ชื่อเรื่อง/Title การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี / Evaluation of Agritourism Potentials in Tanyong Pao Community, Tha Kamcham Sub-district, Nong Chik District,
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำขำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำขำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริม<br /> การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ เป็นประชากรในชุมชนตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 361 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เกณฑ์การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มี<br /> จำนวนทั้งสิ้น 14 คน ผลการวิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ศักยภาพของชุมชนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X ? =3.46) เมื่อพิจารณาระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนตันหยงเปาว์ฯ เป็นรายด้าน ผลเป็นดังต่อไปนี้ 1) ศักยภาพด้านการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยู่ในระดับมาก (X ? =3.94) 2) ศักยภาพด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยู่ในระดับมาก (X ? =3.44)<br /> 3) ศักยภาพด้านการบริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยู่ในระดับปานกลาง (X ? =3.39) และ4) ศักยภาพด้านการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยู่ในระดับมาก (X ? =3.56) ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนตันหยงเปาว์ฯ กล่าวสรุปโดยรวม คือ เป็นการมุ่งเน้นในต้านการแสดงศักยภาพที่มีอยู่ภายในชุมชน ทั้งนี้เพื่อการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนไปควบคู่กับการดูแลรักษาและคงไว้ต่อไป<br /> แนวทางพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ผลการวิจัยสรุปควรมีดังนี้ 1) แนวทางการส่งเสริมการรวมกลุ่มอนุรักษ์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2)แนวทางการส่งเสริมการให้ความรู้ของข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสร้างความตระหนักในการแสดงศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) แนวทางส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรชุมชนในการเตรียมความพร้อมสำหรับ<br /> การบริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ 4) แนวทางการส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบใหม่ที่สร้างสรรค์

The purposes of this study were 1) to study agritourism conditions of Tanyong Pao community, Tha Kamcham Sub-district, Nong Chik District, Pattani Province; 2) to evaluate the potential of agritourism of Tanyong Pao community, Tha Kamcham Sub-<br /> district, Nong Chik District, Pattani Province; and 3) to propose guidelines to promote agritourism of agricultural tourism of Tanyong Pao community, Tha Kamcham Sub-district, Nong Chik District, Pattani Province. The study was a quantitative research, a sample was selected from population 361 cases and a qualitative research used purposive sampling, there were a total of 14 people.The findings was used for quantitative data analysis, the potential of the community in general was at high level (X ?=3.46). When considered level fagritourism potential of Tanyong Pao community in each aspect were as follows: 1)<br /> The management potential of agritourism, it was at high level (X ? =3.44). 2) potential for support of agritourism, it was at high level (X ? =3.44). 3) Service potential of agritourism, it was at moderate level, and 4) potential for attractiveness of agritourism, it was at high level (X ?=3.56). In order that, the qualitative data analysis of the agritourism potential of Tanyong Pao community, Tha Kamcham Sub-district,Nong Chik District, Pattani Province, overall summary was focus on the potential<br /> within the community, in order to promote the agritourism of the community along with treatment and remain.<br /> Development guidelines for promoting agritourism of Tanyong Pao community, Tha Kamcham Sub-district, Nong Chik District, Pattani Province, the findings should be as follows: 1) Guidelines for promoting conservation groups and promoting community participation in the management of agritourism attractions 2)<br /> Guidelines for promoting knowledge of information on preparedness for the opening of the community to be an agritourism attraction and raise awareness in showing the potential of supporting agritourism attractions 3) Guidelines for the promotion of community personnel training in preparation for services of agritourism attractions,and 4) Guidelines for promoting the route of tourist attractions and agritourismactivities in a new creative.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameซัมรอฮ ดอเลาะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ภูมิทัศน์และการท่องเที่ยว
--ปัตตานี
     Contributor:
Name: ประจวบ ทองศรี
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2562
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 438
     Counter Mobile: 5