|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเสนอแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 มี 2 ขั้นตอน 1) สังเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน 2) วิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ระยะที่ 2 มี 2 ขั้นตอน 1) ยกร่างแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ได้ในระยะที่ 1 2) ตรวจสอบและยืนยันแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการสนทนากลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ประชากรเป็นบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีจำนวนทั้งหมด 2,214 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 822 คน<br /><br />
<br /><br />
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ยั่งยืน การเปิดพื้นที่การเรียนรู้ในการปรับปรุงงานอย่างสร้างสรรค์ การเพิ่มขีดความสามารถให้เชี่ยวชาญและรอบรู้ การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ภาวะผู้นำและการให้อำนาจ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างแบบแผนความคิดตามความเป็นจริง และการขับเคลื่อนภารกิจสู่วิสัยทัศน์ร่วม 2) แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาการเรียนรู้ที่ยั่งยืน การปรับเปลี่ยนองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ การให้อำนาจและอิสระในการสร้างความสามารถ การจัดการความรู้ และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
The purposes of this research were to 1) identify the factors of Learning Organization of Prince of Songkla University (PSU) 2) propose the guidelines on Learning Organization Development of PSU. The mixed methodology consisted of 2 stages. Stage one consisted of 2 steps: 1) applying content analysis and taking interview with 5 experts and 2) analyzing the factors by using exploratory factor analysis. Stage two consisted of 2 steps: 1) drafting the guidelines on Learning Organization Development of PSU and 2) confirming the guidelines by using focus group with 7 administrators. The population was 2,214 persons. The sample size was 822 persons.<br /><br />
<br /><br />
The research findings were as follows: 1) the factors of learning organization of PSU with 8 factors consisted of: sustainable learning, opening areas of learning to improve creatively, enhancing to be expert and knowledgeable, developing thinking process, leadership and empowerment, using Information technology, creating mental model, and driving missions toward a shared vision. 2) The guidelines on learning organization development of PSU with 5 issues consisted of: the development of a sustainable learning, changing to learning organization, empowerment to create capacity, knowledge management, and Information technology. |