|
บทคัดย่อ/Abstract |
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การใช้และคุณค่าของปันตุนมลายูปาตานีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) สังเคราะห์องค์ความรู้ในปันตุนมลายูปาตานีในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) เสนอรูปแบบการนำปันตุนมลายู ปาตานีในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ปันตุนจำนวน 15 คน กลุ่มผู้รู้วรรณกรรมมลายู จำนวน 6 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และจัดเวทีสนทนากลุ่ม สามารถรวบรวมปันตุนมลายูปาตานีจำนวน 409 ปันตุน แบ่งประเภทตามเนื้อหาได้ 18 ประเภท ประกอบด้วยปันตุนดั้งเดิมและปันตุนสมัยใหม่ วิเคราะห์ผลแบบอุปนัยตามวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และนำเสนอผลการวิจัย ในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์<br />
ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ปันตุนมลายูปาตานีในปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤติ กลุ่มคนที่ยังสามารถขับร้องปันตุนได้ล้วนอยู่ในวัยสูงอายุ ไม่มีการสืบทอดหรือจดบันทึกอย่างจริงจัง เยาวชนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจบทปันตุน บทปันตุนกำลังลดบทบาทลงในสังคมมลายูปาตานีพร้อมๆกับการจากไปของผู้รู้ปันตุน ปันตุนมลายูปาตานีส่วนมากมีลักษณะการประพันธ์แบบสี่วรรค ด้านเนื้อหาสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นตัวตน ครอบครัว และสังคมมลายูปาตานีในอดีต บอกเล่าประวัติศาสตร์ ให้มโนภาพอันสวยงามของธรรมชาติ เนื้อหาปันตุนยังสะท้อนให้เห็นคุณค่าในการเป็นเครื่องมือปลูกฝังศีลธรรมและจริยธรรมให้สมาชิกในครอบครัวและสังคม เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดค่านิยมทางสังคม ความเชื่อ ภูมิปัญญาและวิถีชีวิต จึงสมควรอนุรักษ์ ศึกษาและฟื้นฟู ตลอดจนการหาแนวทางให้ปันตุนสามารถเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ในสังคม โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียน เพื่อธำรงมรดกทางภาษาและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าให้ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป<br />
This qualitative study is aimed to (1) explore situations of usage and values of the Patani Malay pantuns in the southern border provinces of Thailand, (2) synthesize knowledge of the pantuns, and (3) suggest a model of applying the pantuns in order to strengthen security of communities in these provinces. The research was conducted in Pattani, Yala, Narathiwat, and Songkla. In-depth interviews and group discussion were held. The interviewees consist of fifteen pantun scholars and six Malay litterateurs. 409 pantun poems were collected, including both traditional and modern ones. They could be divided into eighteen categories by contents. Analytic induction and descriptive analysis were used in the study. <br />
The results show that the Patani Malay pantuns are in crisis. It is only the elder who is still able to sing the poems. Since the poems are orally inherited, no original and official record can be found. In addition, more and more younger people are not interested, resulting in decline of the tradition and the decreasing number of its scholars. Most of the verses consist of four lines. Their contents reflect life, nature, beliefs, wisdom, history and values, and so on, which should be recorded and conserved to foster solidarity of Muslim communities. These four-lined poems should be conserved as cultural heritage and taught especially at school. This could strengthen security of the southern border provinces.<br />
|