ชื่อเรื่อง/Title ชีวประวัติของเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ :ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทในการพัฒนาสังคมมุสลิมในจังหวัดสตูล / The Biography of Cik Abdullah Langputih : A Case Student of His Roles on Muslim Social Development in Satun Province
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ <br /><br /> 1) ศึกษาชีวประวัติ ผลงานทางด้านวิชาการและแนวคิดในการพัฒนาสังคมมุสลิมของเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ <br /><br /> 2) ศึกษาบทบาทในการพัฒนาสังคมมุสลิมของเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ<br /><br /> <dd>โดยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมมุสลิมในจังหวัดสตูล ภาวะผู้นำของเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ การสัมภาษณ์บุคคลที่มีความใกล้ชิดและผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ<br /><br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า<br /><br /> <dd>แนวคิดในการพัฒนาสังคมมุสลิมของ เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ มีดังนี้<br /><br /> 1. แนวคิดในการพัฒนาสังคมมุสลิม<br /><br /> <dd>เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาสังคมมุสลิมกับรัฐบาล ให้รัฐบาลนั้นเข้าใจถึงการนับถือศาสนาและวัฒนธรรมของประชาชนและต้องไม่กระทำสิ่งกระทบกระเทือนจิตใจของประชาชน รัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนท้องถิ่นมีสิทธิปกครองตนเอง ประชาชนท้องถิ่นย่อมเข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียบ ประเพณี และศาสนาของตนเป็นอย่างดี<br /><br /> 2.แนวคิดการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม<br /><br /> <dd>เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ได้นำเสนอแนวคิดการใช้ชีวิตร่วมกันของผู้ที่นับถือศาสนาที่แตกต่างกัน ซึ่งทุกคนจะต้องตระหนัก เรียนรู้ เข้าใจ และเคารพสิทธิในการนับถือศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และไม่มีการบังคับเปลี่ยนแปลงรูปแบบศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมของกันและกัน<br /><br /> 3. แนวคิดเอกลักษณ์ความเป็นมุสลิม<br /><br /> <dd>เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะได้ให้แนวคิดกับมุสลิมทุกคนว่า มุสลิมทุกคนต้องรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นมุสลิมให้เป็นที่ประจักษ์สำหรับผู้อื่นด้วยสัญลักษณ์ที่บ่งบอกทั้งด้านการเป็นอยู่ การใช้ภาษา และการแต่งกาย<br /><br /> <dd>บทบาทในการพัฒนาสังคมมุสลิมจังหวัดสตูล มีดังนี้<br /><br /> 1. บทบาทในฐานะกอฎี-ดาโต๊ะยุติธรรม<br /><br /> <dd>เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทตามกฎหมายอิสลามกรณีประชาชนมุสลิมในจังหวัดสตูลมีปัญหาทางด้านครอบครัวและมรดก ท่านเป็นผู้ดำเนินการนัดประชุมอิหม่ามคอเต็บ บิลาลในจังหวัดสตูลให้เข้าใจถึงหลักการดำเนินการอบรมประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้ปฎิบัติตามหลักการศาสนาอย่างถูกต้อง<br /><br /> 2. บทบาทในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร<br /><br /> <dd>เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะเป็นตัวแทนประชาชนมุสลิมในจังหวัดสตูลในการนำเสนอเรื่าองราวของมุสลิมต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษามลายู การบรรจุครูสอนภาษามลายูในโรงเรียนประชาบาล นอกจากนั้น ท่านได้นำเสนอทางรัฐบาลให้หยุดทำงานราชการในวันศุกร์และวันเสาร์และขอให้ปิดโรงเรียนประชาบาลในเดือนรอมฎอน<br /><br /> 3. บทบาทในฐานะรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงศึกษาธิการ<br /><br /> <dd>เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นตัวแทนรัฐมนตรีในการสืบสวนหาสาเหตุความเดือนร้อนของชาวไทยมุสลิมทั้งในจังหวัดสตูล และ 3 จังหวัดใกล้เคียง (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ท่านเป็นผู้ประสานประนีประนอมทำความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน ท่านเป็นผู้ที่คอยตักเตือนมุสลิมทุกคนให้ตระหนักและปฎิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา<br /><br /> 4. บทบาทในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข<br /><br /> <dd>เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นตัวแทนมุสลิมในการนำเสนอให้รัฐบาลเข้าใจถึงการปฎิบัติตามหลักการศาสนาอิสลาม<br /><br /> <dd>จากการที่เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ มีโอกาสเข้าทำงานในตำแหน่งต่างๆ ทั้งทางด้านศาสนาและการเมือง ทำให้ท่านมีบทบาทในการพัฒนาสังคมมุสลิมในจังหวัดสตูล จังหวัดใกล้เคียงอย่างเห็นได้ชัดเจน บทบาทของท่านที่เป็นที่ประจักษ์สำหรับชุมชนมุสลิมและเป็นความทรงจำสำหรับพี่น้องชาวสตูลนั่นก็คือ การเป็นต้นแบบในการรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นมุสลิมให้กับคนรุ่นหลัง เป็นผู้ปลูกฝังจิตสำนึก ความตระหนักที่ดีงามตามแนวทางของศาสนา เป็นผุ้ทำงานที่ช่วยสร้างความเข้าใจและช่วยตัดสินปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะเรื่องครอบครัวและมรดกของมุสลิมจังหวัดสตูล เป็นผู้ประสานความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นตัวแทนประชาชนจากจังหวัดสตูลในการนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาสังคมมุสลิมในระดับชาติ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดความภาคภูมิใจสำหรับพี่น้องมุสลิมในจังหวัดสตูล และพี่น้องมุสลิมโดยทั่วไป

