ชื่อเรื่อง/Title บทบาทมัสยิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของมัสยิดในด้านศาสนา การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทั้งในชนบทและในเมือง 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความรู้และฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามกับบทบาทของมัสยิด 3) เพื่อศึกษาความคาดหวังของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อบทบาทของมัสยิดในอนาคต<br /><br /> <dd>ในการศึกษาครั้งนี้ เลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 รายจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่เป็นอิหม่าม คอเต็บ และบิลาล 35 ราย กรรมการมัสยิด 59 ราย และสัปบุรุษ 184 ราย โดยเป็นกลุ่มตัวอย่างจากชนบท 133 ราย และจากในเมือง 145 ราย<br /><br /> <dd>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /><br /> 1. ทั้งมัสยิดในเมืองและในชนบทต่างก็มีบทบาททางศาสนาที่เหมือนกันอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด<br /><br /> 2. มัสยิดในเมืองมีบทบาททางการศึกษาในระดับน้อยมากที่สุด แต่มัสยิดในชนบทมีบทบาทในระดับมากมากที่สุด<br /><br /> 3. มัสยิดในเมืองมีบทบาททางด้านสังคมในระดับปานกลางมากที่สุด ขณะที่มัสยิดในชนบทมีบทบาทในระดับมากมากที่สุด<br /><br /> 4. ทั้งมัสยิดในเมืองและในชนบทมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่เหมือนกันต่างก็มีบทบาทในระดับน้อยมากที่สุด<br /><br /> 5. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านศาสนาที่แตกต่างกัน อิหม่ามของมัสยิดในเมืองที่มีความรู้ปานกลางมีบทบาททางด้านศาสนาสูงมากที่สุด ในขณะที่อิหม่ามของมัสยิดในชนบทที่มีความรู้สูงมีบทบาททางด้านศาสนาในระดับสูงมากที่สุด<br /><br /> 6. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านการศึกษาที่แตกต่างกันห อิหม่ามของมัสยิดในเมืองที่มีความรู้ปานกลางมีบทบาททางด้านการศึกษาในระดับสูงมากที่สุด ในขณะที่อิหม่ามของมัสยิดในชนบทที่มีความรู้สูงมีบทบาททางด้านการศึกษาในระดับสูงมากที่สุด<br /><br /> 7. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านสังคมที่เหมือนกัน กล่าวคือ อิหม่ามที่มีความรู้ปานกลางจะมีบทบาททางด้านสังคมในระดบสูงมากที่สุด<br /><br /> 8. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านเศรษฐกิจที่เหมือนกัน กล่าวคือ อิหม่ามที่มีความรู้ต่ำจะมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจในระดับสูงมากที่สุด<br /><br /> 9. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านการเมืองที่แตกต่างกัน อิหม่ามของมัสยิดในเมืองที่มีความรู้ปานกลางมีบทบาททางด้านการเมืองในระดับสูงมากที่สุด ในขณะที่อิหม่ามของมัสยิดในชนบทที่มีความรู้ต่ำมีบทบาททางด้านการเมืองในระดับสูงมากที่สุด<br /><br /> 10. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางศาสนาที่เหมือนกัน กล่าวคือ อิหม่ามที่มีฐานะปานกลางจะมีบทบาททางด้านศาสนาในระดับสูงมากที่สุด<br /><br /> 11. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านการศึกษาที่แตกต่างกัน อิหม่ามในเมืองที่มีฐานะร่ำรวยจะมีบทบาททางด้านการศึกษาในระดบสูงมากที่สุด ส่วนอิหม่ามในชนบทที่มีฐานะปานกลางจะมีบทบาททางด้านการศึษาในระดับสูงมากที่สุด<br /><br /> 12. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านสังคมที่แตกต่างกัน อิหม่ามในเมืองที่มีฐานะร่ำรวยจะมีบทบาททางด้านสังคมในระดับสูงมากที่สุด ส่วนอิหม่ามในชนบทที่มีฐานะปานกลางจะมีบทบาททางด้านสังคมในระดับสูงมากที่สุด<br /><br /> 13. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านเศรษฐกิจที่เหมือนกัน กล่าวคือ อิหม่ามที่มีฐานะร่ำรวยจะมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจในระดับสูงมากที่สุด<br /><br /> 14. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านการเมืองที่เหมือนกัน กล่าวคือ อิหม่ามที่มีฐานะยากจนจะมีบทบาททางด้านการเมืองในระดับสูงมากที่สุด<br /><br /> 15. ชาวไทยมุสลิมไม่ว่าชายหรือหญิงทั้งในเมืองและในชนบทต่างก็มีความคาดหวังต่อบทบาทมัสยิดในอนาคตอยู่ในระดับสูงมากที่สุด

The objectives of this research are 1) to study the roles of the Masjids concerning the religious, education, suciety, economy and the politic in <br /> <br /> both rural and urban areas, 2) to study the relationship between the level of knowledge and the economy of Imams with their roles, and 3) to <br /> <br /> study the Muslims' expected roles in the future of Masjids in the three Southern Border Provinces of Thailand. <br /> In this research, the researchers have selected samples of the targeted population in the three southern border provinces, namely Pattani, <br /> <br /> Yala and Narathiwat by collecting data from 278-samples, 133 samples from the rural areas and 145 samples from the urban ones. The <br /> <br /> targeted population are 35 Imams Khatib and Bilal, 59 committee members of the masjids and 184 sabburuses (the members of the <br /> <br /> Masjids).