ชื่อเรื่อง/Title สังคมกรณ์ทางการเมืองของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดสตูล / Political Socialization of the Thai Muslim in Changwat Satun
     บทคัดย่อ/Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนสังคมกรณ์ทางการเมืองของชาวไทยมุสลิมภายในบริบทของสถาบันครอบครัวมุสลิม และสถาบันศาสนาอิสลาม โดยเก็บข้อมูลจากประชากรในชุมชนทุ่งมะปรัง ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ด้วยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ์ วิเคราะห์และตีความข้อมูลโดยยึดแนวคิปฎิสัมพันธ์สัญลักษณ์นิยมและหลักการของศาสนาอิสลามเป็นแนวทาง
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. โครงสร้างสังคมในชุมชนทุ่งมะปรังเป็นรูปแบบทางสังคมที่มีเงื่อนไขทางศาสนาโดยเฉพาะศาสนาอิสลามเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตทั้งระดับปัจเจกชนและระดับกลุ่มบุคคลตั้งแต่แรกเกิดจนตาย จะมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องทุกขั้นตอนโดยกระบวนการสังคมกรณ์ โครงสร้างสังคมดังกล่าวมีระบบความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ปทัสถานและกิจกรรมทางสังคมที่อิงอาศัยศาสนา และจารึตประเพณีเป็นฐานรองรับ ดังนั้นกระบวนการหรือกลไปทางสัคม-วัฒนธรรมภายใต้ศาสนาอิสลามจึงเป็นปฐมฐานให้เกิดปฐมสังคมกรณ์ ซึ่งกลายเป็นฐานรองรับให้เกิดและพัฒนาสังคมกรณ์ทางการเมืองและด้านอื่นๆ
2. โครงสร้างสังคมที่มีเครือข่ายและบริบทถัดจากศาสนาอิสลามในกระบวนการทางสังคม-วัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับสังคมกรณ์ ได้แก่ สถาบันครอบครัวและเครือญาติที่เน้นความสัมพันธ์แบบให้ความสำคัญแก่ฝ่ายชายในหลายๆด้าน กระบวนการหรือกลไกทางสังคม-วัฒนธรรมภายใต้สถาบันครอบครัวและเครือญาติเป็นปฐมฐาน คือจุดเริ่มต้นสังคมกรณ์ในหลายมิติดุจเดียวกับกรณีของสถาบันศาสนาแต่เครือข่ายและนัยสำคัญเป็นรองหรือแคบกว่าสถาบันศาสนา
3. ปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนอกกรอบหรือบริบทของสถาบันครอบครัวและศาสนาเช่น กลุ่มเพื่อนก็มีนัยสำคัญต่อสังคมกรณ์เพิ่มเสริมต่อจากสถาบันครอบครัวและศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมกรณ์ทางการเมือง
4. บรรดาประเพณี พิธีกรรม และกิจกรรมต่างๆ การละหมาดถือเป็นกระบวนการหรือกลไกทางสังคม-วัฒนธรรมที่มีบทบาทเหนือกว่ากลไกทางสัคม-วัฒนธรรมอื่นๆ เมื่อพิจารณาจากประเด็นของปฐมสังคมกรณ์ภายใต้บริบทของสถาบันครอบครัวและศาสนา
5. ภายใต้เงื่อไขดังกล่าวข้างต้น จิตสำนึกตระหนักรู้ถึงอัตตาหรืออัตลักษณ์ของตัวฉัน และพวกฉัน กล่าวคือ อัตลักษณ์แห่งความมี/ความเป็นมุสลิมเกิดขึ้นและพัฒนาตามลำดับขั้นตอนแห่งการพัฒนาอัตตาหรืออัตลักษณ์พร้อมๆกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ได้รับการปลูกฝังโดยอาศัยกระบวนการหรือกลไกทางสังคมภายใต้บริบททางสังคม-วัฒนธรรมอิสลามในโลกปัจจุบัน
6. ชุมชนทุ่งมะปรังเกิดการเรียนรู้ทางการเมืองด้วยการเลียนแบบ การสอนหรือการบอกกล่าว โดยศาสนเมธีหรือผู้มีความรุ้ทางศาสนา และแรงจูงใจหรือแรงเสริมจากเทวโองการหรือองค์อัลลอฮฺ
7. บุคลิกภาพทางการเมืองของชุมชนทุ่งมะปรังมีลักษณะความโน้มเอียงแบบอำนาจนิยม ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องเกี่ยวเนื่องจากปฐมสังคมกรณ์โดยสถาบันครอบครัวและศาสนา
8. คุฎบะฮฺวันศุกร์เป็นกลไกทางสังคม-วัฒนธรรมที่มีบทบาทอย่างมากในการเสริมสร้างบุคลิกภาพทางการเมืองหรือเอกลักษณ์ทางการเมือง

This study was intended to investigate the political socialization process of the Thai Muslim carried on by the Muslim family and Islam. The sampling subjects under investigation were purposively taken from the village community of Tungmaprang, Tumboon Wangprachan, Amphoe Kwandon, Changwat Satun.The data were collected by means of the observation and the interview in line with the qualitative inquiry. They were then described, analyzed and interpreted in conformity with symbolic interactionism and Islamic belief system. The interpretation with symbolic interactionism and Islamic belief system. The interpretation in particular rests obviously on the understanding from the actor?s point of view or emic view. Added to this point is the interpretation from the researcher?s point of view.
