ชื่อเรื่อง/Title ศักยภาพของคุฏบะฮฺวันศุกร์เพื่อพัฒนาสังคม กรณีศึกษาคุฏบะฮฺวันศุกร์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Potential of Friday Khutbah for Social Development Case Study of Friday Khutbah in Southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและบทบัญญัติเกี่ยวกับคุฏบะฮฺ<br /> ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการนำเสนอคุฏบะฮฺของเคาะฎีบและผู้ฟังคุฏบะฮฺวันศุกร์ และข้อเสนอแนะจาก<br /> ทั้งสองฝ่าย และศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของคุฏบะฮฺวันศุกร์ในการพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดน<br /> ภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณโดยอาศัยเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ทติยภูมิ และเก็บรวม<br /> รวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. คุฏบะฮฺคือการแสดงปาฐกถาธรรมก่อนละหมาดวันศุกร์ มีข้อบังคับ(รุกุ่น) เงื่อนไข<br /> ประเภท ความสำคัญ บทบัญญัติและพิธีกรรมต่างๆ ทั้งก่อนนำเสนอ ขณะนำเสนอ และหลังจากการ<br /> นำเสนอ บทบัญญัติว่าด้วยการฟังคุฏบะฮฺ เนื้อหาคุฏบะฮฺเป็นส่วนหนึ่งของการดะอุวะฮฺให้ผู้ฟังได้รับ<br /> ความรู้ ข้อแนะนำ ขัดเกลาจิตสำนึก และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาของสังคม และคุฏบะฮฺวันศุกร์มี<br /> ศักยภาพในการพัฒนาสังคม<br /> 2. ผลการวิเคราะห์ทัศนคติเกี่ยวกับการนำเสนอคุฏบะฮฺและข้อเสนอแนะจากผู้ฟัง<br /> คุฏบะฮฺวันศุกร์พบว่าคุฏบะฮฺเป็นส่วนหนึ่งของการตะอุวะฮฺมวลชน มีผลต่อผู้ฟังเป็นอย่างยิ่งหากผู้ร่วม<br /> ละหมาดฟังด้วยความตั้งใจและเคาะฎีบนำเสนอด้วยทักษะและวิธีการที่สามารถให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายโดย<br /> เน้นเนื้อหาการยึดมั่นกับหลักคำสอนของศาสนาที่มาจากคำภีร์อัลกุรอาน อัสสุนนะฮฺ การประกอบ<br /> อิบาดะฮฺ การรำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ และรำลึกถึงวันแห่งการตอบแทนในอาคิเราะฮฺ<br /> 3. เนื้อหาที่ปรากฏในคุฏบะฮฺวันศุกร์เป็นความรู้และข้อมูลที่มาจากการศึกษา<br /> วิเคราะห์และสรุปผลของเคาะฎีบ ถูกเรียบเรียงในรูปแบบความเรียง โดยเน้นการให้คำแนะนำและ<br /> ข้อคิดเพื่อให้ผู้ฟังสามารถนำใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาและเกิด<br /> การยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮฺ สู่การมีคุณธรรมจริยธรรม อันนำไปสู่การการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน<br /> 4. ผลจากการวิเคราะห์แบบสอบถามจากเคาะฎีบผู้นำเสนอคุฏบะฮฺวันศุกร์พบว่า<br /> คุฏบะฮฺมีเนื้อหาที่เป็นความรู้ผสมผสานการตักเตือน ข้อแนะนำแก่ผู้ร่วมละหมาด เคาะฎีบได้ใช้โอกาส<br /> อย่างคุ้มค่าในการนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งเรื่องโลกดุนยาและเรื่องอาคิเราะฮฺ ใช้ภาษาที่<br /> ผู้ฟังเข้าใจง่าย เรียบเรียงเนื้อหาที่สละสลวย ถึงแม้จะอ่านจากเอกสารก็ตาม แต่สามารถดึงความสนใจ<br /> ของผู้ฟังได้โดยเฉพาะในวาระการชุมนุมละหมาดวันศุกร์ซึ่งมีสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง<br /> 5. ผลจากการวิเคราะห์แบบสอบถามจากผู้ฟังคุฏบะฮฺวันศุกร์พบว่า ผู้ร่วมละหมาด<br /> วันศุกร์มีความหลากหลายด้านวัยวุฒิ การศึกษา อาชีพ ความเข้าใจด้านเนื้อหาและภาษา การนำเสนอ<br /> คุฏบะฮฺควรใช้ภาษาถิ่น เนื้อหาควรเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นในชุมชนและสังคมในรอบสัปดาห์ เน้น<br /> การให้ความรู้ใหม่และตักเตือนเรื่องศาสนา แทรกด้วยเรื่องการประกอบอิบาดะฮฺ การขัดเกลาจิตใจเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม หลากหลายหัวข้อและเนื้อหา นำเสนอปัญหาและแนะนำวิธีการแก้ไข<br /> ใช้เวลาระหว่าง 15-25 นาที และคุฏบะฮฺสั้นดีกว่าคุฏบะฮฺยาว<br /> 6. ศักยภาพของคุฏบะฮฺวันศุกร์เพื่อการพัฒนาสังคมขึ้นอยู่กับการนำเสนอของ<br /> เคาะฎีบที่มีทักษะและความสามารถในการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ผู้ตอบ<br /> แบบสอบถามร้อยละ 85 ตอบว่าความรู้ที่ได้จากการฟังคุฏบะฮฺเป็นความรู้ที่เคยศึกษาและทราบจาก<br /> สื่อต่างๆ ที่มีในปัจจุบัน เคาะฎีบเพียงแค่เรียบเรียงประโยคเป็นเนื้อหาใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาเก่าที่<br /> คนส่วนใหญ่เคยฟังมาหลายครั้ง แต่ยอมฟังได้เพราะถือว่าเป็นการตักเตือน เพราะเรื่องศาสนาไม่<br /> จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหม่เสมอ เรื่องเก่าก็ยังคงใช้ได้หากนำมาประยุกค์ใช้ให้ถูกวิธีและปฏิบัติอย่าง<br /> ต่อเนื่อง ส่วนผู้ฟังร้อยละ 15 ตอบว่าเนื้อหาคุฏบะฮฺเป็นความรู้ใหม่ที่ยังไม่เคยฟังจากที่ใดมาก่อน จึง<br /> สนใจที่จะฟังและติดตาม

     ผู้ทำ/Author
Nameมูหะมัด คอยา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ซาฝีอี อาดำ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2561
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 224
     Counter Mobile: 9