The objectives of this syudy are 1) to study the biography of Cik Abdullah Langputih 2) to study the acadomic achicvement and the thought on Muslim social development of Cik Abdullah Landputih. <br /> This research was made on documentary sources by collecting data about the Muslim social development in Satun province, the biography of Cik Abdullah Langputih derived from primary, secondary and tertiary sources. This was collected from the interviewers closer to him as well as those who know him. The obtained data were classified into titles and sub-titles then analysised the roles on Muslim social development of Cik Abdullah Langputih in Satun Province.<br /> As a result, the thoughts on Muslim social development of Cik Abdullah Langputih in Satun Province are as follows:<br /> 1) The thought on Muslim social development Cik Abdullah Langputih has presented to government ways how to develop the Muslim society through understanding the religion and culture of the people. The government should provied people an opportunity to rule their own community because they can understand their lives, custom and religion as well.<br /> 2) The thought on the share-living in the society<br /> Cik Abdullah Langputih has presented his thought on the way of life among people different religions and customs of cach others. They shold respect each other's right and not to force others to change the pattern of culture, custom and religion.<br /> 3) The thought of Muslim Identity Cik Abdullah Langputih has emphasized to all Muslim that they should observe, Muslim identity, and keep the Muslim-life-symbol, the usage language and dressing.<br /> The roles on Muslim social development of Cik Abdullah Langputih in Satun Province are as follows:<br /> 1) As a Dato' Yuttitum<br /> Cik Abdullah Langputih is a Muslim judge judging the problem on Islamic law, family law and inheritance in Satun province, sharing a meeting of Imams, Khatibs and Bilals by making them clear on how to educate people to know thw principle of Islam.<br /> 2) As a Member of Parliament<br /> Cik Abdullah Langputih, a Muslim representative in Satun province ask the government to provide the Malay language with fill a position teachers in rural primary school. Besides, he suggested that the school should close on Friday, Saturday and in the month of Ramadhan.<br /> 3) As a Deputy Minister of Education <br /> Cik Abdullah Langputih is a representative to the Ministry. His responsibility is to conduct investigation the causes of Muslim distree in Satun province and other three provinces (Pattani, Yala, and Narathiwas). He is a person who could compromise the matter among the government officers and the public in case of misunderstanding.<br /> 4) As a Deputy Minister of Public Health<br /> Cik Abdullah Langputih is a Muslim representative who made the government know and understand the Islamic practices.<br /> From this models that become remembrance to the Muslim people in Satun are the Muslim identity of the later generations. The engraver of inner consciousness towards the beauty of religion, the constructive helper in making decision occurring in the community, especially in the family and inheritance matters of the Muslims in Satun. He is also an excellent compromiser between the government and people. His role as a representative of Satun in giving ideas on developing Muslim communities level makes the Muslim Satun pround of him even today.
     ผู้ทำ/Author
Nameมารียา อาสะหนิ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 พัฒนาการทางสังคมมุสลิม...
บทที่ 3 ชีวประวัติของเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ
บทที่ 4 บทบาทในการพัฒนาสังคมมุสลิม...
บทที่ 5 บทวิเคราะห์
บทที่ 6 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ผู้นำชุมชน
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: หะสัน หมัดหมาน
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2548
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 5267
     Counter Mobile: 54