<br /> The researchers have presented the analytical result in the from of diagram with three types of statistics, namely : percentage, Chi-square-Tast (X/2-test) and Gamma(r).<br /> The result of the research are as follows ;-<br /> 1. Both the masjids in the rural and urban areas have the same religious roles. Most of them are in the moderate level.<br /> 2. Most of Masjids in the urban areas have the same educational roles at the low level while most of the Masjids in the rural areas play the educational roles at the high level.<br /> 3. Most of Masjids in the urban areas play social roles at the moderate level, but in the rural areas, most of the Masjids play roles at the high level.<br /> 4. Most of the Masjids in the rural ans urban areas play the same economical and political roles. Most of them are at the low level.<br /> 5. The level of religious knowledge of Imams in the rural and urban areas relating to the religious roles of the Masjids is different. Most of Imams in urban areas who have the moderate degree in the religious education play the religious roles at the high level, while the Imams of the rural areas who have good religious education play the high roles in religion.<br /> 6. The level of religious knowledge of the Imams in rural and urban areas relating to the educational roles is different. Most of the Imams in the urban areas who play the high level of education are those who have the moderate level of religious education while in the rural areas, most of the Imams who play the high level of education are those who have the high level of religious education.<br /> 7. The level of religious knowledge of Imams in both rural and urban areas has been the same in relating to the social roles. The Imarns who have moderate knowledge play the high roles in society.<br /> 8. The level of religious knowledge of Imarns in both rural and urban areas has been the same in relating to the social roles. The Imams who have low level of knowledge play the high roles in society.<br /> 9. The level of religious knowledge of Imams in both rural and urban areas has become different in relating to the social roles. Imams in urban areas who have moderate knowledge of Islam play the high roles in politics in the rural areas who have low level of Islamic knowledge play the high roles in politics.<br /> 10. The relationship between the Imams' economical status with religious roles of the Masjids in the rural and urban areas is the same. Most of the Imams who are in the moderate level of economical status play the roles in the high level. <br /> 11. The relationship between Imams' economical sataus with the educational roles of the Masjids in the rural and urban areas is different. Most of the rich (wealthy) Imams in the urban areas play the high level of educational roles while the moderate Imams in the rural areas play the high level of the educational roles.<br /> 12. The relationship between Imams' economical status with the social roles of the Masjids in the urban and rural areas in different. Most of the wealthy Imams in the urban areas play the high level of the social roles. But most of the Imams who are at the moderate level of economical status in the urban areas play the high level of the social roles.<br /> 13. The economical status of the Imams in the rural areas have the same relationship with the economical roles, i.e. most of the wealthy Imams play the economical roles in the high level.<br /> 14. The economical status of the Imams in the rural and urban areas have the same relationship with the political roles, i.e most of the poor Imams play the political roles in the high level. <br /> 15. Most of the Thai Muslim men and women in the rural and urban areas expect that the roles of the Masjids in the future should be fuctioned in the high level.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameแวอุเซ็ง มะแดเฮาะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Nameดลมนรรจน์ บากา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Nameสุวิชา ยี่สุ่นทรง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 53-76)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 77-98)
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
--ผู้นำทางศาสนา
อิสลามศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2539
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 5279
     Counter Mobile: 41