ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การวิเคราะห์เนื้อหาความเป็นพลเมือง ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาแนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนและลักษณะความเป็นพลเมืองที่โรงเรียนต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำให้ได้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพ การบริหารสถานศึกษา แนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนและลักษณะความเป็นพลเมืองที่โรงเรียนต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เขตพื้นที่ ละ 1 โรง รวมทั้งสิ้นจำนวน 9 โรง แต่ละโรงเรียนมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครอง รวมทั้งสิ้น 27 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ถึงโครงสร้าง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อให้ได้ประเด็นสำคัญสำหรับการร่างรูปแบบ ระยะที่ 2 การร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการโดยนำร่างที่สังเคราะห์ขึ้นนำเข้าสู่การสนทนากลุ่ม (Focus group) ร่วมกัน พิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนในสถานศึกษา โดยการนำร่างรูปแบบไปทดลองใช้และพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 9 โรง เป็นเวลา 1 ภาคเรียน โดยมีการติดตามและพัฒนารูปแบบจำนวน 2 ครั้ง และระยะที่ 4 การสรุปและยืนยันรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการโดยนำร่างรูปแบบที่ผ่านการทดลองใช้และพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาเข้าสู่การสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีลักษณะเป็นรูปแบบการบริหารเชิงระบบซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ด้าน ดังต่อไปนี้<br /><br /> 1. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยสถานศึกษามีการศึกษานโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จุดหมายของการจัดการศึกษา แนวทางการสร้างความเป็นพลเมือง แนวทางการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และมีการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล<br /><br /> 2. ด้านกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมือง 2) การจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมือง และ 3) การจัดกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมือง<br /><br /> 3. ด้านผลผลิต (Output) ประกอบด้วยลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียน ได้แก่ 1) มีวินัย เคารพกฎ กติกาของสังคม 2) รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม 3) เคารพสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และ 4) ปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ

The purpose of this research was to develop a school administration model for promoting the citizenship of students in basic education in three southern border provinces. Research methods consist of 4 phases including, phase 1 citizenship content analysis. This phase studied about the conditions of school administration, guidelines for promoting the citizenship of students and citizenship that the school wants to strengthen students. This phase comprises 2 steps as follows, step 1 was the study of the concepts, theories, documents, text book and related research in order to formulate research conceptual framework. Step 2 was the study of the conditions of school administration, guidelines for promoting the citizenship of students and citizenship that the school wants to strengthen students of schools in all Primary Educational Service Area Office in Pattani, Yala and Narathiwat each with a total of 9 schools. Each school had the purposeful selection key informants, consisting of 1 school administrator, 1 teacher and 1 parent, totaling 27 people, Data were collected by using semi-structured interview form with in-depth interviews and analyzed by using content analysis in order to obtain important issues for drafting of school administration model. In phase 2, drafting the model of school administration for promoting the citizenship of students in basic education in three southern border provinces. This phase conducted by bringing the draft of the school administration model into focus group discussion with experts. The focus group discussion for considered the appropriateness and feasibility of the draft of the school administration model for promoting the citizenship of students in basic education in three southern border provinces. In phase 3, the development of school administration model for promoting the citizenship of students in schools by trialing and developing together with 9 schools under the Primary Educational Service Area Office in three southern border provinces for 1 semester in order to monitor and develop the school administration model for 2 times. And phase 4, the summarization and confirmation of the model of school administration for promoting the citizenship of students in basic education in three southern border provinces. This phase conducted by bringing the draft of the school administration model which had been trialed and developed together with schools into focus group discussion with experts. The focus group discussion aimed to confirm the school administration model for promoting the citizenship of students in basic education in three southern border provinces. The research was found that the school administration model for promoting the citizenship of students in basic education in three southern border provinces was characterized as a system management model which has 3 components as follows,<br /><br /> 1. Input: The school have studied the policies and laws that are relevant to the goals of educational management, citizenship guidelines, guidelines for promoting morality and ethics and to study students individually.<br /><br /> 2. Process : Including, 1) School administration for promoting the citizenship of students. 2) Teaching and learning management promoting the citizenship of students, and 3) Organizing extra activities promoting the citizenship of students<br /><br /> 3. Output: Including the citizenship characteristics of students namely, 1) Discipline, respect the rule of society. 2) Responsible for oneself and others. 3) Respect the rights, freedom and human dignity and 4) Follow the religious principles.
     ผู้ทำ/Author
Nameสุทธิรักษ์ โรจนหัสดิน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: เรชา ชูสุวรรณ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2562
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 489
     Counter Mobile: 12