ชื่อเรื่อง/Title ทัศนคติอุลามาอ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อแนวคิดสะลัฟและคอลัฟ เกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ / The Attitude of the Ulama in the Southern Border Provinces of Thailand towards the Attributes of Allah from the Viewpoints of Salaf and Khalaf
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติอุลามาฮ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อแนวคิดสะลัฟและคอลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ 2) ศึกษาทัศนคติอุลามาอ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเรื่องความแตกต่างทางความคิดระหว่างแนวคิดสะลัฟและคอลัฟ 3) ศึกษาทัศนคติอุลามาอ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับความแตกแยกทางสังคม อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความคิดระหว่างแนวคิดสะลัฟและคอลัฟ 4) ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาความแตกแยกทางสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความคิดระหว่างแนวคิดสะลัฟและคอลัฟ<br /> <dd>กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้รู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากชมรมอุลามาอ์ฟาฏอนีย์ดารุสลาม จำนวน 4 คน ผู้รู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จำนวน 5 คน ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาอิสลามศึกษาซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3 คน และผู้รู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามที่มีจำนวนนักเรียนมากเป็นอันดับหนึ่ง สองและสามในแต่ละจังหวัดดังกล่าว จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ เฉลี่ย วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์และสมมติฐาน <br /> <dd>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /> 1. อุลามาฮ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นด้วยกับแนวคิดสะลัฟยุคก่อน (กัลยาณชนมุสลิมช่วงสามศตวรรษแรกของอิสลาม) แต่มีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับแนวคิดสะลัหของอุลามาอ์ยุคหลังที่ได้นำเสนิ<br /> 2. อุลามาฮ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดคอลัฟ<br /> 3.อุลามาฮ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีทัศนะว่า<br /> <dd>3.1 ความแตกต่างทางความคิดมีสาเหตุมาจากความแตกต่างทางความคิดของอุลามาอ์ของโลกอิสลามในอดีต หลังจากมีการนำสติปัญญามาเป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายโองการและหะดีษศีฟาตที่มีความหมายเป็นนัย <br /> <dd>3.2 ความแตกต่างทางความคิดเป็นความแตกต่างด้านวิชาการ และเป็นความแตกต่างในการนำเสนอและอธิบายตัวบทอัลกุรอานและหะดีษศีฟาตที่มีความหมายเป็นนัย<br /> 4. อุลามาฮ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่เห็นด้วยกับความแตกแยกในสังคม อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านความคิด<br /> 5. ความแตกแยกในสังคม อันเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวนั้น มีแนวทางแก้ไขดังต่อไปนี้<br /> <dd>5.1 การกลับไปหาอัลกุรอานและหะดีษ<br /> <dd>5.2 การกลับไปหาแนวคิดสะลัฟยุคก่อน<br /> <dd>5.3 ยึดมั่นความเป็นพี่น้องกัน<br /> <dd>5.4 จัดให้มีการพบปะประชุมเพื่อปรึกษาหารือระหว่างกัน<br /> <dd>5.5 จัดตั้งองค์กรหรือใช้องค์กรที่มีอยู่แล้ว เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างกัน<br /> <dd>5.6 พัฒนาและส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวิชาการด้านสามัญให้กับสังคม<br /> <dd>5.7 การยอมรับความแตกต่างทางความคิดเห็นระหว่างกัน และแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง<br /> <dd>5.8 ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาเตาฮีค

The aims of the study are (1) to study attitude of the Ulama in the southern border provinces of Thailand towards the allah from viewpoints of salaf and khalaf (2)to study the attitude attitude of the Ulama in the southern border provinces of Thailand in terms of the difference idea towards the viewpoints of salaf and khalaf, (3) ) to study the attitude of the Ulama in southern border provinces towards the social conflict which is caused by the different idea of the viewpoints of salaf and khalaf,(4) ) and to study the solution of social conflict in southern border provinces which is caused by the different of the idea of the viewpoints of salaf and khalaf.<br /> A total of 27 subject s were chosen as sample for the study: four educated persons represented by the Ulama Pattani Darusalam, five educated persons who were delegated by the Islamic provincial Councils, three doctorate degree holders in Islamic studies who live in the southern border province of Thailand and 15 educated persons who were delegated by Islamic private school with the highest number of student in each province. The research instrusment for data gathering was the questionnaire drafted constructed by the researcher. Two sets of questionnaire designed and written by the researcher were used as the research instrument. The first set consisted of two parts. Part I was set to ask the general information of the samples, where as part in the questionnaire dealt with the educational background of the samples.The second set of the questionnaire consisted of the questions upgrading their attitudes with opportunities to express their views openly.<br /> The data were analyzed using the statistical techniques as percentage and arithmetic means.<br /> Results of the study as follows;<br /> 1.of the Ulama in the southern border provinces agree with the viewpoints of salaf in the earlier of the Salaf Salih (The first three Islamic centuries) but they have different idea in the viewpoints of salafia Ulama in the next generation.<br /> 2. The majority of the Ulama in the southern border provinces agrees with the viewpoints of khalaf .<br /> 3.The attitude of the Ulama in the southern border provinces was following<br /> 3.1 The different of the viewpoints were caused by the different of viewpoints of the ulama in the past after in the past after applying the intellect as a part of the interpretation of the Qur?an and Hadith with indistinct meaning.<br /> 3.2 The nature differences of the viewpoints were academic and in presentation and interpretion of the meaning of the Quran and Hadith with indistinct meaning.<br /> 4.the Ulama in the southern border provinces disareed with the conflict in the society, which were caused by the differences of viewpoint.<br /> 5.The solutions of the conflict among the people in the society were the following<br /> 5.1 Rtturn to the original sources Quran and Hadith <br /> 5.2 Reyurn to the sources in the viewpoints of salaf in the era of Salaf Salih in the period of the first ? three Islamic centuries.<br /> 5.3 Follow the ideology of Islamic brotherhood <br /> 5.4 Organize regular meeting to consult with each other on the issue.<br /> 5.5 Establish a newly organization or use the organizations to coordinate for matual cooperation.<br /> 5.6 Develop and extend the Islamic studies and general education to the society<br /> 5.7 Accept the different idea of each other and to eliminate the conflicts.<br /> 5.8 Improve the curriculum in the teaching and learning of Tawhid subject.
     ผู้ทำ/Author
Nameอับดุลสุโก ดินอะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 กุรอาน เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 49-99)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า100-152)
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: หะสัน หมัดหมาน
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2544
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 6521
     Counter Mobile: 31