ชื่อเรื่อง/Title คุณลักษณะของผู้นำศาสนาอิสลามที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน และแนวทางการจัดฝึกอบรมผู้นำศาสนาอิสลามเพื่อพัฒนาชุมชน ในจังหวัดปัตตานี / Characteristics of Islamic Religious Leaders for Community Development and Guidelines of Their Training Provision in Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract ????การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า 1) ผู้นำศาสนาอิสลามระหว่างชุมชนที่พัฒนาและชุมชนที่กำลังพัฒนา มีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชทั้ง 10 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจในหลักศาสนาอิสลาม ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน ด้านความรู้เกี่ยวกับแหล่งให้ความช่วยเหลือชุมชน ด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านความเป็นผู้นำ ด้านความมีจิตมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ด้านการยอมรับนวัตกรรม ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านความอดทน และด้านความสัมพันธ์กับผู้นำในหมู่บ้าน มีความแตกต่างกันหรือไม่<br /><br /> ????2) เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชนทั้ง 10 ด้านดังกล่าว จำแนกตามอายุ อายุการเป็นผู้นำศาสนาอิสลาม ระดับการศึษาในระบบโรงเรียน การฝึกอบรมนอกโรงเรียน การรับข่าวสารและการติดต่อกับชุมชนภายนอก <br /><br /> ????3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดฝึกอบรมผู้นำศาสนาอิสลามในด้านเวลา และช่วงเวลาของการฝึกอบรม สถานที่ฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เนื้อหาสาระในการฝึกอบรม และวิธีสอนและการจัดกิจกรรม<br /><br /> ????กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดทุกอำเภอในจังหวัดปัตตานี จำนวน 348 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม หาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที<br /><br /> ????ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /><br /> 1. ผู้นำศาสนาอิสลามในชุมชนที่พัฒนามีคุณลักษณะสูงกว่าผู้นำศาสนาอิสลามในชุมชนที่กำลังพัฒนา ในด้านความรู้เกี่ยวกับแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือชุมชน แต่ผู้นำศาสนาอิสลามในชุมชนที่กำลังพัฒนากลับมีคุณลักษณะในด้านความเป็นผู้นำหมู่บ้านสูงกว่าผู้นำศาสนาอิสลามในชุมชนที่พัฒนา ส่วนในด้านอื่นๆ ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจในหลักศาสนาอิสลาม ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน ด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านความมีจิตมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ด้านการยอมรับนวตกรรม ด้านความเชื่อมันในตนเอง ด้านความอดทนและดานความสัมพันธ์กับผู้นำในหมู่บ้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ<br /><br /> 2. คุณลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน ศึกษาเปรียบเทียบตัวแปรที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบด้านภูมิหลัง ประสบการณ์และการศึกษาอบรมของผู้นำศาสนาอิสลาม พบว่า อายุมีความแตกต่างในด้านความรู้ความเข้าใจในหลักศาสนาอิสลาม และด้านความเป็นมนุษยสัมพันธ์ อายุการเป็นผู้นำศาสนาอิสลาม มีความแตกต่างในด้านความรู้ความเข้าใจในหลักศาสนาอิสลาม ด้านความเป็นผู้นำหมู่บ้าน และด้านความมีจิตมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ระดับการศึกษาในระบบโรงเรียนทั้งสายสามัญ และสายศาสนามีความแตกต่างกันในด้านความรู้ความเข้าใจในหลักศาสนาอิสลาม และด้านความเป็นผู้นำหมู่บ้าน ตามลำดับ การฝึกอบรมนอกโรงเรียนมีความแตกต่างด้านเดียว คือ ด้านความรู้ความเข้าใจในหลักศาสนาอิสลาม การรับข่าวสารมีความแตกต่างในด้านความรู้ความเข้าใจในหลักศาสนาอิสลาม ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน ด้านความีมนุษยสัมพันธ์ ด้านความมีจิตมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง และด้านความอดทน การติดต่อกับชุมชนภายนอกมีความแตกต่างเพียงด้านเดียว คือ ด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ นอกนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ<br /><br /> 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดฝึกอบรม พบว่า<br /><br /> ????3.1 เวลาและช่วงเวลาการฝึกอบรมผู้นำศาสนาอิสลามเห็นว่า ช่วงเวลาการฝึกอบรม การฝึกอบรมก่อนเข้าปฎิบัติหน้าที่ ระหว่างปฎิบัติหน้าที่ การฝึกอบรมทบทวน จำนวนวันในการฝึกอบรมจัดตามความเหมาะสม ปัญหาและความต้องการ และมีความเห็นใระดับสูงที่จะให้มีการจัดฝึกอบรมเมื่อได้รับการแต่งตั้งก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งและปฎิบัติงาน ส่วนการจัดฝึกอบรม เมื่อเข้าปฎิบัติหน้าที่แล้วมีความต้องการและคิดว่าเหมาะสมในระดับปานกลาง<br /><br /> ????3.2 สถานที่ฝึกอบรม ผู้นำศษสนาอิสลามมีความเห็นว่าสถานที่ฝึกอบรมที่มีความเหมาะสมและสามารถปฎิบัติได้ คือจัดให้ฝึกอบรมในแต่ละหมู่บ้านของตน ศูนย์ฝึกอบรมหรือสถาบันการศึกษา ส่วนการจัดฝึกอบรมเป็นจุดโดยรวมกันหลายหมู่บ้าน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ในระดับปานกลาง<br /><br /> ????3.3 ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ผุ้นำศาสนาอิสลามเห็นว่าค่าใช้จ่ายที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นบางส่วนอยู่ในระดับสูงคือ วิทยากรฝึกอบรม ส่วนค่าใช้จ่ายที่เห็นด้วยในระดับปานกลางคือ ค่าใช้จ่ายดูงานนอกสถานที่และค่าอาหาร<br /><br /> ????3.4 เนื้อหาสาระ ผู้นำศาสนาอิสลาม มีความต้องการและสนใจอยู่ในเกณฑ์ระดับสูงเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อยคือ ความรู้เกี่ยวกับหลักการ วิธีการและจุดมุ่งหมายของการพัฒนาชุมชน ความรุ้และทักษะในการเป็นผู้นำ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการมัสยิด กระบวนการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นแบบช่วยกันคิด ความรู้เกี่ยวกับแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือชุมชน สิทธิหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ผู้นำศาสนาอิสลามกับความมั่นคงของชาติ ความรู้ใหม่ๆ ในอาชีพที่เหมาะสมกับท้องถิ่น กฎหมายที่เกี่ยวกับชาวบ้าน ความรุ้และทักษะในการจัดทำโครงการพัฒนาเฉพาะกิจ ส่วนความรู้เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองและความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์อยู่ในระดับปานกลาง<br /><br /> ????3.5 วิธีการสอนและการจัดกิจกรรม ผู้นำศาสนาอิสลามีความเห็นว่า วิธีกาสอนและการจัดกิจกรรมในการฝึกอบรมที่เหมาะสมและปฎิบัติได้อยู่ในระดับสูง คือการฟังคำบรรยาย การเล่นบทบาทสมมุติ การใช้กรณีตัวอย่าง การระดมพลังสมอง การทัศนศึกษาและการฝึกปฎิบัติจริง ส่วนการใช้คู่มือผู้นำ การผลัดเปลี่ยนเยี่ยมเยือนชุมชน การไปเยี่ยมกลุ่มผู้นำ การใช้โสตทัศน์ในการฝึกอบรม การใช้เอกสารสิ่งพิมพ์และการใช้วิทยุกระจายเสียงอยู่ในระดับปานกลาง

The purposes of this research were threefolds : (1) to investigate whether or not the characteristics religious leaders in the developed and developing communities were different in the following ten aspects of community development works " (i) knowledge of Islamic principles, (ii) knowledge of community development, (iii) knowledge of the community resources, (iv) human relationship, (v) local leadership, (vi) willingness in community development. (vii) acceptance of innovativeness, (viii) self confidence, (ix) perseverance, and (x) relationships with other local leadership ; (2) to compare all characteristics of all aspects of the Islamic religious leaders for community development in accordance with age, time length of being Islamic leadership, formal education, accessibility to information, and contact with outside communities; (3) to recommend practicable guidelines of training povision for those Islamic religious leaders in terms of training timetable, locale of trainning, cost allotment of trainning, content and syllabus of training, and instructional strategies as well as activities. <br /> The subjects were 348 Islamic committee members of selected district mosques in Pattani Provinces. The instrument for data collection was a bilingual Thai-Malay, 135-item questoionnaire of kind subdivided into three sections : the first section comprised respondents' demohraphic data; the second section was a Likert-scale questionnaire concerning characteristics of Islamic religious leaders and the third section was open-ended question for respondents' comments and suggestion regarding guidelines for training provision. The data obtained were analyzed by means of the Statistical Package for the Social Scince (SPSS) for statistical values of percentage, mean, standard deviation, and t-test. <br /> The major finding of the study were as follows:<br /> 1. Islamic religious leaders of developed communities showed higher aspects of characteristics for community development than those of developing communities in the following aspects : knowledge for the community resources (P=0.0090) whereas those of developing communities showde higher aspects of characteristics for community devlopment than their counterparts (P=0.0250). However, there was no statistical difference between the two groups of subjects in the following aspects of their characteristics : knowledge of Islamic principles, knowledge of community development, human relationship, willingness