ชื่อเรื่อง/Title อิทธิพลของความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามและปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม ที่มีต่อการติดยาเสพติด / The Influence of Islamic Commitment and Socio-economic Factors on Drug Addiction
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของความยึดมั่นผูกพันในศาสนาของเยาวชนมุสลิมที่สามารถจำแนกระหว่างเยาวชนที่ติดยาเสพติดและไม่ติดยาเสพติด 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม อันประกอบด้วย รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา และความสัมพันธ์ในครอบครัวของเยาวชนมุสลิมที่สามารถจำแนกระหว่างเยาวชนที่ติดยาเสพติดและไม่ติดยาเสพติด<br /><br /> <dd>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มเยาวชนที่นับถือศาสนาอิสลาม อายุระหว่าง 15-25 ปีในจังหวัดปัตตานี ที่ติดยาเสพติดและไม่ติดยาเสพติด จำนวน 140 คน เก็บตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม โดยใช้สถิติวิเคราะห์จำแนกประเภท แบบวิธีตรง<br /><br /> <dd>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /><br /> <dd>ความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามเป็นตัวแปรที่สำคัญ และมีน้ำหนักสัมประสิทธ์ของตัวแปรสูงที่สุดในการจำแนกกลุ่มเยาวชนที่ติดยาเสพติดและไม่ติดยาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญ<br /><br /> <dd>ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ-สังคม ประกอบด้วยตัวแปรด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ระดับการศึกษา และลักษณะอาชีพ เป็นตัวแปรที่มีน้ำหนักสัมประสิทธิ์ของตัวแปรสูง เรียงตามลำดับและสามารถจำแนกกลุ่มเยาวชนที่ติดยาเสพติดและไม่ติดยาเสพติดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br /><br /> <dd>อนึ่งความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลาม ความสัมพันธ์ในครอบครัว ระดับการศึกษา และลักษณะอาชีพ เป็นตัวแปรที่มีน้ำหนักสัมประสิทธ์ของตัวแปรสูงเรียงตามลำดับ และสามารถจำแนกกลุ่มเยาวชนที่ติดยาเสพติดและไม่ติดยาเสพติดได้อย่างมีนัยสำคัญ

The research was intended to determine (1) whether the influence of Islam commitment among Muslim youth could discriminate between drug addicts and non-drug addicts : (2) whether socio-economic factors consisting of occupation, educational attainment, and family relations amonng Muslim youth could dicriminate between drug addicts and non-drug addicts. Through a purposive sampling method, 140 samples of Muslim youth, aged between 15-25 years old. were selected on a votuntary basis from those under the drug rehabilitation program of Pattani Provincial Hospital and those with no history of drug addiction in Changwat Pattani. The instrument for data collection comprised a checklist of general information background and a questionnaire on Islam commitment. Data were analyzed by computer program using a direct method of discriminate analysis. The findings were as follows : Islam commitment was found to be the most important factor as well as the powerful discriminating coefficient in distinguishing between drug addicts and non-drug addicts, significantly at .0001 level. <br /> As for socio-economic factors, family relations, educational attainment (formal and religious education), and occupation were in descending order the powerful discriminating coefficients in distinguishing between drug addicts and non-drug addicts, significantly at .0001 level. <br /> Furthermore, Islam commitment, family relations, educational attainment (formal and religious education), and occupation were in descending order the powerful discriminating coefficients in distinguishing between drug addicts and non-drug addicts, significantly at .0001 level.
     ผู้ทำ/Author
Nameจิรนันท์ หมวดทิพย์
Organization บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางสังคม
ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: คณิตา นิจจรัลกุล
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2539
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4332
     Counter Mobile: 27