The findings were as follws.
1.The social structre of the villge community of Thungmaprang is religiously determined especially by the Islamic belief system . The way of life of rillagers, individually and collectively, from the cradle to the grave, is religiously oriented. It is done by socialization. It obviouslt rests on beliefs, values, attitudes and activities, all of which are based on religion and tradition. Thus the Islamic-based socio-cultural processes or mechanicisms are the primordial determinants of primary socialization on the basis of which political and other socializations are initiated and developed.
2.The social structure that has played a significant role next to the religion in this regard is that of the family and kinch is structured in keeping with the nuclear family based on a patriarchal pattern. The socialization process by the family and kinship, like the religious institution, is a prime stronghold which becomes the starting-point for the further socialization in multidimension with the significant social network next only to the religion
3.The interpersonal interaction in the of a peer group beyond the constituent of the family and the religious institution is of a significance no less than the of the former two to political socialization in particular.
4.Among all the activities in the forms of traditions, rites and rituals, a praying at different times and occasions is the socio-cultural mechanism of a greater significance than any other socio-cultural mechanisms when the primary socialization by the family and religion is taken into consideration.
5.On the strength of the above-mentioned socialization processes, self-consciousness or self (I and Me) and (we) in favour of Islam-based self-image has been formed and developed according to the stages of self-development. So also is instilled into a Muslim through Islamically predetermined socio-cultural mechanism the basic character which is based on Islamic for a daily life, here and now.
6.The villagers of the Tungmaprang community have been politically socialized by means of the imitation and the instruction through the Ulama or religious intellectuals and leaders and by ways of the motivation through divine demand or Allah.
7.The political personality of the Tungmaprang community villagers is authoritarian-oriented, resulted from socialization process by the family and religious institution.
8.The preaching and public lectures in the of Kutabah on the holy Fridays of which political personality or identity has been formed, developed and well established.
     ผู้ทำ/Author
Nameวิลาศ ชูช่วย
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ (หน้า 1-30)
บทที่ 1 บทนำ (หน้า 31-60)
บทที่ 2 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 3 สภาพทั่วไปของบ้านทุ่งมะปรัง
บทที่ 4 สังคมกรณ์ (หน้า 100-119)
บทที่ 4 สังคมกรณ์ (หน้า120-136)
บทที่ 5 บทวิเคราะห์
บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
ด้านการเมืองการปกครอง
--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มานพ จิตต์ภูษา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2543
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4073
     Counter Mobile: 123