ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาวิชาฟิกฮฺในสถาบันศึกษาปอเนาะในเขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี / Fiqh Study in Pondok Institute in Yarang District Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการศึกษาวิชาฟิกยุในสถาบันศึกษาปอเนาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาสภาพการศึกษาวิชาฟิกฮฺในสถาบันศึกษาปอเนาะในเขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และ 3) เพื่อศึกษาทัศนะของโต๊ะครูและผู้ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการเรียนการสอนวิชาฟิกฮฺในสถาบันศึกษาปอเนาะในเขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลและได้กำหนด<br /><br /> กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) โต๊ะครูสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 7 คน 2) ผู้ช่วยโต๊ะครูสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 5 คน และ 3) ผู้เรียนสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 6 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 18 คน และใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้<br /><br /> การศึกษาพบว่า ได้พัฒนาการศึกษาวิชาฟิกฮฺในสถาบันศึกษาปอเนาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า พัฒนาการของหนังสือหรือตำราวิชาฟิกฮฺในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ เริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 จนถึงศตวรรษที่ 19 ของคริสตศักราช และหลังจากต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับปัจจุบันสถาบันศึกษาปอเนาะยังคงใช้ตำราวิชาฟิกฮฺเดิมที่เคยได้เล่าเรียนจากโต๊ะครูในอดีต เพราะมองว่าตำราวิชาฟิกฮฺที่นำมาใช้สอนนักเรียนนั้นถือเป็นตำราที่มีความบารากัต ด้วยตำราวิชาฟิกส์เหล่านี้โต๊ะครูก่อนๆ สามารถสร้างคนที่มีคุณภาพในสังคมทุกวันนี้ได้ สำหรับพัฒนาการของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาฟิกฮฺในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในตอนแรกใช้บาไลหรือบ้านโต๊ะครู รวมถึงมัสยิดเป็นสถานที่ในการเรียนการสอนต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นห้องเรียนสี่เหลี่ยม มีโต๊ะเก้าอี้ซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามสำหรับสถาบันปอเนาะแล้วพัฒนาการศึกษาวิชาฟิกฮุยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก เนื่องการศึกษาเกี่ยวกับวิชาฟิกฮฺในสถาบันศึกษาปอเนาะยังคงดำรงเป็นไปตามที่สิ่งที่โต๊ะครูในอดีตได้สืบทอดกันมา เพราะการศึกษาวิชาฟิกฮฺที่ครูบาอาจารย์ได้ถ่ายทอดมานั้นเป็นสิ่งที่ดีแล้ว และเหมาะสำหรับผู้สนใจเล่าเรียนรู้เพื่อเป็นความรู้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน<br /><br /> <br /><br /> สภาพการศึกษาวิชาฟิกฮฺในสถาบันศึกษาปอเนาะ พบว่า สภาพของตำราในการเรียนการสอนวิชาฟิกอุส่วนใหญ่เป็นตำราที่โต๊ะครูปอเนาะนิยมสอนกันมาตั้งแต่อดีตซึ่งเป็นตำราที่ที่ได้รวบรวมกันของบรรดาอุลามาอุปัตตานีในอดีตและอุลามายุจากทั่วโลกในสังกัดมัซฮับชาฟีอีย์ โดยเฉพาะตำราชื่อ ซิรอลฮูดา ของท่านเชคมูหัมมัด ไซนดคืน บิน มูหัมมัดบะตาวีย์อัสสะมาวีย์มุนยาตุลมูซอลลีย์ฯ และ มัฏละอุลบัดรอยน์ ของท่านชัยๆดาวูดอัลฟาฏอนี หรือ ดาวูด บิน อับดุลเลาะห์อัลฟาฏอนี ฮิดายะตุศศิบยาน ของท่านอาบูอับดุลลอย อุซัยน์นาซีร บิน มูฮัมหมัดตัยยีบิลมัสอูดีย์ (อัลบันญารีย์) และอิอานะตุฏฏอลิปืน ของท่านอัชชัยยิดอะบีนักร บิน อัซซัยยิดมุฮัมหมัดชะฎออัดดิมยาฎีย์ ซึ่งตำราเหล่านี้ถือเป็นตำราหลักที่ใช้สอนเกี่ยวกับวิชาฟิกฮฺในสถาบันปอเนาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมถึงปอเนาะในพื้นที่อำเภอยะรังด้วย และตำราที่ใช้ในการสอนวิชาฟิกฮฺมีอยู่มากมายได้แตกแผนกออกจากตำราที่นิยมสอนกันในปอเนาะมีทั้งภาษาญาวีและอาหรับ เรียนการสอนวิชาฟิกฮุส่วนใหญ่อ่านให้ฟังแล้วแปลความหมาย แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังและเขียนหรืออ่านแบบให้นักเรียนมีความสงสัยและเน้นการถาม และสังเกตในจุดที่ยาก ๆ และง่ายก็เช่นกัน พร้อม ๆ กับการปฏิบัติ โดยให้นักเรียนฝึกปฏิบัติและลงมือทำจริง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องอิบาดาต รวมทั้งเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องการดำเนินชีวิตประจำวัน<br /><br /> ทัศนะของโต๊ะครูและผู้ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการเรียนการสอนวิชาฟิกฮฺในสถาบันศึกษาปอเนาะ พบว่า ความคิดเห็นต่อตำราวิชาฟิกฮฺในสถาบันศึกษาปอเนาะว่าเป็นตำราที่ทรงคุณค่ามากมาย ความบารากัดที่เกิดจากความตั้งใจของบรรดาอุลามาอุปัตตานีและอุมาลาอุทั่วโลก ในการรวบรวมตำราเหล่านี้สามารถทำให้เกิดผลผลิตที่สร้างคุณค่ากับสังคมเราอย่างมากมาย เป็นตำราที่คนนับถือตั้งแต่อดีตและมีเส้นสายเชื่อมต่ออุลามาอที่ชัดเจน สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาฟิกฮุส่วนใหญ่มีทัศคติที่ดีต่อรูปแบบและวิธีการเรียนการสอนวิชาฟิกฮฺใน<br /><br /> สถาบันศึกษาปอเนาะในปัจจุบัน เนื่องจากรูปแบบและวิธีการสอนของโต๊ะครูจากอดีตถึงปัจจุบันล้วนแล้วมีความเหมือนกัน คือใช้รูปแบบ (226) เป็นหลัก ความแตกต่างก็ตรงที่อดีตจะไม่มีเทคโนโลยี ผู้สอนแค่สอนอธิบายบนกระดานนิด ๆ แต่สมัยปัจจุบันบางเรื่องบางปัญหาเปิดให้นักเรียนดูในคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดีมากขึ้น

     ผู้ทำ/Author
Nameมูฮำหมัด ยานยา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
     Contributor:
Name: กาเดร์ สะอะ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2562
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 297
     Counter Mobile: 10