขั้น เพื่อที่จะแก้ไขข้อบกพร่องในการ ดำเนินการ และการประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินการ เพื่อสรุปผลการแพร่กระจายนวัตกรรม

This research and development aimed to develop the innovation of integration of Innovation diffusion and public relations for Bandit Arsa to develop awareness and understanding in problem solving and developing the southern most provinces under the Southern Border Provinces Administrative Center (SBPAC). It was conducted through participation among stakeholders and contributors namely government personnel, Bandit Arsa, citizens and professionals of public relations and technology. Data were collected using surveys, interviews, discussions, training and practicality. The descriptive analysis, PNI values analysis and content analysis were used for the data analysis. The findings indicated the STCRIE model of integration of innovation diffusion and public relation - which consisted of: Setting referred to the preparation of necessary key elements in diffusion of innovation and public relation process for Bandit Arsa. The key elements included Team (T-Team), Communication channels (C-Channel), Support of facility and management (S-Support) and volunteers in leading changes of Bandit Arsa (R-Representative). Training was the training and developing important skills for particular person who took responsibility in each task i.e., communication skill, public speaking skill, media and content productions skill and etc. Creating was media and content production or the ability to change the available information in form of documents into any kind of interesting electronic media related to daily life, health, education, job and any special occasion. Relationship was to build up with the community during the process of integration. Integration of innovation diffusion and public relations was the strategic management and action in the community. Evaluation was to perform every single step to solve any defects in each process and the evaluation after completing all the processes to summarize the result of innovation diffusion.
     ผู้ทำ/Author
Nameศศิพิชญ์ นิลไพรัช
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: การจัดการความขัดแย้ง
     Contributor:
Name: วิชัย นภาพงศ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2566
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 183
     Counter Mobile: 0