ชื่อเรื่อง/Title สังคมมุสลิมในราชวงศ์ออตโตมาน (1299-1922) / MUSLIM SOCIETY IN THE OTTOMAN EMPIRE (1299-1922)
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ<br /><br /> 1) เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสถาปนาอาณาจักรออตโตมาน<br /><br /> 2) เพื่อศึกษาลักษณะสังคม การบริหารการปกครองและเศรษฐกิจของสังคมมุสลิมในยุคอาณาจักรออตโตมาน<br /><br /> 3) เพื่อศึกษาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสมัยสุลต่านแต่ละพระองค์<br /><br /> 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอาณาจักรออตโตมานกับต่างประเทศ<br /><br /> 5) เพื่อศึกษาอารยธรรมุสลิมในยุคออตโตมาน<br /><br /> <dd>ในการวิจัยครั้งนี้ โดยการวิจัยเอกสารทั้งภาษาตุรกี ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาไทย จากห้องสมุดทั้งในกรุงเทพ และปัตตานี<br /><br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า<br /><br /> <dd>ปาดีชะห์หรือสุลต่านอุษมาน เป็นผู้สถาปนาอาณาจักรอุษมานียะฮฺหรือออตโตมานเติร์ก ในปีค.ศ.1299 หลังจากที่สุลต่านอลาอุดดีน แห่งซัลจุกเติร์ก ได้สิ้นพระชนม์ และพระองค์ไม่มีรัชทายาทสืบบัลลังก์ต่อ อุษมานจึงเห็นว่าประชาชาติมุสลิมหรือชาวเติร์กจะขาดผู้นำไม่ได้ จึงได้ประกาศตนเป็นปาดีชะห์ปกครองอาณาจักรออตโตมาน (อุษมานียะฮฺ) จึงนับว่าพระองค์เป็นปาดีชะห์คนแรกแห่งราชอาณาออตโตมาน<br /><br /> <dd>สังคมออตโตมานแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นปกครอง และชนชั้นใต้ปกครอง มีปาดีชะห์หรือสุลต่านเป็นประมุขสูงสุด ใช้ระบบรัชทายาทสืบทอดตำแหน่ง มีสภาสูงสุดทำหน้าที่ดูแลกิจการของราชอาณาจักร ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวนาและชาวสวน ส่วนในเมืองมีอาชีพค้าขายและช่างประเภทต่างๆและชนเร่ร่อนมีอาชีพเลี้ยงสัตว์<br /><br /> <dd>เหตุการณ์ที่เกิขึ้นในสมัยสุลต่านแต่ละพระองค์นั้น ในระยะแรกสุลต่านต้องขยายดินแดน ภายหลังก็ทำนุบำรุงบ้านเมือง ส่วนใหญ่เป็นการทำสงคราม การก่อกบฎ การแย่งอำนาจ การชิงดีชิงเด่น และการคอรัปชั่นของข้าราชการ<br /><br /> <dd>ความสัมพันธ์ระหว่างต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ทางการค้าขาย และเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาที่ได้ตกลงกัน<br /><br /> <dd>อารยธรรมในอาณาจักรออตโตมาน ส่วนใหญ่จะเป็นอารยธรรมทางด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งปรากฎให้เห็นในรูปแบบของการก่อสร้างพระราชวัง มัสยิด สุสานหรือวิทยาลัย และอาคารต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังมีอารยธรรมด้านวรรณคดี การแพทย์ วิชาการศาสนา นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ด้านภูมิศาสตร์ และดาราศาสตร์

This research is aimed at 1). conducting research about the establishment of the ottoman Empire, 2). studying the characteristics of the society, administration and economic condition of the Muslim community in the reign of Ottoman Empire, 3). involving the evidence occurred during the age of each sultan, 4) dealing with the relationship of Ottoman Empire with foreign domains, and 5) looking at the Muslim civilization during the Ottoman Empire. <br /> In this study, the researchers depend thier works solely on the books, texts, documents in Turkish, English, Bahasa Melayu, Indonesia, and Thai found in the Central Library in Bangkok, the Library of Thammasat University, the Library of Srinakarinvirot University-Prasanmitr, and the John F. Kennedy Library, Prince of Songkla University, Pattani Campus.<br /> The result of the research shows that the Padishah or the Ottoman Sultan is the founder of the ottoman Empire in 1299. This was after the death of Sultan Ala'uddin of Suljuk Turk. Because of having no heir succeeding him, the Ottoman Sultan saw that Turkish Muslim could not stay without a leader leading the country, he than took responsibility declaring himself as a Padishah ruling the Ottoman Empire and become the first ruler of the empire. <br /> In fact, the Ottoman society has been divided into two clases : the ruling class and the subjects. The Sultan kept his sovereignty using heir system the empire along which the Empire State is run by the Imperial council.<br /> The majority of the people are farmers by profession. Those who live in downtowns and cities depend themselves on trades and artisan; while the normads are earning their living through the livestocks.<br /> What happend in the reign of each sultan is that at the early period, the sultan has to extant this toritoies; and later on turned to take care the preserve the country. This involved in war, coup de'ta fighting to gain power and demolishing the corruption of the officials.<br /> The relation with foreign domains is mostly involved with trades and merchandise and agreed upon for the mutual benefits.<br /> The major civilization of the Ottoman Empaire has been profoundly engraved on the architectures that be seen the structure of palaces, Mosques, graveyards or colleges and complexes. Besides, threre are also civilizations found in literature, medical science, religion, laws, history, geography and astronomy.
     ผู้ทำ/Author
Nameดลมนรรจน์ บากา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Nameนูรุดดีน สารีมิง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Nameมูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 การสถาปนาราชวงศ์อุษมานียะฮฺ... (หน้า 5-34)
บทที่ 2 การสถาปนาราชวงศ์อุษมานียะฮฺ... (หน้า 35-69)
บทที่ 2 การสถาปนาราชวงศ์อุษมานียะฮฺ... (หน้า 70-96)
บทที่ 3 ลักษณะสังคม เศรษฐกิจ... (หน้า 97-136)
บทที่ 3 ลักษณะสังคม เศรษฐกิจ... (หน้า137-150)
บทที่ 4 อารยธรรมสมัยษมานียะฮฺ
บทที่ 5 บทสรุป
บรรณานุกรม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ประวัติศาสนา
อิสลามศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2540
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 6841
     Counter Mobile: 37