in community development, acceptance of innovativeness, self-confidence, perseverance, and relationships with other local leadership. <br /> 2. The results of the comparison of the subjecrs' personal background, experience, and educational training, showed that an age difference was reflected in the knowledge of Islamic principles (P=0.0430 and in human relationship (P=0.0310). Time length of being islamic leaders showed a difference in the knowledge of Islamic principles (P=0.0010), in local leadership (P0.0010), and willingness in community development (P=0.0290). The difference in the subjects' level of general and religious education was reflected in the knowledge of Islamic principles (P=0.0010,P=0.0000), and also in local leadership (P=0.0080,P=0.0010) respectively. The subjects' non-formal education difference was reflected only in the knowledge of Islamic principles (P=0.0090_. The accessibility-information difference was reflected in the knowledge of Islamic principles (P=0.0150), the knowledge of community development (P=0.0090), human relationship (P=0.0040), the willingness in community development (P=0.0020), self-confidence (P=0.0030), and peseverance (P=0.0240). The subjects' contact with outside communities was reflected only in human relationships (P=0.00=170). However, there was no statistical difference in other aspects of the subjects' characteristics.<br /> 3. As for some guidelines for training provision, the suggestions were as follows:<br /> 3.1 Training guidelines regarding training timetables, such as pre-service, in-servece, refresher training, and time length of training, were appropriately implemented in accordence with existing problems and needs. Moreover, it was generally agreet by all Islamic religious leaders that pre-service training was at a high level essential and in-servince training was at a medium level of importance for them.<br /> 3.2 All the Islamic religios leaders had agreed that the most suitable and practicable locale of training ought to have been preferably at the training centers, or educational institutions in their own villages. The locale of training being at a central point among vllages was preferably at the medium level.<br /> 3.3 The training expenses allotted for training resource persons were considered at a high level as a top priority whereas other parts of expenses of educational fieldtrips and lodgings were considered ata medium level of importance.<br /> 3.4 The subjects' needs and interest in the training content and syllabus were considered at a high level of importance with the order of ranking from the most to the least : knowledge of princeples, strategies and objectives for community development, knowledge and and skills of being a leadership, knowledge and skills for teamwork tasks, responsibilities of mosque committee members, procedures of non-directive approach to problem-solving, knowledge of accessibility to community resources, rokes and responsibilities of the people in a democratic society, Islamic religious leaders and national security, new information concerning local job markets, laws concerning local populace, and knowledge and skills for special task force initiatives, respectively. Nevertheless, the subjects' knowledge of administration and government as well as the knowledge of making use of radio, televition, newspapers and other mass media was considered at a medium level.<br /> 3.5 The instructional strategies as well as training activities as judged by all subjects were considered appropriate, role playing, case study, brainstorming, fieldtrips and fieldwork. However, such activities as the use of handbooks for leaders, mutual exchanges of community visition, the use of audiovisual aids, printed materials and broadcasting in training were ranked at a medium level.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameสุวิชา ยี่สุ่นทรง
Organization บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ผู้นำทางศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: เคลื่อม บุษย์แก้ว
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2533
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 7973
     Counter Mobile: 32